เตีรยมความพร้อมเกษตรกรสู่ประชาคมอาเซี่ยน(บัญชีรับจ่ายนักเรียน)AEC


การจดบัญชีรับจ่ายของนักเรียนเป็นการส่งเสริมการเรียนการคิดในใจ ทางคณิตศาสต์ ไม่ใช่การคิดนอกใจ(คิดด้วยเครื่องคิดเลขคือการคิดนอกใจ)

        ผู้เขียนนับว่าโชคดี  มีวาสนาในการประชุมสัมนาแทบทุกครั้ง  นอกจากได้รับความรู้ในที่ประชุมแล้ว   ยังได้เพื่อนใหม่  มิตรใหม่ในการประชุมด้วย  

 

     ครั้งนี้ในการประชุมเตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่ประชาคมอาเซี่ยน ในวันที่   30 เมษายน  ถึง 2 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมาเช่นกัน    นอกจากได้รับความรู้ใหม่เรื่องประชาคมอาเชี่ยนแล้ว   ยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานกับท่านนักวิชาการกรมส่งเสริมสหกรณ์ ท่านเล่าว่า ก่อนย้ายมาอยู่กรมฯ  เคยทำงานปฎิบัติอยู่ชายแดนตามแนวรอยตะเข็บตามโรงเรียน ตชด(ตำรวจตะเวนชายแดน)  ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบสหกรณ์  ได้สอนครูแนะนำนักเรียนให้รู้จักการทำบัญชีรับจ่าย ในหลายพื้นที่

 

ท่านนักวิชาการกรมส่งเสริมสหกรณ์(พีรพงศ์ วาระเสน)

      นัยของการแนะนำสอนให้เด็กทำบัญชีรับจ่าย ครัวเรือนตามที่สมเด็จพระเทพฯท่านทรงต้องการให้เด็กเข้าถึงและรู้จักตัวเองเป็นหลัก   แต่สอนไปสอนมา ทั้งครูและนักเรียน แปรเปลี่ยนเจตนา  จะเห็นเด็กไปจ่ายตลาดพกเครื่องคิดเลข เป็นการอำนวยความสะดวก การคิดจด

 

   บัญชีรับจ่ายเป้าหมายเป็นการส่งเสริมการเรียนทางคณิตศาสตร์ ให้เด็กรู้คิดคำนวณในใจ ไม่ใช่คิดนอกใจ(คิดด้วยเคื่องคิดเลขคือคิดนอกใจ)  แล้วนำมาจดบันทึกเป็นการส่งเสริมฝึกทักษะการเขียนคัด ให้มีความถนัดทางด้านวิชาภาษำไทย  ยิ่งได้ร่วมกับกับครอบครัว จดบันทึกบัญชีรับจ่ายครัวเรือน เป็นการส่งวิชาสังคมชุมชน  ซึ่งในการสอนการจดบัญชีท่านบอกว่าต้องมาทบทวนแนวคิดกันใหม่  

 

     นอกจากนั้นท่านนักวิชาการสหกรณ์ได้กรุณา ก็อปงานประชุมทางวิชาการที่ อาจารย์ จันทนา ชัยวรรณการ อธิบดีกรมเจ (เจรจาการค้าระหว่างประเทศ)ที่ได้ประชุมเรื่อง"ช่องทางการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด AEC ของประเทศไทย มาให้เรียนรู้ ทั้งยังได้เรียนรู้ การที่เกษตรกรเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนว่าเราได้ เราเสียอะไร เตรียมตัวพร้อมในการแข่งต่อสู้กับเพื่อน10 ประเทศได้อย่างไร  สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2558  ในเรื่องตลาดร่วมอาเซี่ยนอย่างสมบูณ์  ที่ทั้ง 10 ประเทศ รวมกันเป็นหนี่งทางด้านสินค้า

การบริการ

การลงทุน

แรงงานฝีมือ

เงินทุน  

และความร่วมมือ  

 

      ส่วนกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมอาเซี่ยน  มี

ผู้ค้า

 เกษตรกร

 แรงงาน

นักธุรกิจ

ประชาชน  

ผู้บริโภค

และนักวิชาชีพ

 

      ทางด้านการเตรียมพร้อมของสินค้าเกษตรกรไทย  มีจุดแข็ง 

 

ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเษตรเป็นหลัก  

เป็นผู้ประกอบการแปรรูปและมีศักยภาพสูง

 ตัวสิินค้าเกษตรมีจุดเด่นเป็นที่ต้องการของตลาด  

มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้เปรียบ

             ส่วนจุดอ่อนของเกษตรกรไทย

 

 มีเกษตรกรรายย่อยเกิน 80%  มีผลต่อต้นทุนและการผลิต   ต้นทุนการผลิตสูงกว่าเพื่อนบ้าน(หากไม่มีการคุ้มกันจะเสียโอกาส)

ขาดการพัฒนา

 ภาครัฐ เอกชน  เกษตรกร  ขาดการบูรณาการร่วม  

ขายผลผลิตเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่  

รายได้น้อย ระยะการเสื่อมของสินค้าเร็ว  

พึ่งตลาดส่งออกเป็นหลัก

 

      ในฐานะประธานกลุ่มเกษตรกรรายย่อยระดับอำเภอทำธุรกรรมไม่คิดดอกเบี้ยสอดคล้องกับศาสนา และส่งเสริมการผลิตเพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยน  ฟังทั้งจุดอ่อนจุดแข็งของภาคเกษตรที่จะเข้าแข่งขันกับตลาดอาเซี่ยน เห็นทีจะมืดมน เพราะลำพังจะนำพาองค์กรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5 ตัวชี้วัดในแต่ละปี  ก็หนักหนาสาหัส แข่งกับตัวเองก็ชนะแค่เส้นยาแดง

 

     หากจะให้ไปแข่งขันในเวทีอาเซี่ยน ภาครัฐ ต้องจริงจัง และจริงใจต่อเกษตรให้มากกว่านี้  เพื่อให้มีแรงสู้ เหมือนดังที่ท่านอาจารย์ จินตนา ได้สรุปรวบยอดไว้ว่า "เรียนรู้ ใส่ใจ ใช้ประโยชน์"แล้วเกษตรกรจะได้ประโยชน์การการเดินไปสู่ประชาคมอาเซี่ยน  

 

      (ขอบคุณ นักวิชาการ สหกรณ์จำชื่อไม่ได้ และขอบคุณอาจารย์ จินนา รองอธิบดีกรมเจ)

 

 

หมายเลขบันทึก: 487492เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณ ชลัญธร มอบดอกไม้ก่อนไครในบันทึกนี้

ไปรู้ไปเห็นได้คุยได้คิดจึงนำคมความคิดมาเล่าต่อ ทั้งที่จำชื่อไม่ได้แต่เรื่องที่เขาเล่ากลับจำได้ดี

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า  อ่านแล้วเป็นการประชุมเตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่ประชาคมอาเซี่ยน

ทำให้มีความรูเรื่องประชาคมอาเซี่ยน   เรื่องสหกรณ์  การทำบัญชีรับจ่าย  ทำให้รู้ว่าสิ่งไหนควรจ่าย

และสิ่งไหนไม่ควรจ่าย  และยังฝึกให้นักเรียนคิดเลขอีกด้วย  นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

เป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีค่ะ..

ให้กำลังใจแข่งกับตัวเองนะคะท่านลุงบัง

เรียนครูทิพย์.....

เตรียมความพร้อมนี้ก็สำคัญ เหมือนเป็นการซ้อมพร้อมที่จะลงแข่งขัน

ทางด้านการศึกษาก็เห็นเตรียมความพร้อมของเด็กเพื่อแข่งขันกับเพื่อนบ้าน

ขอบคุณ พี่ใหญ่ งานนี้กลุ่มเกษตรกรเล็กที่ทำกลุ่มแบบพอเพียงมีทุนเรือนหุ้นน้อย คงยากในการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน

เรียนคุณหมอธิรัมภา....

เรื่องสาธารณสุข ว่าหนัก แต่พอมาฟังเกษตรกรยิ่งพูดไม่ออก

เก๖รส่งการผลิต พานิชย์ไม่ช่วยส่งเสริมการขาย รัฐส่งเสริม อุตส่าหากรรม ทำให้สินค้าเกษตรตกต่ำ

เรียนคุณ ตะวันดิน

ขอบคุณที่มาให้กำลังใจเกษตรกร

เตรียมความพร้อมของเกษตรกร เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผมอยู่เชียงราย จะถือว่าเป็นประตูแรกก็ว่าได้ ติดต่อประเทศ พม่า/ลาว การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำและลักลอบเข้ามาอีกต่างหาก รับผลกระทบโดยตรง โดเฉพาะเกษตรกร แต่เกษตรกรทั่วไป ยังไม่รับรู้ว่าจะกระทบกับตัวเองอย่างไร รู้แต่ว่าจะมีการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านแบบเสรี(ตามเขาว่า) สังเกตุไม่มีใครพูดถึงเลย รู้เฉพาะเป็นบางกลุ่ม ที่เกียวข้อง ยังไม่มีข้อมูลมาถึงชาวบ้านเลย

*ขอบคุณครับ ที่มีเวที่เกษตรกรสนใจประชาคมอาเซียน

เรียนคุณ ไพบูลย์ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เขาขยับเรื่องนี้มานาน

แต่สื่อของรัฐที่บอกต่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร ยังสื่อไม่ถึง หรือไม่ได้สื่อ

ทั้งๆที่เป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่ ในความร่วมมือกันครั้งนี้ เปรียบง่ายๆ คือ ประชาคมอาเซี่ยน เท่ากับหนึ่งประเทศในโลก แต่ละประเทศจะเล็กลงเป็นจังหวัด จังหวัดจะเป็นอำเภอ อย่างนี้แหละ ประชาคมอาเซี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท