ภูมิปัญญาการรักษามวลสารต่างๆในเนื้อพระเครื่อง และหลักพิจารณาความครบถ้วนของมวลสารในองค์พระ


การสร้างพระเนื้อ "ดินดิบ" เป็นสิ่งที่ท้าทายภูมิปัญญาในการรักษาเนื้อและมวลสารต่างๆในเนื้อพระ เพราะดินดิบแตกสลายง่าย การอบไอร้อนแม้จะช่วยเพิ่มความแกร่งของเนื้อดิน แต่ก็อาจทำลายมวลสารบางชนิดได้

ตามหลักการสร้างพระเครื่องของไทยนั้น

ส่วนประกอบที่สำคัญก็คือมวลสารต่างๆ ที่มีความเชื่อทางด้านพุทธคุณ นำมาผสมกัน จนได้สูตรที่ต้องการ

แต่เมื่อนำดินและส่วนผสมมาเผา สิ่งที่เผาไหม้ หรือระเหยได้ ก็อาจจะสูญหายไปได้

ดังนั้นจึงมีการคิดค้นหาวิธีการสร้างพระเนื้อแกร่งโดยไม่ต้องผ่านการเผา

เท่าที่ทราบมาก็มี 4 วิธีการหลักๆ คือ

1. การใช้โลหะหุ้มไว้ เช่นพระหน้าทอง หน้าเงิน เป็นต้น ที่ทำยาก และมีต้นทุนสูงมาก จึงมีการทำจำนวนไม่มากนัก มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

2. การสร้างพระดินดิบ  ที่เป็นแนวคิดที่ประหยัด ทำได้มากและรวดเร็ว โดยการใช้น้ำว่านที่จะซึมออกมารักษาเนื้อพระไว้ในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจต้องอบไอร้อนแบบอ่อนๆ เพื่อให้พอดินมีความแข็งตัวและคงทน ก่อนที่น้ำว่านจะออกมาทำหน้าที่ต่อไป

3. การชุบรัก เคลือบรัก ก็เป็นการทำกับพิมพ์พระที่ไม่ละเอียดนัก แม้ต้นทุนจะไม่สูงนัก แต่ก็ทำได้ช้า และทำจำนวนมากได้ยากพอสมควร

4. การทำพระเนื้อผงผสมปูนเผา ไม่ว่าจะเป็นหินปูนหรือปูนเปลือกหอยที่มีขีดจำกัดคล้ายชุบรัก คือจะทำพระที่มีศิลปะละเอียดมากๆได้ยาก แม้จะได้บ้างก็จะมีการงอกของผิวมาพอกจนทำให้เสมือนพิมพ์เปลี่ยนไป

จากขีดจำกัด ปัญหาและศักยภาพของแต่ละวิธีการ จึงมีการเลือกวิธีการสร้างตามเงื่อนไขของทรัพยากร แรงงานของแต่ละยุคสมัย

สำหรับการสร้างพระเนื้อดินดิบ จึงเป็นสิ่งที่แม้จะทำได้ปริมาณมาก และทำศิลปะได้ละเอียดละออ แต่ก็ท้าทายภูมิปัญญาในการรักษาเนื้อและมวลสารต่างๆในเนื้อพระ เพราะดินดิบแตกสลายง่าย

การอบไอร้อนแบบอ่อนๆ แม้จะช่วยเพิ่มความแกร่งของเนื้อดินได้บ้าง แต่ก็อาจทำลายมวลสารบางชนิดได้เช่นกัน

ตัวชี้วัดที่สำคัญก็คือ พระเนื้อแกร่งที่น่าจะโดนความร้อนมากนั้น ไม่ปรากฎว่ามีน้ำว่านออกมาคลุมเนื้อพระอีกเลย ที่แตกต่างจากพระองค์เนื้ออื่นๆ ที่จะมีน้ำว่านออกมาคลุมองค์พระเป็นส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย

ที่แสดงว่าความร้อนที่ให้ ได้ทำลายน้ำว่านไปแล้ว

เมื่อน้ำว่านถูกทำลายไป ก็อาจจะพออนุมานได้ว่า ผงเกสร และมวลสารที่มาจากพืช อาจจะถูกทำลายไปด้วย

ดังนั้น ในกรณีพระผงสุพรรณนั้น เนื้อแบบไหนน่าจะมีมวลสารเดิมๆครบถ้วนมากที่สุด

โดยหลักของนิติวิทยาศาสตร์นั้น อาจพิจารณาได้ว่า

เนื้อแกร่ง มวลสารโดนทำลายไปมากจากการเผา หรือถูกความร้อนสูง

เนื้อแก่ดิน ที่มีน้ำว่านน้อย ว่านและผงเกสรอาจถูกทำลายไปบางส่วน

เนื้อแก่ผง มีความยุ่ย ไม่ค่อยทนทาน อาจมีส่วนผสมไม่ครบมาแต่เดิม

เนื้อแก่ว่าน มีน้ำว่านอยู่มาก ไหลออกมาคลุมเนื้อพระได้มาก เนื้อพระคงทน น่าจะยังมีมวลสารครบถ้วนมากที่สุด

ผมจึงเชื่อว่า เนื้อแก่ว่านน่าจะมีมวลสารครบถ้วนมากที่สุด พอๆกับการไม่โดนความร้อนเลย หรือโดนความร้อนน้อยที่สุด

จึงน่าจะเป็นพระที่ดีที่สุด มีมวลสารและพุทธคุณครบถ้วนที่สุดครับ

ใครมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 489240เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I had heard at one "get together" table that

in the olden days, "amulets" were mixtures of "medicines" for the wearers. It is not known whether, wearers could put their amulet in their mouth and get a relief from certain chronic conditions or wearers get aromatherapy from essence oils released from the amulets.

The theory on medical/therapy amulets is quite plausible, because if the amulets were omly meant to be just objects of worship then the more stable media and form (like metal, hard wood or teracotta) would have been enough. There was no need to go into elaborated mixes of herbs, spices and rare materials.

What do you think?

สวัสดีค่ะท่านด็อกเตอร์

แวะมาทักทายค่ะ  สบายดีนะคะ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ดร.แสวง
  • ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปัน

ด้วยความยินดีครับ กำลังรวบรวมเป็นชุดความรู้

เพื่อลดความ "อึมครึม" ในวงการพระเครื่องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท