ดื่มหนักเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน-น้ำตาลในเลือดสูง


.
จดหมายข่าวออนไลน์เว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Why Excess Alcohol Increases Diabetes Risk' = "ทำไมดื่มหนัก (เหล้าขนาดสูง) เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู๋กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ทำในกลุ่มตัวอย่างชาวสวีเดนอายุ 35-61 ปี มากกว่า 5,100 คน ติดตามไป 10 ปี
.
ผลการศึกษาพบว่า การดื่มเกิน 2 ดริ๊งค์/วัน ในผู้ชายตัวขนาดฝรั่ง (70 กก.; ถ้าน้ำหนักน้อยกว่านี้... ตับมักจะเล็กลงตามส่วน และทำลายแอลกอฮอล์ได้น้อยลง จึงควรลดขนาดการดื่มลงเสมอ), และการดื่มหนัก (binge drinking) เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน
.
แอลกอฮอล์ 1 ดริ๊งค์ = แอลกอฮอล์ 14 กรัม [ CDC ]
  • เบียร์อย่างอ่อน 12 ออนซ์ = 360 มล.
  • ไวน์ 5 ออนซ์ = 150 มล.
  • วิสกี้ (40%) = 35 มล.
ตับเป็นอวัยวะหลักในการทำลายแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด  โดยทำลายได้ประมาณ 1 ดริ๊งค์/ชั่วโมง
.
ถ้ากิน 2 ดริ๊งค์, ตับจะใช้เวลาทำลายประมาณ 2 ชั่วโมง และถ้ากินเกิน 2 ดริ๊งค์ จะเกินกำลังของตับ เกิดการสะสมไขมันไตรกลีเซอไรด์ในตับ เกิดเป็นภาวะไขมันเกาะตับ (fatty liver)
.
เซลล์ที่มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นจะดื้อต่ออินซูลิน (insulin = ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง)
.
ถ้าไขมันสะสมในเซลล์ตับและกล้ามเนื้อมากพอ... จะทำให้อวัยวะเหล่านี้ดึงน้ำตาลออกจากกระแสเลือดได้น้อยลง ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น
.
และถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากพอ... จะเกิดภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes = ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ แต่ไม่ถึงระดับที่ใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน) และเบาหวาน (diabetes) ตามลำดับ
.
การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ร่างกายแปรรูปน้ำตาลเป็นไขมันมากขึ้น ทำให้น้ำหนักเกินหรืออ้วนมากขึ้น
.
กลไกอีกอย่างหนึ่ง คือ แอลกอฮอล์ขนาดสูงทำให้เซลล์ทั่วร่างกายดื้อต่ออินซูลินได้ อย่างน้อยก็ชั่วคราว, นี่เป็นอีกเหตุผลที่ว่า ทำไมคนที่ดื่มหนักเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน
.
คนรุ่นใหม่มีโอกาสอายุยืนถึง 80-90 ปีมากขึ้น, การลงทุนป้องกันเบาหวานเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากๆ สำหรับชีวิตในระยะยาว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin > source: Diabetic Medicine, April 2012;29(4):441-452 & Alcohol and Alcoholism, 1988;23(2):103-109.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 27 เมษายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 489206เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท