การศึกษาทางไกล


การศึกษาไร้พรมแดน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             ทรงปฏิบัติพระราชกิจนานัปการที่ยังประโยชน์สุขแก่พสกนิกร อเนกอนันต์ นับแต่เสด็จขึ้นครองศิริราชสมบัติต่อเนื่องยาวนานมาถึงทุกวันนี้ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้และจริยธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและชุมชน ทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกระบวนการทางการศึกษา ดังพระราชดำรัส ดังนี้

             “ วัถตุประสงค์ของการศึกษานั้นคืออย่างไร กล่าวโดยรวบยอดก็คือ การทำให้บุคคลมีปัจจัยหรืออุปกรณ์สำหรับชีวิตอย่างครบถ้วยเพียงพอ ทั้งในส่วนวิชาความรู้ ส่วนจิตใจและคุณภาพความประพฤติ ส่วนความขยันอดทนและความสามารถในอันที่จะนำความรู้ความคิดไปใช้ปฏิบัติงานด้วยตนเองให้ได้จริง ๆ เพื่อสามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความสุขความเจริญมั่นคง และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมและบ้านเมืองได้ตามควรแก่ฐานะด้วย... ” (25 มิถุนายน 2523)

              การจัดการการศึกษาสามารถใช้สื่อต่าง ๆ เป็นช่องทางนำความรู้สู่ประชาชนโดยไม่จำกัดวัยคุณวุฒิ รวมทั้งสถานที่และเวลา ดังที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน อันเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะแตกต่างจากสารานุกรมทั่วไป กล่าวคือ มีเนื้อหาสาระวิชาการครบถ้วน ทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งได้แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ระดับ ตามศักยภาพและความสนใจทำให้เยาวชนและผู้ใหญ่ที่สนใจพัฒนาตนเอง ใฝ่รู้วิชาการ มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้อย่างเหมาะสมตามพื้นฐานและความสามารถของแต่ละคน

               ในปัจจุบัน วิทยาการและเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมสื่อสารเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยด้านการสื่อสารผ่านระบบโทรคมนาคม ทรงมีแนวพระราชดำริที่จะให้ประชาชนได้รับความรู้อย่างกว้างขวางจึงทรงก่อตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสาระบันเทิงแก่ประชาชน ในปี 2539 นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ได้น้อมรับพระราชดำรินำเทคโนโลยีโทรคมนาคมสื่อสารมาใช้จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและบริษัทกลุ่มชินวัตร ถ่ายทอดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาผ่านดาวเทียมออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ UBC จากศูนย์กลางโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปทั่วประเทศไทย นับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมที่ยังประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในทุกพื้นที่ในช่วงที่กระทรวงศึกษาธิการยังขาดแคลนครูผู้สอน เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อผลกระทบอันกว้างไกลต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติยากที่จะแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนชนบทห่างไกล อาทิ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนในพื้นที่กันดารชายแดน พระราชดำริดังกล่าวจึงเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ที่พระราชทานแก่เยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะร่วมกันเป็นเฟืองจักรพัฒนาประเทศในอนาคต ให้มีวิชาความรู้ด้วยความเสมอภาค ไม่ด้อยกว่าโรงเรียนในส่วนกลางที่อยู่ ณ ศูนย์กลางความเจริญของบ้านเมือง

                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อเป็นฐานในการก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล-อดุลยเดชได้ทรงนำพระนามทรงกรมของรัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงพระสกุลยศและพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา มาปรับเล็กน้อยเป็น “สุโขทัยธรรมาธิราช” แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยเปิด ที่ดำเนินการสอนในระบบทางไกลครบถ้วนเต็มรูปแบบทุกด้านเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อให้โอกาสที่เท่าเทียมกันทางการศึกษาแก่ทุกกลุ่มชนทุกถิ่นที่ ทั้งเขาสูง ทะเลกว้าง แดนกันดาร เป็นประชาธิปไตยทางการศึกษาแก่ปวงชนที่เป็นพื้นฐานในการก่อเกื้อคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นสุขสอดคล้องกับ “ อรุณรุ่งแห่งความสุข ” หรือ “ สุโขทัย ” อันเป็นนามของราชธานีไทยที่ก่อตั้งเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18

                 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกลด้วยปณิธานความเสมอภาค การขยายโอกาส และการเพิ่มพูนศักยภาพทางการศึกษาแก่คนไทยให้มีวิทยาวุธที่จะใช้เป็นประโยชน์ในการประกอบงานอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในลักษณะการศึกษาตลอดชีวิตบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย และยังเป็นการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการขยายโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการทดลองให้บริการการศึกษาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เป็นสื่อเสริมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น นอกเหนือจากการพัฒนาจัดการด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อการเรียนอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้จัดให้แก่นักศึกษาตั้งแต่เริ่มดำเนินการสอน ด้วยระบบการศึกษาทางไกลในเดือนธันวาคม พ.ศ.2523

                  การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมที่จัดขึ้นนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล ด้วยหลักการและเหตุผลที่ต่างก็เป็นสถาบันที่มุ่งมั่นสนับสนุนการศึกษาของชาติ ทั้งยังมีปณิธานที่สอดคล้องกันในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตผ่านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งร่วมกันพัฒนาการศึกษาในระบบ ด้วยความร่วมมือร่วมแรงในการจัดการศึกษาที่ก่อเกิดขึ้นนี้ จึงนับว่าเป็นการสนองพระราชดำริเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ทั้งยังเป็นการร่วมบูรณาการใช้ทรัพยากรและศักยภาพการจัดการศึกษาทางไกลที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราโชบายเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินงานที่ดียิ่ง ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วิถีการคิด การทำงานร่วมกัน และการดำรงชีวิต โครงการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันนี้มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาสื่อการสอนทางไกล ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่มีคุณภาพมีประสิทธิผลดี เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลที่จะเอื้ออำนวยโอกาสที่เท่าเทียมกันทางการศึกษาแก่ปวงชนโดยไม่มีอุปสรรคในด้านมิติแห่งเวลา สถานที่ เพศ อายุ เชื้อชาติ ชนชั้น และศาสนา สอดคล้องกับอุดมการณ์สากล “ การศึกษาเพื่อทุกคน ” หรือ “Education for All” ของสหประชาชาติ

                   ในการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมใช้ช่องสัญญาณผ่านดาวเทียมช่อง 12 ของมูลนิธิฯ และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและบริการสังคมได้ด้วย มหาวิทยาลัยจึงดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการนำร่องขึ้น 2 ระยะ และทดลองแพร่ภาพออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2543 โครงการระยะแรกเป็นรายการบริการสังคมจำนวน 900 รายการ ในระยะที่ 2 ดำเนินการออกอากาศ ถ่ายทอดรายการวิทยุโทรทัศน์จากศูนย์ผลิตรายการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 2 , 160 รายการ และรายการสอนเสริมทางไกลผ่านดาวเทียม 30 ชุดวิชา จำนวน 90 รายการ

                   การศึกษาเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นแนวทางการพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในทุกยุคทุกสมัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.2521 ได้จัดการศึกษาในระบบทางไกลเป็นพันธกิจในการพัฒนาคน และส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของคนไทยมาตลอด 24 ปี ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นมิย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ เมื่อมีโครงการความร่วมมือพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมระหว่างมหาวิทยาลัยและมูลนิธิฯ นอกจากทั้งสองสถาบันจะได้จัดการด้านการศึกษาสนองพระราชดำริและตามแนวทางทางการปฏิรูปการศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังมีโอกาสพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับอุดมศึกษาตามแนวพระราชดำริได้กว้างขวางหลากหลายขึ้น ยังความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ พ้นพรรณนา ทั้งต่อมหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชนที่ได้รับประโยชน์สุขที่ปกแผ่นมานี้ทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นและมีช่องทางที่หลากหลายขึ้นด้วย ในปี 2545 นี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีโครงการที่จะเริ่มจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะหรือ TOT Online ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 24 ปี และมีความมุ่งมั่นที่จะประกอบภารกิจด้านการศึกษาด้วยความวิริยะยิ่ง เพื่อประโยชน์ของประชาชน ก้าวไกลไปสู่อนาคตพร้อมกับการพัฒนาประเทศในกระแสโลกาภิวัตน์ของสังคมโลกไร้พรมแดน

                  

 

             

 

การศึกษาทางไกล

ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษาไร้พรมแดน

การศึกษาทางไกล คือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อ โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันเป็นประจำ แต่ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาวิชา ความรู้ และประสบการณ์ไปทางสื่อ ซึ่งอาจจะเป็น สื่อหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, เทปเสียง, วีดีทัศน์, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบริหารการเรียนเอง และสามารถมีการพบปะกับอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนตามโอกาส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวน และซักถามประเด็นปัญหาในสิ่งที่เรียน หรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การศึกษาทางไกล เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันก็คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) โดยเฉพาะการมีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบ Personal Computer โดยเริ่มมีการนำ PC มาใช้กับการศึกษาทางไกลประมาณปี 1982 และด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ก็ยิ่งทำให้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นเป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่างๆสามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนและรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไปการศึกษาไร้พรมแดนมี 3 ระบบ คือ

1. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์

2. ระบบเนื้อหาและระบบหลักสูตร

3. ระบบสื่อ1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาพ เสียง ตัวอักษรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ

- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน

- เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

- เพื่อใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

1.2 ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล

เสียง ภาพ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เป็นวิธีการนำสื่อทางไกลทั้งภาพ และเสียง คือ การนำ เอาวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์มาใช้ในการให้การศึกษากับประชาชน ด้วยการจัดให้ผู้สอนสามารถมีการส่งสัญญาณสื่อสารกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุ จากสถานีแม่ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ไปยังผู้เรียนที่รอรับสัญญาณอยู่ที่สถานีลูกหลายแห่งได้ ซึ่งในสถีลูกแต่ละแห่งก็มีการจัดการชั้นเรีย1.3 เครือข่ายอินเตอร์เนต

เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นระเครือข่ายเพื่อรับและส่งข้อมูล ให้กับสมาชิก โดยรวบรวมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายข้อมูลมากว่า 70,000 เครือข่าย ใน 152 ประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนเครือข่ายและสมาชิกผู้ซื้อบริการเครือข่ายเพื่มขึ้นเรื่อย และในปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เนตแล้ว ทั้งในลักษณะของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญรุดหน้าพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งขึ้น

อินเตอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร

รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANETของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลกดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะอินเตอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?

เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น

1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก

2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น

3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี

4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น

5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ

6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

1..4 ระบบเครือข่ายใยนำแสง ระบบสื่อตามประสงค์ VOD

2. ระบบหลักสูตร

2.1 มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว

2.2 เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆได้

3. ระบบสื่อในระบบสื่อนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อจากยังผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพการใช้สื่อ ประกอบด้วย สื่อหลักและสื่อเสริมสื่อหลัก ได้แก่

1.การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ stand alone CBIได้แก่ สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ คู่มือการเรียนการที่ผู้สอนพบกับผู้เรียนเป็นครั้งคราวการเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการ assignment

2.การสอนด้วยระบบการประชุมทางไกลสื่อเสริม สิ่งพิมพ์ วีดีโออนดิมานด์3.การสอนด้วยระบบเครือข่าย WWW (WBI)สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ โน๊ตย่อ การประชุมทางไกลหลักการเลือกใช้สื่อชนิดต่างๆ

- ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท

- แสดงผลการสอนผ่านจอภาพ

- เหมาะสมกับเวลาและสถานที่

 

หมายเลขบันทึก: 48387เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เนื้อหาสาระดี ควรค้นคว้าเพิ่มเติมจาก เว็บของสถาบันการศึกษาทางไกลหรือ DIE ดูก็จะมีเนื้อหาอีกเยอะเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท