ชมสวน(4) : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่16


จากแปลงปลูกมะขามหวานสู่เกษตรผสมผสาน(ความงดงามที่ธรรมชาติจัดเอง)

 

... สวัสดีค่ะวันสงกรานต์ผ่านพ้นไปหลายๆท่านคงมีความสุขเต็มอิ่มกับครอบครัวกันนะคะ ส่วนข้าพเจ้าและคุณโอภาส ปีนี้คงเหมือนทุกปีที่ผ่านมาไม่ได้ออกไปไหนดูแลต้นไม้ในไร่สวน แต่สงกรานต์ปีนี้ก็มีพระสงฆ์มาให้กราบถึงสวน(มาดูวิธีปลูกผักหวาน).

...ช่วงนี้เมล็ด-ผลของผักหวานป่ารุ่นแรกก็เริ่มเหลืองบ้างแล้วเป็นสัญญาณบอกว่าต้องกรอกดินเตรียมถุงแล้วสำหรับเพาะ-ปลูก.

...หลังจากที่ข้าพเจ้าได้นำชมสวนไปแล้วบางส่วน วันนี้จะได้นำทุกท่านชมสวนต่อนะคะ ใน2-3ตอนที่นำชมสวนไปแล้วนั้นเมื่อตรวจทานดูแล้ว(ต้นไม้ประท้วง!พาหนูไปเที่ยวด้วย..)คราวนี้จึงได้นำภาพและรายละเอียดในแต่ละจุดของสวนมาให้ชม โดยเจาะเป็นโซนๆตามสภาพพื้นที่(แปลงปลูก).

....วันนี้ข้าพเจ้าจะนำชมในโซนที่เรียกว่าแปลงมะขามข้างบ้าน(เนินมะกรูด)ค่ะ แต่เดิมในพื้นที่ตรงนี้มีเพียงต้นมะขามหวานและต้นมะกรูดใหญ่3-4ต้น(ปัจจุบันต้นมะกรูดตายแล้วเนื่องจากน้ำแช่ขังบริเวณโคน)แต่ก็ได้ขยายลูกหลานมะกรูดไว้ทั่วสวน.

1.บริเวณนี้ไม่มีต้นตะขบใต้ร่มมะขามทดลองปลูกผักหวานแล้วแต่ก็ไม่ยอมโตจึงต้องยอมรับความจริง.

 

2.(ภาพที่1-2)ในภาพเป็นบริเวณหน้าบ้านที่อยู่ในแนวเดียวกันกับเนินมะกรูด โซนนี้จะเป็นต้นมะขามพันธุ์สีชมพูและต้นจันทร์ผาที่เพาะจากเมล็ดนำมาปลูก ต้นจันทร์ผาจะขึ้นได้ดีอยู่ได้ในสภาพพื้นที่ๆเป็นหิน.

 

3.นำต้นมะขามออกบางส่วนแล้วทำการปลูกตะขบ-ผักหวานป่า บางจุดที่มีแสงแดดก็ปลูกมะระกอ มะขือพวง พืชผักไว้รับประทานนอกจากใต้ร่มเงาของตะขบแล้วกับโคนตนไม้ที่อยู่ในโซนนี้ก็มีผักหวานทุกต้นค่ะ2-3ปีคงได้เห็นผักหวานป่าโตโดดเด่นกว่านี้.

 

4.กว่าจะปลูกตะขบให้โตได้ในจุดนี้ใช้เวลา5-6ปี ปลูกแล้วตาย ตายก็ปลูกใหม่(สูตรปลูกต้นไม้ที่นี่ตาย10ปลูก100)

 

5.หลังจากปลูกต้นตะขบได้แล้วต่อไปนกจะช่วยปลูกในภาพจะมีพวกสะเดา ตะโก มะเกลือขึ้นผสมรวมอยู่ในแปลง

 

6.สภาพดินของที่นี่ทุกแปลงเท่าเทียมกันคือหินและดินเหนียวปนลูกรัง คล้อยต่ำลาดเอียง

 

7.ในภาพพุ่มไม้สีเขียวด้านในเป็นต้นผักหวานป่าที่ปลูกกับต้นไม้อื่นที่ไม่ใช่ตะขบอายุ7ปีพึ่งจะสูงเมตรกว่าๆ

 

8.ได้ทำการปลูกต้นตะขบเสริมในแปลงบริเวณที่มีแสงแดดเพื่อจะได้ช่วยให้การเจริญเติบโตของผักหวานที่ปลูกไว้กับไม้ธรรมชาติได้เติบโตเร็วขึ้น

 

9.จากแปลงปลูกเชิงเดี่ยวกลายมาเป็นเกษตรผสมผสาน-สวนป่า วนเกษตร ข้าพเจ้าจึงพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำจากการลงมือปลูกเองกับมือกับทุกสภาพดิน(บางปีต้นไม้เพาะไว้เยอะประดู่ มะไฟ ไม้สัก มะค่า มะม่วงป่าฯเร่งปลูกชนิดฝ่ามือแตกได้เลือดทีเดียวค่ะ)

 

...ที่นี่ "อุฑยานผักหวานป่า'๔๔" จึงบอกได้ว่าคือต้นแบบแห่งความแห้งแล้งดินโหดหิน (ดินดีปลูกต้นไม้อะไรก็ได้ แต่หากดินไม่ดีจะเอาไปทิ้งที่ไหน?) แต่ใช่ว่าดินไม่ดีจะไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้...

 

***บันทึกฉบับนี้คงเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างได้บ้างสำหรับท่านที่มีสภาพดินที่ดีและไม่ดีนะคะสำหรับมุมคิดที่จะเริ่มปลูกต้นไม้ทำสวน  คนที่มีดินดีถือว่าโชคดีต้นทุนพร้อม คนที่ดินไม่ดีหากวางแผนให้ดีปลูกป่าอย่างเข้าใจไม่ช้าไม่นานต้องสำเร็จผลค่ะ***

 

   ****แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะสวัสดีและขอบคุณค่ะ****

 

หมายเลขบันทึก: 485419เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2012 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ขอบคุณ คุณพ.แจ่มจำรัสค่ะสำหรับดอกไม้กำลังใจ

ไม่รู้เป็นคนคิดมากไปหรือเปล่านะโยมน้อย
ตอนนี้ไปทางไหน จะได้ยินแต่คนพูดกันว่า
ลูกหลานชาวนา ขายนากันทุกพื้นที่

ทำให้นึกถึงวรรณกรรมเรื่องหนึ่งเคยอ่านนานมาแล้ว
เรื่องคนไททิ้งแผ่นดิน(อพยพทิ้งถิ่นเพราะหนีภัยสงคราม)

เห็นโยมน้อยทำแบบนี้แล้ว มีความสุขมากเลย
ชื่นใจแทนปู่ ย่า ตา ยาย ที่สร้างมากับมือด้วยความเหนื่อยยาก
มีลูกหลานดำเนินการต่อไม่ทอดทิ้ง มรดก(ดิน)
ที่กินไม่ไหว ใช้ไม่หมดนี้ต่อไป(ใช้ผืนดินคุ้มค่าจริงๆ)

อยากเห็นแนวคิดการอนุรักษ์พืชผักพรรณไม้ท้ืองถิ่น
เรื่องการทำหากินบนผืนแผ่นดินแบบโยมน้อยนี้เยอะๆ จังเลย

เมื่อไหร่บ้านเราจะมีกฎหมายเหมือนประเทศเพื่อนบ้านเรา
ที่ห้ามชาวนาขายนา (กฏหมายออกยาก เพราะคนออกกฏหมายมีที่ดินเยอะ)

คุณน้อยคะ

ดูจากรูปแล้วน่าทึ่งนะคะที่บอกว่าไม่ค่อยมีน้ำแต่ดูสวนแล้วชุ่มชื่นไม่น้อยแม้ในหน้าแล้ง ต้นไม้คงปรับตัวเองได้ดีนะคะ น่านับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริงๆค่ะ

:)

 กราบขอบพระคุณ คุณนงนาทสำหรับดอกไม้และกำลังใจค่ะ...

 กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล อาสโย ขำสุข ค่ะ...

...ท่านไม่ได้คิดมากค่ะเพราะเรื่องจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยหลายๆคนรู้สึกกังวล เป็นห่วง เศร้าใจกับสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ (ที่ดินเปลี่ยนมือ ไม่อยากจะคิดถึงอนาคตหากคนไทยเจ้าของแ่ผ่นดินต้องกลายเป็นลูกจ้างแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์).

...ผืนดินของสวนผักหวานป่า(อุฑยานผักหวานป่า'๔๔) ที่ท่านเห็นภาพในวันนี้เกิดจากแรงสร้างของคุณโอภาส ไชยจันทร์ดีและข้าพเจ้าจากความผูกพันฝังใจกับธรรมชาติในอดีต ในน้ำมีปลาในนามีข้าวของกินมากมายไร้สาร เกิดจากแรงผลัก(ดัน)ลึกๆของชีวิต ทำไม?พ่อแม่พี่น้องไม่รักการปลูกต้นไม้บ้าง(แนวคิดคนละทาง) หลายคนอาจมองเป็นลูกไม่ดีแต่สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่เกินเลยความเจ็บสำหรับคำว่าลูก(ความเป็น"ลูก"ที่ไม่มีสิทธิ์แม้คิด) ได้เพียงยิ้มทั้งน้ำตา (ด้วยเหตุนี้สูตรปลูกผักหวานความรู้กับต้นไม้ที่มีจึงมอบให้คนที่มาเรียนรู้ชนิดถอดใจให้วางแม้ทรัพย์สินทางปัญญา)

...สำหรับแนวทางด้านกฏหมาย โดยความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันคิดว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาค่ะ เพราะสิ่งที่มียู่ผืนดินหากไม่เห็นค่าเห็นแต่เห็นราคามีค่ากว่าประโยชน์ที่ยืนยาวมีกฏหมายมากมายเป็นร้อยข้อก็คงห้ามยากค่ะ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นอยู่ปรากฏให้เห็นในสังคมปัจจุบัน กฏหมายที่มีอยู่ก็ยังหาทางเลี่ยงกัน(จะแก้ซักกี่พันข้อก็คงไม่เสร็จเพราะเมืองไทยวันนี้ควรแก้ที่คนไม่ใช่กฎหมายค่ะ)

...จะรักสามัคคีกันยังต้องตั้งคณะกรรมการ เพียงจิตสำนึกถูกผิด(ศีล5พื้นฐาน)ยังต้องถามศาลฯลฯ ....งงค่ะประเทศไทย...

...ดูย้อนหลังรายการเปิดปมจันทร์ 16 เมษายน2555 ไทยพีบีเอส(หลังข่าว) และรายการตอบโจทย์ รายการพื้นที่ชีวิต หลังข่าววันที่18 เมษายน2555 ได้มุมมองและคำตอบเกี่ยวกับประเด็นที่ท่านกล่าวในความคิดเห็นค่ะ

...กราบนมัสการค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณปริม...ขอบคุณที่กรุณาเข้ามาชมสวนและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ.

...ถึงวันนี้ทั้งคนและต้นไม้พอปรับตัวปรับใจอยู่ได้กับความแห้งแล้งภายในสวนค่ะ ได้แต่หวังว่าฝนฟ้าจะดีในปีนี้(ครบรอบฝนดี)

 ขอบคุณพี่ตะวัน...สำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ..

 ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านค่ะ...

มีผักหวานอยู่๑ต้นจะพยายามขยายพันธ์ให้มากขึ้น

 สวัสดีค่ะคุณปภินวิช...

...ต้นผักหวานป่าที่มีหากอายุเกิน5ปีขึ้นไปและเป็นต้นตัวเมีย(ออกลูกออกผล)สามารถเพาะต้นกล้าขยายพันธุ์ได้้ค่ะรวมถึงเพิ่มจำนวนต้นได้จากทางราก..

...ส่วนต้นตัวผู้ไม่ค่อยติดลูกแต่ก็สามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนต้นได้จากทางรากค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท