การยกระดับความสำคัญของการประชุมวิชาการ มมส วิจัย กับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย


การเผยแพร่ผลงานจาก มมส วิจัย จะทำอย่างไรที่จะทำให้คนอื่นพูดถึงบ้าน ปรากฏเป็นข่าวในสื่ออื่นๆ ว่า ผลงานวิจัยเรื่องนี้ ที่ถูกนำเสนอในงาน มมส วิจัย.. มีข่าว มีรายละเอียดการสัมภาษณ์นักวิจัยจากงานนี้ ไปเผยแพร่ใน นสพ. หรือคอลัมภ์การศึกษาอื่นๆ
ช่วง 6-8 ก.ย. 2549 นี้ มีงานประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 2 ที่ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส. มีทั้งการออกร้าน การนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้งแบบ poster และ oral presentation

มีข้อสังเกตที่ว่า จากจำนวนโปสเตอร์ที่เห็นในงาน

น่าจะมากกว่านี้

หรือว่า หลายท่านให้ความสำคัญกับเวทีอื่นมากกว่า

มองข้ามเวทีใกล้ตัว

ถ้ามองเทียบกับเวทีการประชุมวิชาการอื่นๆ
- มมส วิจัย อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะพึ่งจัดเป็นปีที่ 2
-มีความน่าสนใจในระดับรอง เมื่อเทียบกับเวทีอื่นๆ หรือเวทีระดับชาติ

อาจารย์ และนักวิจัยหลายท่าน จึงให้ความสำคัญกับเวทีระดับชาติมากกว่า

มีข่าวเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย สัปดาห์ก่อน อันดับของ มมส. ไม่ค่อยดีนัก

แล้วทำอย่างไร จะให้งานประชุมวิชาการ มมส วิจัย ครั้งต่อไป เป็นที่รู้จัก นักวิจัยให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน พัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้น


ทำยังไงหนอ ที่จะทำให้นักวิจัยใน มมส ส่งผลงานมาร่วมในงานี้มากขึ้น
มีคนพูดถึงมากขึ้น

น่าจะต้องวางกลยุทธ ในการเพิ่มปริมาณงานวิจัยที่นำเสนอในงานนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศ ความคึกคักเพิ่มขึ้น

การเผยแพร่ผลงานจาก มมส วิจัย จะทำอย่างไรที่จะทำให้คนอื่นพูดถึงบ้าน ปรากฏเป็นข่าวในสื่ออื่นๆ ว่า ผลงานวิจัยเรื่องนี้ ที่ถูกนำเสนอในงาน มมส วิจัย.. มีข่าว มีรายละเอียดการสัมภาษณ์นักวิจัยจากงานนี้ ไปเผยแพร่ใน นสพ. หรือคอลัมภ์การศึกษาอื่นๆ



มีข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า เวบไซต์ของ มมส. ในหลายช่วงเวลา เข้าดูยาก

ถ้ามีการวางกลยุทธให้มีข่าวจาก มมส น่าสนใจ คนทั่วไปรู้เรื่อง และอยากส่งผลงานเข้ามาร่วมมากขึ้น ย่อมจะทำให้เกิดความเชื่อถือต่อ มมส เพิ่มขึ้น
อันดับมหาวิทยาลัย ขยับสูงขึ้น

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก่อนที่คนอื่นจะเชื่อมั่นในตัวของเรา
เราจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวของเราเองก่อน
หมายเลขบันทึก: 48827เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • วันว่างสามวันนี้ออตไปร่วมงานมานะครับ แต่สองวันแรกแอบไปขายหนังสือ เพราะว่าคิวที่จะไปฟังเป็นวันพรุ่งนี้ครับเพราะเป็นงานวิจัยทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา

ค่อนข้างเห็นแตกต่างจากพี่นายบอนนะครับ ในส่วนของการนำเสนอแบบ oral presentation นั้นเห็นว่ามากเกินไป มากเกินไปจนมีเวลาหายใจจริง ๆ คิวการนำการเสนอมากจริง ๆ ออตว่าต้องคัดเอาที่น่าสนใจจริง ๆ หัว ๆมาเลยส่วนอื่น ๆก็เป็นแบบโปสเตอร์ไป

  • ในส่วนโปสเตอร์เห็นด้วยกับพี่นายบอน เพราะหลายโปสเตอร์ถึงวันนี้วันที่สองตอนบ่ายยังไม่มีขึ้นเลยนะครับ ดังนั้นต้องบริหารจัดการการประชุมหรือสัมมนาดีดีเพราะไม่ดี ปีหน้าหลายคนอาจจะเบื่อไม่อยากมาร่วม

แต่ขอชื่นชมหลายหัวข้อและงานวิจัยหลายตัวน่าสนใจ ออตชอบส่วนของการบริการวิชาการนะครับดูแล้วนำไปใช้ได้เลย

  • ในฐานะที่ไปขายหนังสือในงาน เห็นว่าการมีร้านขายของ ขายสินค้า ขายของพื้นเมือง เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มบรรยากาศระหว่างรอประชุม และการพักจากความเหนื่อยในห้องประชุมวิชาการ

ขอบคุณ มมส ที่จัดกิจกรรมดีดี และขอให้พัฒนาต่อไปนะครับ ขอบคุณพี่นายบอนที่ช่วย PR อีกทางหนึ่ง ชาวบล็อกที่มหาสารคามเจอออตทักทายบ้างนะครับ

สวัสดีครับ คุณออต คุณน้องออต
    สงสัยครับ ทำไมเรียกนายบอนว่า พี่ แอบไปสืบรู้หรือครับว่า นายบอนอายุเท่าไร :)))

ในส่วนของ oral นั้น คงเป็นเพราะช่วงเวลาที่ผู้จัดได้กำหนดไว้ เลยทำให้ดูเหมือนว่า มันมากเกินไป แต่หลายคนก็๋ชอบมากแบบนี้นะครับ ได้รับฟังเรื่องราววิจัยที่หลากหลาย แต่บางท่านอาจจะอยากฟังที่น่าสนใจจริงๆ

ถ้าคิวการนำเสนอน้อยกว่านี้ ความคึกคักคงไม่น่าสนใจครับ เพราะหัวข้อที่มีน้อย อาจจะไม่ครอบคลุมประเด็นได้มากนัก  ไม่ดึงดูดผู้สนใจมาฟังด้วย

ก็เหมือนคุณออตนั่นแล เลือกฟังแต่วันที่ 3 ทำไมไม่นั่งฟัง 2 วันแรกด้วยล่ะ

เรื่องของโปสเตอร์ก็อย่างที่คุณออตว่านั่นแหละครับ ยิ่งเมื่อได้ไปร่วมในงานประชุมวิชาการเวทีอื่น จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนจริงๆ

นายบอนรีบไปนิดนึง เดินผ่านบริเวณที่ขายหนังสือ ก็ไม่ได้สังเกตดูหน้าตาคนขาย เลยพลาดได้ทักทายคุณออต แต่ว่าช่วงที่นายบอนไปเดินดู บริเวณแถวนั้นดูมืดๆไปหน่อย ถ้าโอกาสหน้าได้เจอตัว จะได้ทักทายเสียให้ถูกตัว ไม่พลาดแน่นอน

ว่าแต่ นายบอน เป็นพี่ของคุณออตจริงหรือ (คำถามคาใจ)

 

เรื่องอายุนี้ไม่ทราบเหมือนกัน เอาตามที่เขาพาเรียกแบบว่าหน้าตาดูไม่ต่างกันมากก็เรียกไปก่อนว่า พี่พี่ นะครับต้องถือวิสาสะเรียกก่อนแล้วจะได้เปรียบ

วันนี้ไปฟังประชุมวิชาการมาครับ วันนี้งดขายหนังสือเพราะเป็นเรื่องในวิชาชีพที่น่าสนใจ

แต่เมื่อไปฟังก็อย่างที่เล่าไปแล้วคงมีเพียงคนนำเสนอและนิสิตป.ตรีที่เข้าฟังส่วนบุคคลอื่น ๆที่สนใจมีน้อย ยิ่งอ.ศรีศักร จบลงเรียกว่าร้อยละ 90 มีนิสิตและกรรมการจัดงานเท่านั้น

เวลาพูก/ฟังก็น้อยฟังไปแค่เครื่องมือยังไม่ถึงผลการวิจัยก็หมดเวลา ออตว่า เข็ม ๆ เจ็ง ๆจะน่าสนใจกว่ามากๆแต่....นะครับ

ขอบคุณครับ

เรื่องอายุนั้น สิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นอย่้างที่คิดนะครับ เพราะนายบอนใช้ภาพดำคล้ำ ไม่ชัดถึงขนาดนั้น ว่าแต่ใครพาเรียกหรือ

หรือว่า เดาเอาจากเรื่องที่เขียนในบันทึกว่า มีอายุมากมายมหาศาล จนต้องเรียกขานว่า พี่!!!!


เรื่องการประชุมนั้นคาดว่า ปีต่อไป น่าจะมีการจัดการประชุมที่ดีขึ้น หลังจากที่มีประสบการณ์มากขึ้นนะครับ

หากมีโอกา่สได้ไปร่วมประชุมวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในสาขาไหนก็จะเห็นรูปแบบ บรรยากาศที่ต่างกันออกไป คงจะได้อะไรที่ดีๆกลับมาปรับปรุงการประชุมของ มมส. เยอะขึ้นเช่นกันนะครับ

เห็นเขียนไว้ที่หนึ่งว่า คุณออตอยากจะทำหนังสือทำมือ รวบรวมบันทึกในบล็ิอก มารวมเล่ม เดี๋ยวนายบอนส่งหนังสือทำมือในแนวทางที่ออต ชอบไปให้อ่านละกัน เดี๋ยวจะส่งไปให้ที่บ้านตามที่อยู่ที่ระบุไว้ใน บล็อกของออตนะครับ เผื่อวันหนึ่งได้มาร่วมงานกันทำหน้าสือทำมือในเร็วๆนี้บ้างนะครับ

ขอบคุณครับผม จะรออ่านขอบคุณสำหรับมิตรภาพผ่าน B2B นะครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท