รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง :(๒)"สอนเจ้าตัวเล็กห่อของขวัญ"


 

 

การห่อของขวัญ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ สำหรับผู้ใหญ่แต่ก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนตัวเล็ก ๆ ค่ะ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่ฉันรับผิดชอบมีชื่อศูนย์ว่า "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้"

ดังนั้น การห่อของขวัญด้วยตัวเอง จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ฉันอยากให้เจ้าตัวเล็ก ๆ ได้ฝึก  ซึ่งในวันปีใหม่ของทุกปี

โรงเรียนมักจะมีการประกวดห่อของขวัญ  และเจ้าตัวเล็ก ๆ ก็สามารถนำการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

 

การฝึกห่อของขวัญ  อุปกรณ์ที่สำคัญครูเตรียมไว้ให้  ถ้าจะเตรียมกระดาษห่อของขวัญให้นักเรียนทุกคน

ก็ดูเหมือนจะขัดแย้งกับ คำขวัญประจำศูนย์การเรียนรู้ที่ว่า "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้"  ครูจึงเตรียม

กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ล่วงวันมาหลายวันแล้วมาให้นักเรียนใช้ห่อของขวัญแทนกระดาษห่อของขวัญ

 

 

เป็นที่น่าดีใจว่า มีเจ้าตัวเล็ก ๆ ชั้น ป.2 มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้นี้มาก คือ น้องต้นน้ำ

เด็กชายฐาปกรณ์ บุญเย็น น้องต้นน้ำเตรียมกระดาษห่อของขวัญมาจากบ้าน เตรียมอุปกรณ์

ทุกอย่างมาพร้อม และห่อของขวัญได้สวยงามมาก

 


เมื่อครูแจกหนังสือพิมพ์ให้กลุ่มละหนึ่งฉบับ ดูเหมือนว่าเด็ก ๆ

จะมีความสนใจเรื่องราวในหนังสือพิมพ์อยู่ไม่น้อย

เป็นเรื่องแปลกที่เวลาครูกำหนดให้นักเรียนอ่านหนังสือพิมพ์ นักเรียนไม่ค่อยสนใจเท่ากับตอนนี้

ครูจึงให้เวลานักเรียนได้สำรวจสิ่งที่น่าสนใจในหนังสือพิมพ์ก่อนสนทนากันภายในกลุ่มประมาณ 30  นาที

จากนั้นคนตัวเล็ก ๆ ก็จะเลือกหน้าหนังสือพิมพ์ที่เขาถูกใจ

มาห่อของขวัญ ซึ่งเมื่อห่อเสร็จเขาก็ยอมรับว่า

เป็นห่อของขวัญที่สวยไปอีกแบบ มีเวลาเหลือเด็ก ก็จะสรรหา

วัสดุเท่าที่หาได้ทำเป็นโบว์เล็ก ๆ  บางกลุ่มก็บอกครูว่า

ห่อแรกยังไม่สวยครับคุณครู  ผมอย่ากห่ออีก  ให้สวยกว่าเดิม

ครับ เด็ก ๆ จึงขออนุญาตไปที่ "ธนาคารขยะ" 

ของโรงเรียน ไปเลือกกล่องและวัสดุเหลือใช้ที่มีอยุ่มาสร้างสรรค์

ผลงานกันอีก

 

 

พี่ผู้ชายกลุ่มนี้  ไม่ค่อยพอใจกับผลงานของตัวเองมากนัก  

แต่กลับชื่นชมผลงานของน้องโมบิว (ภาพบนสุด)

และอยากให้คุณครูถ่ายรูปบ้าง  จึงไปยืมผลงานของน้องโมบิว

มาถ่ายรูปกัน

กิจกรรมนี้ ครูก็ต้องย้ำให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้กับหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง สามห่วงสองเงื่อนอีกเช่นเคยดังนี้ค่ะ

1 ความพอประมาณ
            - การพอประมาณด้านวัสดุ อุปกรณ์  การใชกาว  การวัดกระดาษให้พอประมาณ
            - การพอประมาณด้าน เวลา จะต้องทันเวลา  เสร็จในเวลาที่ครูกำหนด
2. ความมีเหตุผล
            - การใช้วัสดุที่มีให้คุ้มค่า 
            - รู้จักเลือกใช้กระดาษที่เหมาะสม 
            - ประหยัดรายจ่าย นักเรียนไม่ต้องไปจ้างทางร้านห่อของขวัญ
            - เพิ่มรายได้ หากนักเรียนห่อจนชำนาญแล้ว  สามารถรับจ้างห่อของขวัญได้
3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
            - การมีสติในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กรรไกร  กาว  เข็มหมุด เป็นต้นทำอย่างไรไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขณะห่อของขวัญ 
            - ระมัดระวังไม่ให้กาวโดนเสื้อผ้า     
            - สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน  พี่สอนน้อง 
            - เห็นคุณค่าของตนเอง 
 4. เงื่อนไขความรู้
            - รู้และ ความสำคัญ ประโยชน์ของการห่อของขวัญเองได้
            - การเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการห่อของขวัญ
            - ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์
            - ขั้นตอนการห่อของขวัญ
 5 เงื่อนไขคุณธรรม
            -  ความประณีต ละเอียด รอบคอบ
            -  ความสามัคคีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
            -  ความรับผิดชอบ อดทน
 
          ***********************

 

หมายเลขบันทึก: 488356เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • พี่อิงจันทร์
  • น้องๆห่อของขวัญได้สวยมาก
  • น่าชื่นชมครับ

Wonderful example of "from idea to product". I think this acivity time will be imprinted in the young minds for a very long time. Some of them may even use it in other areas to achieve their other goals.

Now why school books can't be re-used? Why do parents have to buy new books every year?

 

 

- ขอชื่นชม....การคิดที่สร้างสรรค์นี้มากค่ะ...สมกับที่เป็น....ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง....เริ่ม...จากสิ่งที่  งายๆๆก่อนนะค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์น้อง

Ico48 ขจิต ฝอยทอง 
  • เด็ก ๆ บางคนก็ทำในสิ่งที่เราคิดว่าเขาทำไม่ได้ ได้ดีกว่าที่เราคิดค่ะ
  • จริง ๆ แล้วก็ไม่หวังความสวยงามอะไรมาก 
  • แต่อย่างน้อยเด็ก ๆ จะต้องใช้กรรไกรอย่างถูกวิธี
  • สามารถใช้คัตเตอร์ได้  ฝึกการทำงานของเขามากกว่าค่ะ
Ico48 sr 

Now why school books can't be re-used? Why do parents have to buy new books every year?

 

สวัสดีค่ะคุณ

 

Ico48 sr 

 

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • เรื่องของหนังสือเรียน ถ้าหา น้องใช้แบบเรียนของพี่ได้ ก็จะประหยัดได้อีกเยอะค่ะ
  • อย่าง บ้านครูอิง ลูกชายคนโต เรียนอยู่ชั้น ม.4  น้องชายเรียนอยู่ ชั้น ม.2  พี่ชายจบชั้นแล้ว ก็จะเก็บหนังสือไว้อย่างดี เพื่อให้น้องได้ใช่ต่อ
  • แต่ปรากฏว่า โรงเรียนบังคับซื้อหนังสือทั้งชุด ไม่สามารถเลือกได้ว่า เราต้องการเล่มใดบ้าง  ตอนนี้ที่บ้านมีหนังสือเรียนเยอะมากค่ะ  ไม่สามารถส่งต่อให้รุ่นน้องได้
  • ต่างกับสมัยครูอิงเด็ก ๆ พอจะปิดเทอม ทุกคนก็ต้องหาหนังสือของรุ่นพี่มาเก็บไว้เป็นสมบัติตัวเอง ด้วยความตื่นเต้น กว่าจะเปิดเทอม  ก็อ่านหนังสือจบเล่มแล้วค่ะ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยที่มีเนื้อเรื่องสนุก ๆ ค่ะ


มาชม

ฝีมือหนู ๆ เยี่ยมครับ

แวะมาชมงานฝีมือเด็กๆค่ะ

เด็กผู้ชายก็ทำได้ไม่อายใคร

เยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท