Scenario ระบบสุขภาพชุมชน (๗) : เครื่องมือ กระบวนการในมิติของประโยชน์ที่เกิดขึ้น และรูปแบบกลไกที่ใช้


Mapping เครื่องมือ/กระบวนการในมิติของประโยชน์ที่เกิดขึ้น และรูปแบบกลไกที่ใช้

          ผู้แทนแต่ละองค์กร ส.ที่เข้าร่วมประชุมได้แบ่งปันข้อมูลและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เพิ่มเติมจากตาราง โดยเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมแลกเปลี่ยนข้อซักถามในแง่ประสบการณ์ บทเรียนการใช้เครื่องมือ ข้อจำกัด และ ความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องมืออื่นๆมาหนุนเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กสธ.=> นอกเหนือจากแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) การดำเนินการปัจจุบันเกิดตำบลจัดการสุขภาพเด่นจำนวน ๓๗๕ พื้นที่ มีกระบวนการทำงาน และออกแบบตัววัด ตำบลจัดการสุขภาพ ๕ ระดับ(ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้)  และตัววัดนี้สามารถสร้างการเชื่อมประสาน หาเพื่อนทำงานร่วม (อบต./ภาครัฐ/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) ตัววัดคือ มีแผน และระดับขั้นของการพัฒนา รูปแบบเน้นการเสริมพลัง (ประกอบด้วยการใช้เกณฑ์ประเมิน ๕ ระดับ)

สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก ๓) สสส. => เน้นพัฒนาตำบลสุขภาวะ ที่ต้องให้เกิดองค์กร ๔ ฝ่ายในการร่วมกันทำงาน คือ ท้องถิ่น ท้องที่ ภาครัฐ ภาคประชาชน กระบวนในการจัดการข้อมูลใช้เครื่องมือ ดังนี้

๑) เครื่องมือ RECAP เพื่อให้ตำบลมองเห็นทุนของตนเองโดยการจัดการข้อมูลโดย ๔ องค์กรหลักในพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วม สร้างพี่เลี้ยง node ในพื้นที่ ขยายเครือข่ายแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และมีการทำงานร่วมกันภายใน node และระหว่าง node มีศูนย์ประสานงานการจัดการพัฒนาตำบลสุขภาวะ

๒) เครื่องมือ TCNAP เป็นฐานข้อมูลเพื่อมองภาพว่าในอนาคตจะสามารถมีการเชื่อมโยงข้อมูลในระดับตำบลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

          การจัดการโดยเนื้องานของ RECAP เป็นกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว ซึ่งใช้หลักการผลักดันกันไป กรณีในพื้นที่ที่ รพ.สต.ไม่เข้มแข็งก็จะมีกลไลจาก อบต.ที่กระตุ้นเตือนและเชื่อมให้เกิดการบวนการทำงานร่วม สรุป เป็นเครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างให้เกิดการทำงานร่วมขององค์กร ๔ องค์กรหลักในพื้นที่

สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สปสช. => เคลื่อนงานผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น(กองทุนตำบล) มีคู่มือปฎิบัติงานแบบทำไปพัฒนาไป เป้าหมายในปี ๕๕ มีศูนย์เรียนรู้ฯเรื่องกองทุนตำบลอำเภอละ ๑ แห่ง เรียนรู้ผ่านการมีทีมพี่เลี้ยงที่ดูแลงานสุขภาพภาคประชาชน เพื่อให้กองทุนสามารถพัฒนางานได้ ในระดับจังหวัดมีกองทุนฟื้นฟูระดับจังหวัด โดยระบบมีการประเมินตนเองตามเกณฑ์ (เกรด A, B, C, D)  และมีกลุ่มคนในระดับจังหวัดและอำเภอตรวจสอบผลการพัฒนากองทุนตำบลด้วยอีกชั้น สรุป เป็นเครื่องมือที่เน้นในเรื่องการจัดการการเงิน การคลังในพื้นที่

หมายเหตุ: Update สถานการณ์ สปสช. ที่ได้คุยกันมี ๕ เรื่องหลักๆ คือ ๑) ต้องสื่อสารกับชาวบ้านให้ชัดเจนว่าชาวบ้านจะได้อะไร ๒) หนุนเสริมคนที่มีบทบาทหลักในการทำงาน ๓) เชิญคนสำคัญ(keyman) ใหม่ๆให้เข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น ๔) ต้องมองในมุมมองวิถีชีวิต และปรับมุมมองเรื่องวิถีชีวิต ๕) เงื่อนไขนโยบาย

สช. =>ในระดับตำบลมีการเคลื่อนงานผ่านกลไกกองทุนตำบล =>ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ => ก่อให้เกิดธรรมนูญสุขภาพ ในการทำงานในพื้นที่ เพื่อให้เห็นภาพการพัฒนาในอนาคต สรุป เป็นเครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วมในลักษณะเวที ประชาคม เพื่อหาข้อสรุปร่วมและมีกลไกการทำงาน และกระบวนการร่วมพัฒนาในพื้นที่


-------------------------------------------

เรื่อง : Scenario ระบบสุขภาพชุมชน
ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สถานที่ : โรงแรมริชมอนด์
วัน เวลา : ๑๒ พฤษภาคม ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 488739เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ พี่ใบไม้ฯ Ico48 สำหรับดอกไม้เป็นกำลังใจ ^^

ขอบคุณค่ะ คุณหมอปัทมา Ico48 สำหรับดอกไม้ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท