Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

การปรับใช้กฎหมายขัดกันไทย : สัญชาติของบุคคลธรรมดามีบทบาทอย่างไร ?


งานเขียนเพื่อเป็นอาจาริยบูชาแด่ รศ.ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์ โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

บทนำ

เพื่อเป็นอาจาริยบูชาแด่ รศ.ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์ ซึ่งเกษียณอายุราชการเพราะมีอายุครบ ๖๐ ปี ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ นี้ ผู้เขียนจึงเสนอที่จะทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายขัดกันในประเด็นที่เกี่ยวกับการกำหนดสัญชาติของบุคคลธรรมดา ดังที่เราทราบว่า ในประเทศที่ยอมรับระบบกฎหมายขัดกันแบบ Civil Law ข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงระหว่างรัฐและบุคคล ก็คือ สัญชาติของบุคคลหรือบุคคลหลัก อันทำให้ “กฎหมายสัญชาติ” หรือ “กฎหมายของรัฐเจ้าสัญชาติ” ทำหน้าที่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อนิติสัมพันธ์ และในยุคที่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีปัญหาการกำหนดสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย ประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิในสัญชาติจึงยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันบ่อยครั้งทั้งในและนอกศาล

เพื่อให้บทความนี้มีความคมชัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนจึงเลือกที่จะเขียนถึงการกำหนดสัญชาติของบุคคลธรรมดาในกระบวนการใช้กฎหมายขัดกันต่อนิติสัมพันธ์ โดยยังไม่ศึกษาถึงกรณีของการกำหนดสัญชาติของนิติบุคคล ซึ่งอาจจะหาโอกาสที่จะกล่าวถึงในโอกาสข้างหน้า

แนวคิดพื้นฐาน

เพื่อให้เกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ จึงมีการยอมรับข้อเท็จจริงหนึ่งให้เป็นตัวชี้กฎหมายที่มีผลกำหนดต่อนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน ผลของการยอมรับนี้นำไปสู่การได้มาซึ่งกฎหมายเอกรูป (Uniform Law) เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ตลอดจนความสามารถของเอกชนในนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ กล่าวคือ มีความเกาะเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของหลายรัฐ อันทำให้เกิดการขัดกันแห่งกฎหมายของหลายรัฐ อันทำให้มีความจำเป็นต่อไปที่จะต้องเลือกกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวเพื่อมีผลกำหนดนิติสัมพันธ์ ไม่ว่าประเด็นแห่งคดีนั้นจะไปตกอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลของรัฐใดก็ตาม พัฒนาการดังกล่าวนี้เริ่มต้นตั้งแต่สมัยโบราณในรูปของ Jus Gentium ของชาวกรีกโรมัน มาสู่หลักกฎหมายขัดกันในสมัยปัจจุบันที่ทุกประเทศบนโลกยอมรับในกฎหมายว่าด้วยการขัดกันของตนเอง วิชาที่ศึกษาพัฒนานี้ถูกเรียกว่า “วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International law)”

นอกจากภูมิลำเนา สัญชาติเป็นข้อเท็จจริงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับให้เป็น “ข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวระหว่างรัฐและเอกชน” ทั้งนี้ เพราะประเด็นแห่งความเป็นบุคคลตามกฎหมายเอกชน (Legal Personality under Private Law) ย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal State) ซึ่งโดยธรรมชาติ มีอยู่ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) รัฐเจ้าของภูมิลำเนาของบุคคล และ (๒) รัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคล เมื่อเราทบทวนพัฒนาการของกฎหมายของรัฐเจ้าของตัวบุคคลในประชาคมระหว่างประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราพบว่า นานารัฐที่ยอมรับระบบกฎหมายขัดกันแบบ Civil Law จะยอมรับกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลในสถานะของกฎหมายที่มีผลกำหนดปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายเอกชน ในขณะที่นานารัฐที่ยอมรับระบบกฎหมายขัดกันแบบ Common Law จะยอมรับกฎหมายของรัฐเจ้าของภูมิลำเนาของบุคคล ในสถานะของกฎหมายที่มีผลกำหนดปัญหาดังกล่าว เราพบว่า กฎหมายเอกรูปจึงปรากฏตัวในสถานะกฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยบุคคล ซึ่งก็คือ กฎหมายรัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal Law) ซึ่งอาจจะเป็นกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติหรือกฎหมายของรัฐเจ้าของภูมิลำเนาก็ได้ จะเห็นว่า ประเทศไทยเองก็จัดเป็นประเทศในระบบกฎหมายขัดกันแบบ Civil Law จึงยอมรับกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติในสถานะของกฎหมายที่มีผลกำหนดปัญหาบุคคลในสถานการณ์หลัก[1] แต่ในสถานการณ์พิเศษ เมื่อบุคคลไม่มีสัญชาติหรือไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเจ้าของสัญชาติอันทำให้ตกอยู่ในสภาวะความไร้สัญชาติ กฎหมายขัดกันไทยก็ยอมรับให้ใช้กฎหมายของรัฐเจ้าของภูมิลำเนาของบุคคล[2]

กฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติเป็นกฎหมายที่มีผลกำหนดเรื่องใดบ้างในนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ?

กฎหมายขัดกันไทยยอมรับให้ใช้กฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลใน ๒๔ สถานการณ์ด้วยกัน กล่าวคือ

---------------------------------------

ยังมีต่อค่ะ หากต้องการอ่านต่อ โปรดคลิก URL ดังต่อไปนี้

https://drive.google.com/file/d/0BzawtIMOMfMTOThCQi1BXzFJTnM/edit?usp=sharing

----------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 489098เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2014 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท