เราทำงานประจำ..ให้เป็นงานวิจัยได้ยังไง


R2R

วันที่ 23 พฤษภาคม 2555

สถาบันมะเร็งนำนักศึกษาหลักสูตรเฉพาะทางมาศึกษาดูงาน ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด รพ ศรีนครินทร์ จำนวน 61 คน

ตอนเช้าท่าน ผอ มาร่วมต้อนรับ

หลังจากนั้น รองคลินิก พี่ศิริพร มงคลถาวรชัย กล่าวต้อนรับและแนะนำหน่วยงาน องค์กรพยาบาล ท่านหัวหน้าจินตนา บุญจันทร์ ตามมาหลังจากไปเปิดงานประชุมวิชาการมาแล้ว

จากนั้นตัวดิฉัน ก็นำเสนอ รูปแบบการทำงานของการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เราพูดครบทุกประเด็น แต่น้องพยาบาลสนใจเรื่อง การทำวิจัยหน้างาน  

 

นักศึกษาที่มาดูงาน ..ถามว่า พี่คิดงานเกือบทุกอย่างให้เป็นวิจัยได้อย่างไร

เราก็ตอบว่า.. ที่ทำงานเหมือนห้อง lab เล็กๆของเรา เราโชคดีที่มีโอกาสได้ทำงานอยู่หน้างาน ใกล้ชิดกับผู้มาใช้บริการทุกวัน ทั้งผู้ป่วยและญาติ เราสามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกวันและต้องเก็บข้อมูลด้วยว่า เป็นปัญหาจริงไหม เมื่อเป็นปัญหา จากนั้นก็ไปหาดูสิว่ามีใครทำวิจัยหรือยัง อาจจะมีคนทำแล้วแต่อาจจะไม่ตรงกับบริบทของเรา หรือยังมีประเด็นใด ที่ต้องการพิสูจน์ต่ออีก เราก็ทำเป็นวิจัย หาวิธีการแก้ปัญหา โดยการนำกระบวนการพยาบาลที่เป็นระบบหรือแนวทางที่ดีที่สุดมาใช้ หลังจากนั้นก็เก็บข้อมูลดูว่าปัญหานั้นๆแก้ได้ไหมหรือดีขึ้นไหม

 

แล้วถามว่า เอาเวลาที่ไหนไปทำวิจัย

เราก็ใช้เวลาในการทำงานประจำนั่นแหละค่ะ เพราะเราทำงานประจำให้เป็นวิจัย ถ้าเราไม่ทำตอนทำงาน แล้วเราจะไปทำตอนไหน แต่สิ่งที่เราต้องทำนอกเวลาบ้างก็คือ ตอนมานั่งเขียน นั่งอ่าน นั่งทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แต่การจะทำวิจัยหน้างานให้สำเร็จ ต้องมีพี่เลี้ยงดีดีสักคน คนนั้นจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนปฏิบัติ คนที่เราต้องพัฒนาให้เป็น facilitator ก่อนคนอื่น คนคนนั้น คือ หัวหน้าตึกนั่นเอง เพราะมีผลต่อพลังใจของคนหน้างานที่สุด..

 

แก้ว 

25/05/55 at 5.01

หมายเลขบันทึก: 489056เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 05:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้จะนำที่พี่แก้วเขียนไปให้ชาวปทุมฯได้อ่านด้วยค่ะ.ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ ดร กระปุ๋ม

พี่ฝากให้กำลังใจทุกคนด้วยนะคะ

ขอแค่ไม่เครียดว่าต้องทำวิจัย เราก็แค่นำกระบวนการพยาบาลดีดี ไปทำให้กับผู้ป่วย แล้วเราก็ตามดูว่า ผู้ป่วยดีขึ้นไหม ก็เป็น R2R แล้ว

เรียนพี่แก้วครับ....มีใครหลายท่านในการทำงานด้านสุขภาพ หรือด้านอื่นๆ...สนใจวิจัย หรืิอ R2R ...และทุกท่านโชคดีอยู่แล้วที่ทำงานกับผู้รับบริการโดยตรง...มีโอกาสได้แก้ปัญหาได้เลย..เริ่มจากชอบก่อน...ในภาระงานที่มากมายในความไม่มีเวลานั่นแหละ...เอาเวลาที่มีมาคุยกัน....อย่าเครียด....ให้สนุก....ให้ R2R อยู่ในการทำงาน...อย่าให้หลุดจากงาน...แล้วเราจะสนุกครับ...ผมให้กำลังใจทุกท่านครับ...และบันทึกของพี่แก้วข้างบนเป็นกำลังใจให้ทุกท่านอย่างดีแล้วครับ...ขอบคุณครับพี่แก้ว

  • สวัสดีครับคุณหมอแก้ว..อุบล
  • ขอบคุณ สำหรับคำแนะนำดีๆ
  • ขอชื่นชมครับ

ทิมดาบ

พี่แก้วยังมีความสุขทุกวัน ในที่ทำงาน เพราะมีผู้ร่วมงานที่ดี

นักศึกษาถามว่า พี่มีวิธีบริหารน้องยังไง น้องพอใจที่จะทำไหม

พี่ยกให้น้องที่มาต้อนรับตอบเอง เธอก็ตอบว่า เราทำงานด้วยกันเป็นทีม ช่วยกันทำ ทำให้มีคู่คิด คู่ทำ  

สำหรับสิ่งที่พี่เห็นเห็น คือ น้องทุกคนทำงานอย่างมีความหวัง มีพลัง คิดได้ คิดเป็น ทำให้การทำงานมีคุณค่า ไม่ใช่ทำไปวันวัน ที่สำคัญผู้ที่มาเยี่ยมชม น้องที่ทำงาน บอกน้องพี่แก้ว พูดในสิ่งที่ทำได้ดีและมีผลงานด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท