มาตรฐานการศึกษา


การศึกษาไทย

มาตรฐานการศึกษาของชาติ

 

Üความจำเป็นที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ                       

     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 มาตรา 31 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา มาตรา 33 กำหนดให้สภาการศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ และพิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และ/หรือหลักสูตรแต่ละระดับ ที่สอดคล้องกับความต้องการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ          มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นสาระเกี่ยวกับอุดมการณ์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของชาติที่พึงประสงค์ มีไว้เป็นหลักสำหรับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา นำไปใช้กำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการศึกษา เพื่อประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพและตรงตามความต้องการ อย่างคุ้มค่า เสมอภาคและเป็นธรรม           ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีแต่มาตรฐานสำหรับการประเมินณภาพภายนอกของสถาบันการศึกษาทุกระดับ จำเป็นต้องมีมาตรฐานการศึกษาของชาติที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาทุกประเภท (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย) และทุกระดับ (การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษ

Üประโยชน์ที่จะได้รับจากการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีดังนี้        

  1. หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และเอกชน ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาแต่ละประเภทและแต่ละระดับ ใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นหลักในการกำหนดนโยบาย แผนการพัฒนาและจัดการศึกษา รวมทั้งมาตรฐานการศึกษาแต่ละประเภทและแต่ละระดับ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอย่างมีมาตรฐานในภาพรวม และมีการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล           

2. กระทรวงศึกษาธิการมีประเด็นสาระสำคัญ และตัวบ่งชี้ เป็นแนวทางสำหรับการกำกับดูแล การติดตามตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา       

   3. ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีความมั่นใจว่าจะได้รับการศึกษาตามสิทธิ และมีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาตรฐานการศึกษาของชาติ และมีแนวทางในการร่วมตรวจสอบการจัดการศึกษาของชาติ      

    4. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีข้อมูลเป็นฐานอย่างหนึ่งในการพิจารณากำหนดเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาของชาติในช่วงเวลาต่อไป      

    5. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีข้อมูลเป็นฐานสำหรับการกำหนดวิธีการ การกำหนดเกณฑ์ และการดำเนินงานการประเมินคุณภาพสถานศึกษา

Üวัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของ
          2.1 เป็นเป้าหมาย และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติระดับมหภาค ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญที่การพัฒนาผู้เรียน
          2.2 เป็นหลักและเป็นแนวทาง สำหรับการกำหนดนโยบาย แผนการพัฒนาและจัดการศึกษา รวมทั้งมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          2.3 เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติในช่วงเวลาต่อไป
          2.4 เป็นเครื่องมือกำกับการตรวจราชการ การนิเทศ การติดตามและประเมินผล และการประกันคุณภาพ เพื่อให้ทราบสถานภาพและความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาของชาติระดับมหภาค
          2.5 เป็นมาตรฐานสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

Üสาระของมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ          สภาการศึกษาพิจารณากำหนดกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ จากข้อมูลสารสนเทศต่อไปนี้ คือ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษา ตามสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 หมวด 5 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 วิสัยทัศน์/ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของไทย คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ สภาพแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก ความคิดเห็นของนักวิชาการและประชาชน และมาตรฐานการศึกษาของชาติของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาต่อยอดและประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย
    มาตรฐานการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประเด็น
          3.1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ
          3.2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
          3.3 การจัดการศึกษา
          3.4 แนวนำสู่การปฏิบัติ

Üแนวทางการใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติ          เนื่องจากมาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นเรื่องใหม่ ที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรก สภาการศึกษาจึงวางแนวทางการใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติ ดังนี้
          4.1 มาตรฐานการศึกษาของชาติฉบับนี้ กำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การศึกษาในระดับมหภาคช่วงระยะเวลา 5 ปี ซึ่งสอดคล้องตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2548-2553
          4.2 สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีความประสงค์ให้ส่วนราชการทุกกระทรวง กรม สำนัก สถานศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้ใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีความประสงค์ให้ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกระดับ ได้ใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบว่าตนได้รับการศึกษาเต็มตามสิทธิของตน
          4.3 มาตรฐานการศึกษาของชาติฉบับนี้ เป็นมาตรฐานหลักโดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ จึงมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่หน่วยปฏิบัติแต่ละหน่วยสามารถกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่มีลักษณะเฉพาะ สอดคล้องกับสภาพความพร้อม และช่วงเวลาได้

มาตรฐานที่ 1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อทุกคน และทุกคนเพื่อการศึกษา

          การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมที่บูรณาการอย่างสมดุลระหว่าง ปัญญาธรรม คุณธรรมและวัฒนธรรม เพื่อคนไทยทุกคน โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีคุณค่า เต็มตามศักยภาพ ตรงตามความต้องการ แต่ต้นทุนต่ำ รัฐสนับสนุนการจัดการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในวัยเรียน และพัฒนาทรัพยากรบุคคลวัยทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้สังคมมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตและสังคม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติจริง

ตัวบ่งชี้
1. อุดมการณ์
          - ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดและรับการศึกษาเข้าใจและถือปฏิบัติตามแนวการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม
2. การศึกษาเต็มตามสิทธิ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
          - คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึง
          - คนไทยส่วนใหญ่รู้ ใช้สิทธิ และได้รับสิทธิในการศึกษาทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
3. หลักการจัดการศึกษาในภาพรวม
          - การจัดการศึกษาทุกระบบ (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย) มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล และสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกัน
          - ขอบข่ายและปริมาณความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กร และชุมชน เพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งในด้านการจัด การกำกับ สนับสนุน และการตรวจสอบผลการจัดการศึกษา
          - ผลการจัดอันดับคุณภาพระบบการศึกษาของไทย ไม่ด้อยกว่าประเทศที่มีงบประมาณทางการศึกษาใกล้เคียงกัน และอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

 มาตรฐานที่ 2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก
คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
           เป้าหมายของการจัดการศึกษา อยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น "คนเก่ง คนดี และมีความสุข" โดยมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับช่วงวัย เต็มตามศักยภาพ และตรงตามความต้องการ ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ปัญญา ความรู้และทักษะ คุณธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์
          คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ประกอบด้วยเบญจคุณ หรือ คุณ 5 ประการ
          1. คุณลักษณ์ มีรูปลักษณ์ (สุขภาพ บุคลิกภาพ) กิจลักษณ์ (พฤติกรรม ทักษะความสามารถ) ดี
          2. คุณค่า มีประสบการณ์จากการเรียนรู้ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการพัฒนาชีวิต
          3. คุณประโยชน์ มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ร่วมสร้างและให้สิ่งดีแก่สังคม
          4. คุณภาพ มีชีวิตร่มเย็นเป็นสุข พออยู่พอกิน เป็นสมาชิกครอบครัว พลเมืองและพลโลก ที่ดี
          5. คุณธรรม มีความดี เข้าถึงความงามและความจริง ดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
          เบญจคุณ อันเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยดังกล่าว จักเกิดขึ้นได้ด้วยการจัดการเรียนรู้ของครู และวิถีการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม "พรพระราชทาน 3 ประการ คือ ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์ " (จาก...การวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย เพื่อตอบคำถามว่า "เราจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้อะไร?" จากข้อมูลหลายแหล่ง และการบูรณาการตามแนวพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องพระมหาชนก (สุมน อมรวิวัฒน์, 2546) ดังนี้
          1. ความเพียรที่บริสุทธิ์ (pure perseverance) ประกอบด้วย
                    1) ความสามารถ (performance and skills) เป็นผู้รัก ใส่ใจในหน้าที่การงาน มีทักษะทางภาษา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงาน ทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการค้นคว้าทดลองพิสูจน์เหตุผล ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการจัดการ
                    2) คุณธรรมและจิตสำนึก (morality and conscience) มีคุณธรรมในการกระทำ ด้านความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูรู้คุณ ความไม่เห็นแก่ตัว ความปราถนาดีเอื้อเฟื้อต่อกัน ความจริงใจ และความขยันหมั่นเพียร และมีจิตสำนึกในการกระทำ ด้านจิตสำนึกความรับผิดชอบ จิตสำนึกในคุณค่าของตนและผู้อื่น จิตสำนึกความเป็นไทย จิตสำนึกประชาธิปไตย
          2. ปัญญาที่เฉียบแหลม ประกอบด้วย
                    3) ความฉลาดรู้ (knowledge and wisdom) เป็นผู้รู้จริง รู้ครบถ้วน รู้เหตผล รู้เท่าทัน รู้เชื่อมโยงความเป็นไทยกับสากล รู้จักตนเอง รู้จักสังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รู้วิธีทำมาหากิน และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต
                    4) สติปัญญาและความคิด (intelligence and thinking) จิตและสมองมีการทำงานเกิดการรับรู้ จดจำ และการคิดอย่างถูกต้องแยบคาย สามารถคิดวิเคราะห์วิจารณ์ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์ คิดต่อเนื่องเชื่อมโยง คิดสุจริต คิดมีเหตุผล คิดเป็นระบบ คิดเร็ว คิดคล่อง คิดละเอียด คิดมีจินตนาการ สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารแก่ผู้อื่นได้
          3. กำลังกายที่สมบูรณ์ (completely physical health) ประกอบด้วย
                    5) มีสุขภาพกายและจิต (physical, mental and spiritual health) รวมทั้งสุขภาวะ (well being) ทางกายและจิต มีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค มีภูมิคุ้มกัน ภาวะโภชนาการดี บริหารกาย เล่นกีฬา ท่าทางคล่องแคล่วร่าเริง และมีสภาพจิตใจที่แจ่มใส ไม่เครียด มีสุขภาพจิตดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีสุนทรียภาพ มีทักษะทางดนตรี ศิลปะ และใช้เวลาว่างอย่างเกิดประโยชน์

ตัวบ่งชี้
1. กำลังกายกำลังใจที่สมบูรณ์
          -คนไทยส่วนใหญ่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและสติปัญญา และด้านจิตใจ เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย
2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคม
          -คนไทยส่วนใหญ่ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
          -คนไทยส่วนใหญ่มีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม
          -ชุมชนหรือสังคมส่วนใหญ่มีการใช้หรือสร้างภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
3. ทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว
          -คนไทยส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลก และปรับตัวได้
4. ทักษะทางสังคม
          -คนไทยส่วนใหญ่มีทักษะและความสามารถ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
5. คุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
          -คนไทยส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต

มาตรฐานที่ 3 การจัดการศึกษา
          การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน และการบริหารที่เน้นสถานศึกษาเป็นสำคัญ

          การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิด และได้เรียนจากประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ได้เรียนตรงตามความสนใจ และมีความสุขในการเรียน ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคล ครูเตรียมการสอนและสื่อที่ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย ครูจัดบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และการพัฒนาความคิดผู้เรียนเป็นระบบที่สร้างสรรค์) ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านการบริหาร ดังต่อไปนี้
          3.1 ปัจจัยด้านบุคคล ผู้เรียนได้รับการเตรียมให้มีความพร้อมที่จะเรียน ครูเป็นปูชนียบุคคล และเป็นกัลยาณมิตร อุทิศตนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสังคม ผู้บริหารเป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญ ผู้จัดการที่ถ่อมตน และปูชนียบุคคล ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชนมีสำนึก ใส่ใจ และเต็มใจให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมตรวจสอบในการพัฒนาผู้เรียน และการจัดการศึกษา
          3.2 ปัจจัยด้านการบริหาร การบริหารจัดการทั้งในระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีเอกภาพด้านนโยบาย แต่หลากหลายในการปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจลงสู่ระดับสถานศึกษา โดยใช้หลักการบริหารจัดการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นธรรม (good governance) ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 7 ประการ คือ หลักประสิทธิภาพ หลักความคุ้มค่า หลักประสิทธิผล หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักคุณภาพ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักนิติรัฐ/นิติธรรม
          ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน และการบริหารที่เน้นสถานศึกษาเป็นสำคัญ อยู่ที่ผลการดำเนินงานระดับชาติ รัฐดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา การเพิ่มช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเอง แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและด้านงบประมาณ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กำกับติดตามให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระดับกระทรวงและเขตพื้นที่การศึกษา มีการติดตามกำกับ สนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ มีแผนพัฒนาหน่วยงาน มีจำนวนผู้เรียนเข้าเรียนครบตามเกณฑ์ มีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกตามเกณฑ์ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี บรรยากาศร่มรื่น มีสภาพเป็นองค์กรการเรียนรู้ที่ปลอดภัย มีความก้าวหน้าล้ำสมัย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และระดับสถานศึกษา มีหลักสูตรแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับท้องถิ่น มีการบริหารวิชาการที่สนับสนุนให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยผู้เรียน มีระบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ มีระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีระบบบริหารการเงินงบประมาณที่โปร่งใสตรวจสอบได้ และมีระบบประกันคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้
1. ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
          - ผู้เรียนทุกกลุ่ม สำนึกคุณค่าการเรียนรู้ สนใจใฝ่เรียนรู้ มีความสุขในการเรียนรู้ และได้เรียนรู้ตรงตามความต้องการของตนเองและชุมชน อย่างเต็มตามศักยภาพ
          - ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ มีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง
          - หน่วยงานที่ให้บริการทางการศึกษามีคุณภาพติดอันดับคุณภาพตามเกณฑ์ระดับนานาชาติ มีสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ และความปลอดภัยตามเกณฑ์
          - มีการพัฒนาสื่อและการให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศทุกรูปแบบเพิ่มขึ้น ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนไทยทุกคน
2. ผลการบริหารที่สถานศึกษาเป็นสำคัญ
          - ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชนส่วนใหญ่มีความเต็มใจ ตั้งใจ มีส่วนร่วมปฏิบัติหน้าที่ของตน ส่งผลให้ผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการการศึกษา
          - ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่ให้บริการการศึกษา ส่วนใหญ่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
          - มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา และหน่วยงาน ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย


มาตรฐานที่ 4 แนวนำสู่การปฏิบัติ
          การสร้างวิถีการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ให้เข้มแข็ง และการใช้มาตรฐานการศึกษา
          เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาบรรลุผลตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ควรต้องมีแนวนำสู่การปฏิบัติ 3 ประการ ดังนี้          4.1 การสร้างวิถีการเรียนรู้ของคนไทยให้เข้มแข็งในด้านต่อไปนี้ การสร้างสำนึก ให้คนไทยเห็นคุณค่าของการศึกษา โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสร้างโอกาสการเรียนรู้ โดยการจัดสรรแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสร้างลักษณะชีวิต โดยการวางรากฐานนิสัยตั้งแต่เด็กให้รักการอ่าน รักการค้นคว้า ส่งเสริมให้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ การสร้างกำไร ให้คนไทยสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปทำประโยชน์ต่อชีวิต และสังคมได้          4.2 การสร้างความเข้มแข็งให้แหล่งเรียนรู้และกลไกการเรียนรู้ ในระบบครอบครัว ชุมชน กลุ่มเพื่อนร่วมวัย องค์กร/สถาบันทางศาสนา แหล่งอาชีพ สื่อมวลชน องค์กรความรู้ในสังคม ระบบสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากการวิจัยปฏิบัติการเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ใหม่ เป็นเครื่องมือสืบทอดและผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย และเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพของครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา องค์กรและสังคม           4.3 กระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นผู้นำในการใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติ จัดลำดับความสำคัญ ติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน สื่อสารและเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องรู้และเข้าใจบทบาทของมาตรฐารการศึกษา วางระบบการจัดทำมาตรฐานการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน พัฒนากลไกที่จะช่วยพัฒนาให้กิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดมีมาตรฐานตามที่กำหนด

ตัวบ่งชี้
          - มีการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวิถีการเรียนรู้ของคนไทยทุกวิถีทาง
          - มีการวิจัยศึกษาสร้างเสริม และมีการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท
          - มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่เชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาสังคม และเหมาะสมทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
          - มีการจัดตั้ง และกำกับการดำเนินงาน ขององค์กรที่รับผิดชอบประสานงานระหว่างองค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษาทั้งหมด เพื่อพัฒนาปรับปรุง ติดตามกำกับ และประเมินมาตรฐานการศึกษาของชาติ

          สำหรับคนไทยแล้วการที่ได้ศึกษามาตราฐานการศึกษาของชาติเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้ว การที่ครูได้ศึกษาและมีความเข้าใจในมาตราฐานการศึกษาอย่างท่องแท้จะช่วยให้ครูนั้นได้พัฒนาให้เด็กได้มีศักยภาพ มีประสิทภาพ เต็มความสามารถของตนเพื่อที่จะได้ใช้ความรู้ไปพัฒนา ตนเอง ประเทศชาติของเราต่อไปในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 48384เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท