การจัดการเรียนการสอนรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ปัญหาและความท้าทาย (ยังไม่ได้ตรวจคำถูกผิด)


การจจัดการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตบรรลุผลในสามส่วนคือ Skill knowledge และ attribute

อีกไม่นานเกินสองอาทิตย์เทอมใหม่ก็จะเปิด เรากำลังต้องเตรียมปรับปรุงการสอนในรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองให้ทันสมัย สำหรับลำดับเนื้อหาการสอนคงไม่ต้องปรับเพราะเท่าที่ผ่านมาลำดับเนื้อหาที่เริ่มด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องโครงสร้างสังคมระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศสามารถทำให้นิสสิตเห็นภาพพัฒนาการกฎหมายระหว่างประเทศได้พอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่ท้ายทายผูสอนคือจะทำอย่างไรจึงจะดึงเรื่องไกลตัวให้กลับมาเป็นเรื่องใกล้ตัวให้ได้ โชคดีหน่อยว่าปีนี้ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดซื้อ หนังสือ Case and Material on International lawของ David Harris เข้าห้องสมุดแล้วจึงทำให้ นิสิตมีช่องทางในการศึกษาเพิ่มขึ้นถ้าว่าตามทฤษฎ๊การจัดการหลักสูตร โดยวิเคราะห์ที่ learning  gap, Out put และ Out come  เราจะเห็นว่าสิ่งที่พยายามสร้างให้ได้สำหรับนักกฎหมายระหว่างประเทศประกอบไปด้วยสามส่วน    S K A , Skill, Knowledge และ Attribute  ซึ่งส่วนสุดท้ายจะสร้างยากสุดที่จะเปลี่ยนวิธีคิดให้เด็กๆหันมาสนใจเรื่องรอบตัว โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับเรื่อง Skill  และ  Knowledge นั้นผมว่าไม่ยากเลย เพราะสำหรับSkill ที่นนักกฎหมายระหว่างรปะเทศต้องมี คือนิติวิธีในการหา และใช้กฎหมายระหว่างประเทศให้เป็น ตลอดจนการเขียนงานเชิงวิชาการนั่นเอง ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องยาก และการวัดผลจุดประสงค์ข้อนี้ทำโดยใช้แบบฝึกหัดได้สบายมาก ส่วนความรู้นั้นก็ใช้โจทย์อุทธาหรณ์ และพิจารณาการอ้างหลักกกำหมาย จากแหล่งกฎหมายประเภทต่างๆ และคดีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปีการศึกาษที่ผ่านมาผมได้ลองใช้วิธีการมอบหมายแบบฝึกหัดจำนวนสองชิ้นงานให้นิสิตทำ และอาจารย์ผู้สอนอ่านทุกชิ้นอย่างละเอียด พบว่า ในช่วงการสอบปลายภาคนิสิตทำข้อสอบได้ดีมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการเขียนตอบข้อสอบ และรู้จักยกเหตุผลในคดีที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิงสนับสนุนความเห็นของตน ทำให้ผมพอใจมาก  อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นเรื่องทัศนคติและความสนใจในการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้น ผมคิดว่าแก้ได้ไม่ยาก สิ่งนี้ผมต้องกราบขอบพระคุณไอเดียท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรที่มอบหมายให้นิสิตในรายวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนเขียนบันทึกลงในบล็อกใน Learner.org ครับ ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่น่ายาก ในการสร้างทัศนคติ ในครั้งนั้นผมตั้งใจจะใช้วิธีสอนโดยการมอบหมายงานให้นิสสิตไปอ่านข่าวต่างประเทศและนำมาวิเคราะห์ในเชิงระหว่างประเทศครับ ซึ่งตั้งใจจะได้เห็นสองประการคือ

๑.นิสสิตสามารถแยกประเด็นเรื่องภายในประเทศออกจากเรื่องระหว่างประเทศได้หรือไม่๒.นิสิตส่วนใหญ่สนใจประเด็นใดในกฎหมายระหว่างประเทศบ้างได้ผลอย่างไร ผมจะมาเขียนบันทึกรายงานอีกครั้งครับ

 

หมายเลขบันทึก: 488162เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท