โรงเรียนฤาษี


เขียนโดย วิเชียร ไชยบัง : ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา
 


     กรอบคิดอุตสาหกรรม เมื่อพนักงานเข้าสู่โรงงาน จะถูกแยกส่วน แยกงานให้ทำอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างเดียวซ้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดทักษะในการทำสิ่งนั้นๆ อย่างรวดเร็ว นั่นคือโรงงานจะให้ได้ชิ้นงานออกมาอย่างรวดเร็วในปริมาณมากๆ เช่น ในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า จะแบ่งกลุ่มคนทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่ เจาะรังดุม ทำปกคอ ตัดแขนเสื้อ ตัดแผ่นหลัง ตัดแผ่นหน้า เย็บแขนเสื้อ ประกอบเป็นตัว เป็นต้น วิธีการเหล่านี้จะทำให้โรงงานจะสามารถจ่ายค่าแรงได้ถูก ไม่ต้องง้อคนงานเพราะสามารถหาแรงงานทดแทนได้ง่าย ฝึกคนงานใหม่ทดแทนได้เร็วเพราะฝึกเพียงทักษะเดียว แต่พนังงานทั้งหมดจะอ่อนแอไม่สามารถตัดเย็บเสื้อทั้งตัวเป็น ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะใหม่เพราะถูกกำหนดระยะเวลาทำงานต่อวันที่ยาวนานและ ปริมาณเป้าหมาย สุดท้ายการดำเนินชีวิตจะถูกกำหนดด้วยวิถีของโรงงาน
        การศึกษามีส่วนที่คล้ายกับวิถีของโรงงาน หลักสูตรแกนกลางถูกกำหนดค่อนข้างแข็งรูปและคงอยู่ยาวนาน อาจใช้เวลากว่าสิบปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงสักทีนั่นย่อมไม่ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งสภาพแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม หลักสูตรยังถูกแยกเป็นช่วงชั้น เป็นวิชา ฝึกทักษะเป็นอย่างๆ และใช้เวลายาวนาน กว่าคนๆ หนึ่งจะเรียนได้ครบถ้วนและสามารถประติดประต่อมวลความรู้และประสบการณ์ที่ ผ่านมาจนสามารถดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองได้ต้องมีอายุเลยยี่สิบปี
        สอนกันแบบฤาษี เป็นการเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดมวลความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จริงจากครูที่เป็นฤาษี ซึ่งไม่มีหลักสูตรตายตัว ไม่ครอบงำด้วยเงื่อนไขแบบอุตสาหกรรม เช่น เวลา การวัดความสำเร็จออกมาเป็นตัวเลข การตีค่า การประเมินความคุ้มค่า เป็นต้น ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะได้เรียนทุกมวลของความเป็นมนุษย์จริงๆ 1 ชุด และ เมื่อได้เรียนรู้หลายๆ ชุดจากครูฤาษีหลายๆ คน ผู้เรียนจะเกิดการประมวลผลด้านใน จนก่อรูปเป็นตัวตนของมนุษย์อีกคนหนึ่งซึ่งไม่เหมือนใครเป็นลักษณะเพราะที่ ประมวลเอาจุดแข็งที่ได้เรียนรู้มาเข้าเป็นก้อนใหม่ ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมใหม่ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และทางสังคม
        ประเด็นที่อาจจัดให้เกิดการเรียนรู้จากฤาษี ได้แก่ เรียนรู้รูปแบบการดำเนินชีวิต การสร้างปัจจัยที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต การปรับสมดุลระหว่างกายกับจิต ทำความเข้าใจค่านิยม ความคิด ความเชื่อที่ใช้ในการดำเนินชีวิต ฝึกฝนทักษะที่ใช้ดำเนินชีวิตทั้งหมด ซึมซับความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า เป็นต้น และ เราไม่จำเป็นต้องกังวลกับคุณสมบัติของครูที่จะเป็นฤาษีเพราะทุกชีวิตมี คุณค่าที่ควรค่าแก่การเรียนรู้อยู่แล้ว
        โรงเรียนฤาษี จึงมีหวัง

 

อ่านเพิ่มเติม : http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/2010/07/blog-post.html



หมายเลขบันทึก: 485720เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2012 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นแนวคิดการเรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริงที่น่าสนใจมากค่ะ..หลายโรงเรียนได้บูรณาการไปกับการปลูกจิตสำนึกและทำโครงการประสานชุมชน เพื่อการนี้อย่างเป็นรูปธรรม..

ชอบหนังสือแนวนี้ของ ผอ วิเชียร ครับ คุณครูราชิต สบายดีนะครับ

สบายดีครับ ขจิต ฝอยทอง

ถ้าต้องการหนังสือยังไง.. ส่งที่อยู่มาให้ผมได้นะครับ

หรือ  http://banchaow.lnwshop.com/

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท