การตรวจวินิจฉัยและการบ่งชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ที่สำคัญคือต้องยกเป็นประเด็นขึ้นทันที


มนุษย์เราเคยผิดพลาดเจ็บปวดอย่างไรมา เราย่อมไม่ละเลยในการแจ้งเตือนผู้อื่นให้ใช้ความระมัดระวังต่อสิ่งนั้น

มนุษย์เราเคยล้มเคยพลาดเจ็บปวดอย่างไรมา เราย่อมบอกทางที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

.....หรือ.....มนุษย์เราถูกสอนสั่งให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อคนอื่นๆ ฉันท์ใด เราย่อมบอกสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อคนอื่นๆ ฉันท์นั้น....

......นั่นคือความยินดีที่ผู้อื่นเป็นสุข ยินดีที่ผู้อื่นไม่เป็นทุกข์ เนื่องจากประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้พบเจอ สอนให้เราตระหนัก ระมัดระวัง ว่าจะเกิดซ้ำอีกกับเราและกับผู้อื่น หากสาเหตุ หาก"สาเหตุ"หรือ"ตัวปัญหา"(ความเสี่ยงนั้น)ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือมีมาตรการใดๆมาลดความเสี่ยงนั้น หรือถ้าเป็นความเสี่ยงมากจนรับไม่ได้ปล่อยให้เกิดไม่ได้ก็ต้องหาแนวทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสิ่งนั้นเสีย

......การหาสาเหตุพบแล้วละเลยไม่หลีกเลี่ยงหรือยังไม่แก้ไข นั่นเป็นสิ่งที่อาจเป็นผลกระทบทางจิตใจในภายหลัง พูดง่ายๆว่าบอกแล้วเตือนแล้วไม่ทำไม่รีบแก้ แล้วอย่ามาพูดในภายหลังว่า รู้อย่างนี้ตอนนั้นฉันทำ......ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนก็ดี หรือ ต่อไปนี้จะระมัดระวังเพิ่มขึ้น แบบนี้ผู้บังคับบัญชาเค้าฟังไม่ขึ้นครับ คนที่พูดแบบนี้ครูการบินเรียกว่า วิญญาณสองตัวคุยกันครับ เพราะด้านการบิน อาจไม่มีโอกาสได้มีชีวิตอยู่ให้แก้ไขได้ในรอบที่สองครับ

......ตราบใดที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุความผิดพลาดที่มาจากองค์ประกอบของเครื่องบินได้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นทำงานผิดพลาดได้อย่างไร เราจะยืนหยัดในทุกวิถีทางที่จะไม่ยอมให้เครื่องบินแบบเดียวกันชนิดเดียวกัน ปฏิบัติการบินอยู่ในท้องฟ้า ที่มีความเสี่ยงในการทำงานผิดพลาดบินอยู่แล้วตกลงมาทำความเสียหายให้ชาวบ้านชาวเมืองทั่วโลกได้อย่างรุนแรงและทั่วถึง

....... นี่คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ในเมื่อยังหาสาเหตุไม่เจอ ก็จะไม่ปล่อยให้เกิดความเสี่ยงอยู่ครับ ซึ่งหลายครั้งหรือทุกครั้งทีเดียว เมื่อพบความผิดพลาดซึ่งเกิดมาจากการออกแบบที่ผิดพลาด ก็จะแจ้งไปยังเจ้าของผู้ครอบครองให้ทราบและหยุดใช้งานทันที ตลอดจนเรียกนำส่งคืนบริษัทผู้ผลิตไปทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน ที่ทำไปใช้ในที่สาธารณะ เรียกว่าเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม ต่อสาธารณะ เพราะเป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจปล่อยทิ้งไว้ได้ ต้องหลีกเลี่ยง โดยการกราวด์หรือหยุดใช้อากาศรุ่นนั้นและแบบนั้นในทันที พร้อมกันทั่วโลก  

.......ฉนั้น ถ้าเป็นพวกอากาศยานที่สร้างมาทดลอง ทดสอบ ยังไม่ได้รับรอง(ultralight-Experimental)ให้ไปทำการทดสอบการบินในที่ๆปลอดภัยต่อคนอื่นที่ไม่รู้เรื่องด้วย ทำการทดสอบในสถาณการณ์ที่ถูกควบคุมได้ มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่พอเพียงและพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้  จนเมื่อรับรอง(ว่าปลอดภัยต่อสาธารณะชน)เรียบร้อยแล้ว หน่วยงานควบคุมจึงจะจดทะเบียนรับรองให้นำมาใช้บินในที่สาธารณะได้ต่อไป..

......

.......แล้วถ้ายังไม่รับรอง หรือรับรองไม่ได้ เช่นรถมอเตอร์ไซค์ป้อป ล้อเล็ก วิ่งเร็ว ถ้าฉุกเฉินเบรคเต็มที่แล้วจะใช้ระยะทางมากหรือเสียหลักล้มได้โดยง่าย ล่ะครับ แบบนี้ต้องควบคุมแบบไม่ควบคุม กล่าวคือให้วิ่งในหมู่บ้านในซอยเล็กได้ เพราะมีรถที่วิ่งไม่เร็ววิ่งอยู่ พอจะหลบหลีกได้ทัน แบบนี้ไม่ต้องมาจดทะเบียนรับรองนะ แต่ถ้าออกมาวิ่งถนนใหญ่ หรือซอยใหญ่ ถูกจับนะ แบบนี้ไม่ต้องไปจดให้ แต่ใช้การจับแทน แบบนี้ผู้ตรวจทำงานง่าย กำกับดูแลได้ง่ายกว่า การจดทะเบียนให้แล้วไปคอยตรวจว่าขับเร็วหรือไม่เร็วครับ......

...... การไม่ยอมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น ก็เหมือนเนยแข็งแผ่นหนึ่งที่มีรูอยู่ ยังไม่ได้เอาออกจากแถวพร้อมที่จะทำให้ เนยแข็ง(ความเสี่ยง)อันถัดไปเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ได้...นั่นเอง.....เราคุณจะเสียใจครับว่า ทำไมไม่ยอมหลีกเลี่ยงตั้งแต่แรก....การปล่อยไว้ผมว่าเหมือนกับการทิ้งกับดักไว้ตรงทางเดินของสัตว์ที่คุณรู้อยู่แล้วว่าจำเป็นต้องเดินผ่านทางเส้นนี้ตรงนี้  จะต้องติดกับสักวันแน่ๆแบบนี้อันตรายมากต้องหลีกเลี่ยงไม่ปล่อยทิ้งไว้ครับ.....  

...ขอฝากเทคนิคดีดีไว้ให้ผู้ตรวจสอบการทาสีทำเครื่องหมาย ตรวจป้ายจราจร ป้ายแนะนำป้ายเตือน และระบบไฟฟ้าสนามบินให้สังเกตและตระหนักในเรื่องดังต่อไปนี้....

การทำเครื่องหมาย(Marking)

ให้ตรวจสอบว่า สีถูกต้อง รูปแบบอักษร(Font)ถูกต้อง ขนาด ความชัดเจน การหลุดร่อนของเนื้อสี การยึดติดแน่นของเนื้อสี การสะท้อนแสงในเนื้อสี การใส่ลูกปัดแก้ว (Glass Bead Type II ) ที่ใช้เฉพาะด้านการบินถูกต้อง (การทาสีเส้นบนถนนจะใช้ลูกปัดแก้วType I ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงน้อยกว่า) สีของเส้นในตอนกลางคืนไม่ซีดจาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีเหลืองเมื่อใช้ไปนานๆ การตรวจขณะฝนตกนั้นเครื่องหมายสามารถสะท้อนแสงได้ ไม่ถูกผิวน้ำทำให้แสงไฟเบี่ยงเบนไปจากมุมมองทำให้มองไม่เห็นเส้น การทับกันของเส้นต่างๆ เช่นเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจะต้องอยู่ด้านบนหรือทาทับเส้นขอบทางวิ่ง การซีดจางของสีเส้นอันเกิดจากคราบยาง หรือเสื่อมตามเวลา การแก้ไขทันทีโดยไม่ต้องรอการจัดจ้างแก้ไขทั้งหมด โดยทาสีเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง หรือขจัดคราบยางโดยใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เน้นบริเวณจุดแตะพื้น(Touch down zone Area)และเส้นกึ่งกลางทางขับบริเวณก่อนจุดเลี้ยว 60 เมตรและยาวตลอดช่วงเลี้ยวโค้ง จะต้องแก้ไขทันที เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง รอไม่ได้ เนื่ิงจากมีอากาศยานใช้งานตลอดเวลา เป็นต้น

ป้าย(Sign) 

ให้ตรวจความชัดเจน อ่านออกได้ง่าย อ่านได้ทันที ไม่งงไม่สับสนว่าคือเลขอะไร ตัวอักษรอะไร ไฟแสงสว่างเท่ากันทั้งป้ายไหม ไฟบางหลอดในป้ายดับไหม กระพริบไหม ปรับความสว่างได้ไหม สีถูกต้อง ไม่ซีดจาง ตำแหน่งติดตั้งถูกต้อง ฐานคอนกรีตของป้ายมีความชันไม่เกิน ๕% ป้ายมีการใส่คอคอด (Breakable Coupling)ที่ทำจากวัสดุมวลเบาเช่น อลูมิเนียมชุบแข็ง(Diecast Alumenium) ต่ออยู่ระหว่างขายึดป้ายและฐาน สามารถหักล้มพับได้โดยง่าย

 

 

หมายเลขบันทึก: 484152เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2012 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2019 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท