หินแร่ภูเขาไฟ ไม่ใช่โดโลไมท์และฟอสเฟตนะจ๊ะ


หินแร่ภูเขาไฟนั้นไม่ใช่ปูนเป็นหินเดือด หินสุก หินลาวา หินเถ้าภูเขาไฟ มีความแตกต่างจากปูนโดโลไมท์และฟอสเฟตที่เป็นหินดิบ

 

กลุ่มวัสดุปรับปรุงดินในบ้านเราเร่ิมมีเกษตรกรเพิ่มความสนใจมากขึ้นเรื่อย จากที่แต่ก่อนใช้แต่เพียงปุ๋ยเคมีใส่เสริมเพิ่มลงดินเพียงอย่างเดียวเพื่อเพิ่มแร่ธาตุสารอาหารให้แก่พืชนำไปในกระบวนการสังเคราะห์อาหารส่งไปเลี้ยงยังกิ่งก้านใบและผล เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น การใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องมาอย่างยาวนานย่อมส่งผลให้ดินเสื่อมเสียจากกรดในรูปซัลเฟตที่ติดมากับปุ๋ยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนทำให้เกิดปัญหาดินเปรี้ยว แน่นแข็ง ดินไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย แม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมพืชก็ไม่แสดงอาการตอบสนองกินปุ๋ย เนื่องด้วยดินที่มีสภาพเป็นกรดจะจับตรึงปุ๋ยไว้บางส่วนและปลดปล่อยให้ไนโตรเจนสูญเสียไปกับสายลมแสงแดดโดยง่ายพืชไม่สามารถที่จะดูดกินปุ๋ยได้อย่างที่ควรจะเป็น
 
โดโลไมท์และฟอสเฟต หรือจะเป็นกลุ่มวัสดุปูนชนิดอื่นๆ จึงมีบทบาทอย่างมากในการนำมาแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ดินกรด จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายยาวนาน เนื่องด้วยโดโลไมท์และฟอสเฟตเป็นกลุ่มวัสดุปูนที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจากคุณสมบัติที่เป็นด่างสูงจัดแล้วยังให้แร่ธาตุปุ๋ยแมกนีเซียมและฟอสฟอรัสในราคาประหยัดช่วยให้พืชสังเคราะห์แสง สร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มรากให้ยาว หาอาหารได้มากกละไกลขึ้น แต่กลุ่มวัสดุปูนเหล่านี้จะเป็นโทษเมื่อนำมาใช้กับดินที่มีคุณสมบัติเป็นกลางคือมีค่าพีเอชประมาณ 7 เพราะจะทำให้ดินมีค่าพีเอชเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นผลเสียต่อพืช เพราะดินจะสะสมความเป็นด่างมากขึ้นเรื่อยๆ จากปูนโดโลไมท์และฟอสเฟต พืชส่วนมากจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงค่าพีเอช 5.8 - 6.3 คือเป็นกรดอ่อนๆ จึงจะละลายแร่ธาตุและสารอาหารในดินออกมาเผ็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีที่สุด
 
ส่วนหินแร่ภูเขาไฟนั้นไม่ใช่ปูนเป็นหินเดือด หินสุก หินลาวา หินเถ้าภูเขาไฟ มีความแตกต่างจากปูนโดโลไมท์และฟอสเฟตที่เป็นหินดิบจากที่ได้เคยเขียนหรือเล่าให้ฟังในบทความครั้งก่อน ๆ หินแร่ภูเขาไฟทั้ง พูมิช (pumice), สเม็คโตไทต์ (Smectotite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน๊อพติโลไลท์ (Clinoptilolite) ฯลฯ มีคุณสมบัติที่เป็นกลางและอุดมไปด้วยแร่ธาตุสารอาหารจากการหลอมรวมของหินหนืด ลาวาและเถ้าภูเขาไฟที่เป็นประโยชน์ต่อพืชค่อนข้างมาก ถึงแม้จะปลูกพืชอยู่บนพื้นดินที่เป็นหินแร่ภูเขาไฟเก่าก็ไม่มีผลกระทบที่เป็นโทษต่อการเจริญเติบโตเหมือนพืชที่ปลูกอยู่บนภูเขาหินปูน เพราะหินแร่ภูเขาไฟนั้นแตกต่างจากปูน ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (บาหลี)  และญี่ปุ่นที่มีแหล่งหินแร่ภูเขาไฟเก่าอยู่ค่อนข้างมาก จะมีการทำเกษตรกรรมปลูกข้าว ทำไร่อยู่บริเวณรอบๆภูเขาไฟอยู่มากมาย โดยเฉพาะที่บาหลีนั้นมีความโดดเด่นในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะมีสภาพของธรรมชาติที่เขียวสดงดงามเป็นวิวทิวทัศน์ที่งดงาม อีกทั้งการทำการเกษตรนั้นไม่มีการใช้สารพิษเพราะได้อานิสงส์จากหินแร่ภูเขาไฟที่ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแกร่งต้านทานต่อโรค แมลง เพลี้ยหนอน ราและไรจนไม่มีความจำเป็นต้องใช้ "ยันต์กันเพลี้ย" เหมือนในบางประเทศ
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
หมายเลขบันทึก: 488069เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณมนตรี สารเติมเ็มในปุ๋ยวิทยาศาสตร์คือะไรครับ

เท่าที่ทราบส่วนใหญ่เป็นดินหินทราย ดินขาว ดินเบา ครับ ท่านวอฌ่า-ผู้เฒ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท