การประเมินาการปฏิบัติ (Performance Assessment): ตอนที่ 3 การแปลงระดับคุณภาพเป็นคะแนน การรวมคะแนนที่ใช้ระดับคุณภาพ


การประเมินาการปฏิบัติ (Performance Assessment): ตอนที่ 3 การแปลงระดับคุณภาพเป็นคะแนน การรวมคะแนนที่ใช้ระดับคุณภาพ

ท่านผู้อ่านที่รัก

ทุกวันนี้ครูทุกท่านคงเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า Rubric กันไม่มากก็น้อย เหตุผลที่รู้จักคำนี้อาจมาจากการต้องเขียนเป็นแบบย้อนกลับบ้าง (backward design) แต่จะมีใครสักกี่คนที่สามารถสร้าง rubric ไว้ใช้ในชั้นเรียนของตน โดยส่วนตัวผมไม่การประเมินแบบ rubric นี้เลย เพราะมันมีความเป็นปรนัยเพียงพอที่จะแยกเด็กเก่งออกจากเด็กอ่อนได้ อย่างไรก็ดีวันนี้ผมจำเป็นต้องเขียนแบบ backward design ก็เลยเปิดหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ rubric ได้เจอบทความที่ดีๆเยอะมาก ผมก็เลยตัดสินใจมานำเสนอเรื่อง rubric เพื่อให้ครูทั้งหลายได้ฝึกฝนการทำและสร้าง rubric ส่วนตัวของตนเอง วันนี้จะนำเสนอเรื่องการแปลงระดับคุณภาพเป็นคะแนนและการรวมคะแนนที่ใช้ระดับคุณภาพ

      6. การรวมคะแนนและแปลงคะแนน

                ปัญหาที่พบในการใช้ rubric ในการประเมินผลงานหรือการปฏิบัติงานก็คือ ครูผู้ใช้ไม่รู้ว่าจะนำคะแนนจาก rubric ที่ได้ไปใช้รายงานผลอย่างไร ในที่นี้ ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ ได้เสนอการแปลงระดับคุณภาพให้เป็นคะแนน และการรวมคะแนนได้ 2 วิธี และอีก 1 วิธี แต่ผมจำได้ไม่ได้ว่าเรียนจากที่ไหน อาจมาจากอาจารย์ที่สอนวิชาวัดผลเบื้องต้นให้ผม ยังไงก็ขอแบ่งปันอีกวิธีหนึ่งด้วยนะครับ ดังนี้

                6.1 ในกรณีที่ผู้ประเมินประเมินงานแต่ละชิ้น หรือโครงการ หรือการปฏิบัติ สมมติว่าในการประเมินโครงการ จะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ และขั้นเสนอผลงาน การวางแผนประกอบด้วย 2 rubric น้ำหนัก 1 ส่วน การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 3 rubric น้ำหนัก 2 ส่วน และการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วย 1 rubric น้ำหนัก 1 ส่วน รวมเป็น 4 ส่วน

 

รายการประเมิน

ระดับที่ได้

ระดับเฉลี่ย

ค่าตามน้ำหนัก

การวางแผน rubric 1

2

(2+3)/2 = 2.5

2.5*1=2.5

การวางแผน rubric 1

3

การปฏิบัติ rubric 3

2

(2+3+4)/3=3.0

3*2=6

การปฏิบัติ rubric 4

3

การปฏิบัติ rubric 5

4

การนำเสนองาน rubric 6

4

4

4*1=4

                สรุปผลการประเมินงานชิ้นนี้/โครงการนี้ =(2.5+6+4)/4=12.5/4=3.12=3

                ในบางกรณีถ้าผู้สอนยังยึดติดกับคะแนนอยู่ ก็สามารถเทียบเป็นระดับคะแนนได้ดังนี้ สมมติว่าคะแนนเต็ม 20 เมื่อแบ่งตามน้ำหนักที่กำหนดไว้ข้างต้นจะได้ดังนี้

รายการประเมิน

ระดับที่ได้

ระดับเฉลี่ย

น้ำหนักคะแนน

คะแนนที่ได้

การวางแผน rubric 1

2

(2+3)/2 = 2.5

1 เทียบเป็น 5

2.5*5=12.5

การวางแผน rubric 1

3

การปฏิบัติ rubric 3

2

(2+3+4)/3=3.0

2 เทียบเป็น 10

3*10=30

การปฏิบัติ rubric 4

3

การปฏิบัติ rubric 5

4

การนำเสนองาน rubric 6

4

4

1 เทียบเป็น 5

4*5=20

                สรุปคะแนนที่ได้ = (12.5+30+20๗/4 = 6235/4 = 15.62 = 16 คะแนน

                6.2 การประเมินผลรวมทั้งวิชาหรือสาระการเรียนรู้ตลอดภาคเรียน/ตลอดปี

                เนื่องจากการประเมินย่อยในแต่ละครั้งอยู่ในรูปของระดับตาม rubric ที่มีระดับเท่ากันหมด การพิจารณาผลการเรียนหรือเกรด ก็ทำได้โดยการเอาน้ำหนักที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามาคูณกับผลการประเมินงานแต่ละชิ้นหรือแต่ละส่วนแล้วหารด้วยจำนวน เทียบเป็นน้ำหนักที่กำหนดไว้ เช่น

                วิชาหนึ่งประกอบด้วยการประเมินผลย่อย 8 ส่วน ประเมินปลายภาค 2 ส่วน มีรายละเอียดดังนี้

                1. การประเมินย่อย (Formative) น้ำหนัก 8 ส่วนประกอบด้วย

                                1.1 การบ้าน น้ำหนัก 2 ส่วน

                                1.2 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง แต่ละครั้งน้ำหนัก 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน

                                1.3 โครงงานกลุ่ม น้ำหนัก 2 ส่วน

                                1.4 แฟ้มสะสมงาน น้ำหนัก 1 ส่วน

                2. การประเมินผลปลายปี (Summative) น้ำหนัก 2 ส่วน

                นักเรียนคนหนึ่งได้รับการประเมินดังนี้

ชนิดการประเมิน

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (ส่วน)

คะแนน

Formative

 

 

 

    -การบ้าน

2

2

2*2=4

    -สอบย่อย 1

3

1

3*1=3

    -สอบย่อย 2

2

1

2*1=2

   -สอบย่อย 3

4

1

4*1=4

   -โครงงานกลุ่ม

3

2

3*2=6

   -แฟ้มสะสมผลงาน

1

1

1*1=1

Summative

2

2

2*2=2

รวม

 

10

24

ระดับคะแนน

24/10=2.4 เกรดในเทอมนี้คือ 2

                6.3 อย่างไรก็ดีในการรวมคะแนนงานเข้าด้วยกันอาจทำได้อีกวิธีหนึ่ง ดังนี้ ครูผู้สอนอาจกำหนดให้น้ำหนักของงานแต่ละชิ้น แล้วตรวจให้คะแนนงานแต่ละชิ้น แล้วนำคะแนนมารวมรวมกันได้ คือ ให้คะแนนแต่ละชิ้นเป็นระดับ เข่น ก=4 ข= 3 ค= 2 ง= 1 จ=0 แล้วรวมคะแนนตามน้ำหนักงานแต่ละงาน แล้วเฉลี่ยด้วยน้ำหนักของงานทั้งหมด ตัวอย่างที่ 1 ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ด.ช. ต้น ทำงานทั้งหมด 3 น น้ำหนักงานเป็น 2,3,1 ด.ช.ต้นทำงานแต่ละชิ้นได้คะแนน ก=4,ค=2,ข=3 รวมน้ำหนักได้ 6 (2+3+1)ระดับคะแนนคูณน้ำหนักที่ได้ 17 (24=8, 32=6. 1*3=3)แต้เฉลี่ยก็คือ 17/6 = 2.83 หรือ 3 คะแนน

งาน

น้ำหนักของงาน

ระดับที่ได้

ระดับคะแนน*น้ำหนัก

ชิ้นที่ 1

2

ก =4

2*4=8

ชิ้นที่ 2

3

ค=2

2*3=6

ชิ้นที่ 3

1

ข=3

1*3=3

รวม

6

 

17

 

คะแนนที่ได้รับ = 17/6 = 2.83 = 3 คะแนน

หนังสืออ้างอิง

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์  (เกณฑ์การให้คะแนน <ออนไลน์> เข้าถึงได้จากhttp://www. watpon.com /Elearning/mea5.htm . วันที่ค้นข้อมูล 29 มี.ค. 2555)

Wikipedia (Rubric <ออนไลน์> เข้าถึงได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Rubric_(academic) วันที่ค้นข้อมูล 29 มี.ค. 2555)

ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์ (http://www.watpon. com/ journal/meaandeva.pdf วันที่ค้นข้อมูล 29 มี.ค. 2555)

Craig A. Mertler(www.learner.org/ workshops/ fl/ resources /s7_rubrics.pdf. วันที่ค้นข้อมูล 29 มี.ค. 2555 )

หมายเลขบันทึก: 484046เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2012 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท