การศึกษาทางไกล


การศึกษาไร้พรมแดน

การศึกษาทางไกล 

            ปัจจุบันการศึกษาจะอยู่ในรูปแบบของการศึกษาไร้พรมแดน ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมขนาดใหญ่ และมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย ทำให้การศึกษาขยายกว้างขึ้น การศึกษาไร้พรมแดน เป็นการผสมผสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล โดยเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และคมนาคม ทุกรูปแบบในการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ที่เรียกว่า การศึกษาในชีวิต หรือ Just in time education คือ ขณะการดำเนินชีวิตต้องมีการศึกษาไปด้วย สังคมเป็นสังคมการเรียนรู้ ในการประกอบกิจกรรมอะไรก็ตามจะต้องมีการให้ความรู้ไปด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ติดต่อสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ในการศึกษาเกิดฐานข้อมูลกระจายเป็นฐานความรู้ไปทั่วโลก โดยผ่านเครือข่าย ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวาง สามารถใช้ความรู้จากฐานความรู้มาใช้ ระหว่างห้องเรียนกับห้องเรียนที่อยู่ไกลกัน สามารถปฏิสัมพันธ์กันได้เสมือนว่าอยู่ห้องเรียนเดียวกัน การศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน จึงเกิดการศึกษาไร้พรมแดนขึ้น เพราะฉะนั้น การศึกษาไร้พรมแดน จึงเกิดการศึกษาแบบใหม่ขึ้นมาเป็นการผสมผสานระหว่างห้องเรียนและเครือข่านทางไกลทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั่วโลก

ปรัชญาการศึกษาไร้พรมแดน

เป็นการศึกษาที่ตอบสนองหรือพัฒนาบุคลากรของโลก ให้มีความรู้ความสามารถ ก้าวมั่นทันโลก และก้าวล้ำทันโลกในขณะเดียวกัน

ระบบการศึกษาไร้พรมแดน มี 3 ระบบ คือ

2. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์ คือ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียนหรือในทุกมุมโลก สามารถศึกษาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้มีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น ห้องเรียนแต่ละห้องเรียนและอยู่คนละที่ แต่สามารถเรียนเรื่องเดียวกันได้ ทำงานร่วมกันได้ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์ แบ่งเป็น

    1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการใช้กันมาก เป็นการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ด้วยตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไม่วาจะเป็นการติดต่อด้วยคอมพิวเตอร์ เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายที่ส่งข่าวสารไปได้ไกล

    2. ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล มีหลายรูปแบบ ทั้งเสียง ภาพ และคอมพิวเตอร์

    3. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้กันมาก คือ e-mail และ www

    4. ระบบเครือข่ายเส้นใยนำแสง สามารถส่งเครือข่ายสื่อตามประสงค์ หรือเรียกว่า ระบบสื่อตามประสงค์ เป็น VOD ตัวหนังสือ คำพูด ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ สามรถใช้ผ่านได้

2. ระบบเนื้อหาหรือระบบหลักสูตร หลักสูตรต้องมีความตรง เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสังคมที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งสังคมปัจจุบันเป็นแบบกระจายหรือสังคมเครือข่าย เนื้อหากับหลักสูตรต้องสอดคล้องกัน มีลักษณะที่หลากหลาย เป็นหลักสูตรที่จบในตัว คือ ผู้เรียนสามารถเรียนจุดใดจุดหนึ่งแล้วนำมาใช้ได้เลย สามารถค้นหาคำตอบในเนื้อหานั้นได้อย่างชัดเจน เนื้อหาหลักสูตรมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้

เนื้อหา / หลักสูตร จบในตัว

เนื้อหา / หลักสูตร ยืดหยุ่น , เปลี่ยนแปลงได้

3. ระบบสื่อ ต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นสื่อระบบดิจิตอล เสียง ภาพ ตัวหนังสือจะต้องทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อที่จะถ่ายโอน ถ่ายทอดเพื่อใช้นำเสนอในแบบการศึกษาไร้พรมแดน ทำให้การถ่ายทอดระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้

สื่อในการศึกษาทางไกล
ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจ และผู้เรียนสามารถรู้ความก้าวหน้าของตนเองได้ สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลนี้แยกออกได้เป็น
สื่อหลัก คือ สื่อที่บรรจุเนื้อหารายละเอียดตามประมวลการสอนของแต่ละหลักสูตร
สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้มีความกระจ่าง

การใช้สื่อ สื่อหลักและสื่อเสริม

ระบบสื่อหลัก ได้แก่

  1. การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ( Computer – Based Instruction : CBI ) เป็นลักษณะคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในตัวตัวเดียว ( stand alone ) ส่งเสริมให้ระบบมีความสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สื่อเสริม ได้แก่ สิ่งพิมพ์ คู่มือหลักสูตร คู่มือการเรียน การพบผู้เรียนเป็นครั้งคราว มีการสอนเสริมเพื่อเสริมเติมเต็มในการเรียนได้ปฏิบัติจริง ห้องปฏิบัติการในการศึกษาทักษะที่ต้องใช้เครื่องมือ assignment โดยเป็นงานที่จะกำหนดให้ทำให้ผู้เรียนนำผลงานมานำเสนอ

   2.  การสอนด้วยระบบประชุมทางไกล ( Teleconference – Based Instruction : TBI ) มีสภาพเหมือนจริงมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น

สื่อเสริม ได้แก่ สิ่งพิมพ์ ความรู้พื้นฐานก่อนการประชุมทางไกล ระบบภาพเคลื่อนไหวตามประสงค์ คือ วิดีโอออนดีมานด์

   3. การสอนด้วยระบบเครือข่าย www ( Web Based Instruction : WBI ) เป็นระบบสื่อในการนำผลงานมาแสดงด้วย เป็นระบบที่มาเสริมในจุดอ่อนแต่ละระบบ สามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้ มีคุณสมบัติรวมกันระหว่าง ระบบที่ 1 และ 2

สื่อเสริม ได้แก่ สิ่งพิมพ์ โน้ตย่อ การประชุมทางไกล

   4.  การสอนด้วยระบบวิดีทัศน์ ( IBI ) วิดีทัศน์หรือโทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ มีลักษณะที่เป็นโปรแกรมส่วนตอนของภาพเคลื่อนไหวที่ทำเป็นโปรแกรมไว้ใช้แล้ว

การเลือกใช้สื่อ

ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท ซึ่งสื่อของระบบการศึกษาไร้พรมแดน คือ สื่อการสอนผ่านจอภาพ ( OSI ) หรือมีการสอนผ่านสื่อหลัก CBI,IBI,TBI และ WBI

จุดอ่อนของระบบสื่อหลักแต่ละระบบ

  1. การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ( CBI ) อยู่ที่โปรแกรมที่สำเร็จแล้ว เป็นภาพที่แข็งๆ ต้องมีสื่อเสริมเข้ามาช่วย

  2. การสอนด้วยระบบประชุมทางไกล ( TBI ) หนักอยู่ที่การเตรียมการ

  3. การสอนด้วยระบบเครือข่าย www ( WBI ) อาจเป็นตอนเปิดไฟล์ต่างๆ ว่ามันอยู่ที่ไหน อาจทำให้ผู้ใช้หลงลืมได้

  4. การสอนด้วยระบบวิดีทัศน์ ( IBI ) อาจเตรียมไม่ทัน ผู้สอนอาจบรรยายเอง

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม

สิ่งที่ต้องคำนึงเรื่องการเชื่อมโยง

  1. ลักษณะการเชื่อมต่อ ( Physical connection )

  2. โปรโตคอล ( Protocal )

  3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ ( Role of computers )

  4. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ( Sharing resources )

การเชื่อมต่อแบบแลน ( LAN )

อุปกรณ์หลักโครงข่ายโทรคมนาคม

  • อุปกรณ์ปลายทาง

  • ACCESS ( cable, fiber, radio ) อุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

  • Switches หรืออุปกรณ์ชุมสาย ทำหน้าที่ตัดต่อให้ผู้ใช้ ต้นทาง - ปลายทางได้เจอกัน

  • Transmission เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงจากต้นทางไปปลายทาง เป็นอุปกรณ์สื่อสัญญาณชุมสายต้นทางไปที่ชุมสายปลายทาง

  • Network Management System - NMS ระบบจัดการ ระบบบริหารโครงข่าย

การสื่อสารผ่านวงจรเช่า

PC ® modem ® Leased Line ® modem  ® PC

การสื่อสารผ่านโครงข่ายโทรศัพท์

PC ®  modem  ® โครงข่ายโทรศัพท์  ® modem  ® PC

เป็นการแปลสัญญาณดิจิตอลเป็นแอนาล็อก

การสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • เครือข่ายแลน ( LAN )

  • เครือข่ายแวน ( WAN )

LAN Topologies

  • เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ คือ สายเคเบิล

  • โทโปโลยี - การวางสาย

                      - กำหนดความเร็วในสายเคเบิล

เคเบิลในที่นี้ หมายถึง - สายเคเบิลใยแก้วนำแสง - สายทองแดง

Topologies LAN การต่อเครือข่ายโทโปโลยีแบบแลน

- ต่อเครือข่ายแบบบัส - ต่อเครือข่ายแบบดาว - ต่อเครือข่ายแบบวงแหวน

หมายเลขบันทึก: 48834เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหาสาระค่อนข้างดีแต่ไม่ค่อยมีรูปภาพประกอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท