เมื่อพยาบาลต้องรับหน้าที่ตรวจรักษาโรค ตอนที่ 2 (จะทำอย่างไรคนไข้ไม่ยอมไปโรงพยาบาล)


โหยยยย.......คุณหมอคิดได้ยังไงชีวิตไม่ตายนาหาใหม่ได้ อายุยายปาเข้าไป 68 แล้ว ยายจะเอาปัญญาไหนไปหานาใหม่ นาเดิมนี่ก็เป็นสมบัติของบรรพบุรุษ ยายต้องรักษาไว้เท่าชีวิต เพื่อให้ลูกหลานได้มีที่อยู่

เมื่อครั้นเข้าไปศึกษาในหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาลเวชปฏิบัติ( การรักษาโรคเบื้องต้น ) ซึ่งใช้ระยะเวลาเรียนที่ ๑๖ สัปดาห์ ก็ค้นพบว่า เฮอะๆๆๆ.....เจ้านายเข้าใจผิดล่ะหว่า...... ที่จะให้เราออกไปปฏิบัติภารกิจ ดูแลสุขภาพของประชาชน  ที่เน้นในเรื่องของการตรวจรักษาโรค ผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ  จริงๆอาจารย์ผู้สอนท่านมีความเป็นครูโดยแท้ พยายามสอนถ่ายทอดให้รู้ในเนื้อหาตามที่สภากำหนด  ที่บอกว่าสภากำหนดไว้เท่านี้นี่คือขอบข่ายของพยาบาล  เกินนี้คุณไม่ต้องทำมันเป็นข้อกฎหมาย ไม่ใช่หน้าที่ของคุณ

 แต่เวลาตรวจรักษาผู้ป่วยนั้น มันนั่งอธิบายข้อกฏหมายไม่ได้  อาการแบบนี้ฉันทำไม่ได้ คนไข้ต้องไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาล แล้วถ้าคนไข้ไม่ยอมไปเพราะเหตุผลต่างๆนานาล่ะเราจะปล่อยคนไข้ไปหรือค่ะ  ขอยกตัวอย่างคนไข้ 1 case  ที่รู้สึกว่า ถ้าฉันทำตามกฎหมาย มันจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยบ้าง

 “ คุณยายวัย 68 ปี  มารักษาที่ PCU ( primary care unit) ด้วย  3 วันก่อนมาไปหาปลาเดินสะดุดไม้ มีแผลที่เท้า เล็กๆ เท้าบวม แดง ปวด   มีไข้   เราเห็นก็รู้ได้ทันทีว่า cellulitis แบบนี้มันต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด  ถึงจะเอาอยู่   แต่ทำอย่างไร คุณยายแกก็ไม่ยอมไป โรงพยาบาลเพราะยายกลัวหมอให้นอน โรงพยาบาล นี่คือเหตุผลของยายที่ไม่ไป โรงพยาบาลแต่แรก แกเพียงอยากได้ยาไปกินเพื่อบรรเทาก่อน ชลัญธรก็โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์  แพทย์ที่เจอ เป็นแพทย์ เพิ่งจบปีแรก ยื่นคำขาดอย่างเดียวยังไงก็ต้องมา เขาไม่ได้ตรวจคนไข้เองสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ไม่ได้หรอก แล้วยิ่งอาการแบบนี้ ยังไงก็ต้องนอน โรงพยาบาล  เราก็กลับมาคุยกับยายใหม่ ผลปรากฏว่า  ยายก็ไม่ยอมอยู่ดี  เหตุผลของยายคือ วันนี้ยังไงก็ไม่นอนต้องกลับบ้าน เพราะว่าพรุ่งนี้ เขามีประชุมตอนเช้าเรื่องตัดถนนเข้านา ซึ่งนายายเป็นส่วนที่ดีรับผลกระทบ  ยายต้องรอฟังว่า ยายจะต้องเสียที่นามากเท่าไร  แล้วยายจะยินยอมมั๊ยเพราะเขานัดกัน กับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกส่วนแล้ว   แต่ถ้าเป็นพรุ่งนี้บ่ายยายจะกลับมานอน รพ.ก็ได้ คนอื่นในบ้านตัดสินใจแทนยายไม่ได้  ยายต้องเป็นคนตัดสินใจเองยายว่าอย่างนั้น”  ชลัญธร โทร.กลับไปถามแพทย์อีกรอบ แพทย์ชักหงุดหงิดใส่ชลัญธร บอกให้ถามยายก็แล้วกันว่า จะรักที่นาหรือรักชีวิตเลือกเอา ถ้าชีวิตไม่ตายนาหาใหม่ก็ได้ เท่านั้นก็วางสาย

    ชลัญธรล่ะปรี๊ดเลย  โหยยยย.......คุณหมอคิดได้ยังไงชีวิตไม่ตายนาหาใหม่ได้  อายุยายปาเข้าไป 68 แล้ว ยายจะเอาปัญญาไหนไปหานาใหม่ นาเดิมนี่ก็เป็นสมบัติของบรรพบุรุษ ยายต้องรักษาไว้เท่าชีวิต เพื่อให้ลูกหลานได้มีที่อยู่ที่่ทำกิน  เอ้า.........แล้วชลัญจะเอายังไงล่ะนี่ ....หรือจะปล่อยคุณยายไปตามที่หมอท่านว่า ... หรือให้ยาไปรับประทานก่อน แต่ที่ PCU มีแค่ cloxacillin cap และ paracetamal แล้วมันจะเอาอยู่มั๊ยนี่ .....ถ้าเกิดยาติดเชื้อเข้ากระแสเลือดล่ะ  คุณยายก็แย่...ชลัญก็จอด ...เพราะถ้าสอบประวัติดูเป็นความผิดของชลัญธรเต็มๆที่ปล่อยคนไข้ไป.....ว่าแล้วไอเดียแก้ปัญหาแบบหน้ามึนของชลัญธรก็เริ่มขึ้น  นึกได้ว่า ใกล้ๆ PCU เรานี่มีคลินิกแพทย์อยู่ เอาล่ะว้า.....หน้ามึนอย่างเดียวจะช่วยคุณยายได้ เดินไปหาคุณหมอ แบบมึนๆ  .....คุณหมอค่ะจะรบกวนมั๊ยถ้าดิฉันจะเรียนเชิญคุณหมอคนคนไข้ที่ PCU ให้หน่อย  คุณหมอไม่ถามอะไรเลย...บอกคำเดียวว่า ได้ๆ พี่ไป...แต่ชลัญร้อนตัวจึงอธิบายท่านไป  เมื่อคุณหมอมาดูก็สรุปเหมือนชลัญเลยว่าต้องให้ยาทางหลอดเลือด  แต่คุณยายก็ไม่ยอมดูดี  แล้วคุณหมอก็ถามยา Antibiotic ทุกตัว ใน PCU แล้วท่านก็สั่งการรักษาดังนี้

  1. Dressing( ทำความสะอาดแผล)

  2. ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

  3. ให้ยา Cloxacillin + Metronidazole ไปรับประทาน

  4. ให้ยา cef-3 ทางหลอดเลือดที่คลินิกคุณหมอ (ฟรี) 1 dose

  5. เขียนใบส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างละเอียด แล้วเน้นให้คุณยายกลับมาเมื่อเสร็จภาระกิจ ยังฝากเน้นย้ำกับหลานยายที่เป็นคนขับรถจักรยายนต์มาส่งยาย ว่า ยังไงพรุ่งนี้ต้องมาโรงพยาบาล

นี่เป็นผลของความ หน้ามึนของชลัญธร ในการแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ต้องขอกราบขอบพระคุณคุณหมอที่ท่านได้กรุณา   เมตตาคนไข้ ทั้งที่ไม่ใช่ธุระโดยตรง จริงๆท่านเป็นแพทย์ที่รักคนไข้ มีใจบริการ แต่ด้วยปัญหาระบบ ในหลายๆด้านทำให้ท่านตัดสินใจ ที่จะลาออกมาเปิดกิจการส่วนตัว ใช้ชีวิตสมถะพออยู่พอกิน ถ้ามีโอกาสอาจจะเขียนถึงท่านอีกครั้ง

            นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการทำหน้าที่พยาบาลเวชปฏิบัติ  ที่ไม่เพียงรักษาโรคแต่ยังต้องรักษาคน  เพียงตัวอย่างแรกก็เห็นแล้วว่า ภาระที่ให้มันเกินกำลังของพยาบาลจริงๆ .......................

 

หมายเลขบันทึก: 485585เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นแบบอย่างที่ดีมากของการทำงานผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์เช่นนี้

ตามมาชื่นชม และให้กำลังใจครับ

เป็นแบบอย่างที่ดีมากหนูพึ่งอายุ10ปีโตขึ้นมาอยากเป็นพยาบาลหารายได้ให้ครอบครัวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท