บทเรียนจากตักกสิลา(และมูซาชิ)


สมัยก่อนใครไปเรียนที่ตักสิลา (Taxilla) เป็นสำนักเรียนใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน อาจารย์ที่ตักสิลาจะถามก่อนว่า ใครไปเรียนที่ไหนมาก่อนหรือไม่

                                 

  • ผู้เขียนมีโอกาสเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดท่ามะโอในระหว่างวันที่ 23-29 สิงหาคม 2549 อาคารฝึกอบรมในวัดดูหรูหรามาก ชั้นบนเป็นห้องโถงกว้าง พื้นไม้ปาเก้อย่างดี

เวลาอากาศร้อน เช่น ตอนบ่าย ฯลฯ มีการปิดหน้าต่างกระจก เปิดแอร์ เวลาอากาศเย็นหน่อย เช่น ตอนเช้า ฯลฯ จะเปิดหน้าต่างบานใหญ่จากพื้นจรดเพดานรับลม

                                                   

  • ใครจะสมาทานศีลห้า หรือศีลแปดก็ได้ มีอาหาร น้ำเย็น น้ำอุ่นพร้อม แถมยังมีตู้เย็นทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ภายในมีน้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง นมไขมันต่ำหรือนมไม่มีไขมัน โอวัลติน บรรจุกล่องพร้อมดื่ม (UHT)

ชั้นล่างมีห้องพัก 12 ห้อง ภายในห้องมีพัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำร้อน กาต้มน้ำพร้อม หน้าห้องมีป้ายจารึกชื่อผู้บริจาคห้องละ 100,000 บาท

                                         

  • ห้องอื่นจำไม่ได้ว่า ชื่ออะไร ทว่า... ห้องหมายเลข 1 เป็นห้องคุณธงไชย แมคอินไตยและครอบครัว คนดังเสียด้วย

ห้องโถงด้านหน้าอาคารเป็นห้องรับประทานอาหาร มีป้ายจารึกชื่อผู้บริจาครายละหลายแสนบาท

                                          

  • ท่านที่จำได้ทันทีคือ ท่านอาจารย์นายแพทย์เฉลิม เย็นจิตร และท่านอาจารย์แพทย์หญิงวัฒนีย์ เย็นจิตร เพราะท่านเป็นผู้มีพระคุณมาแต่ครั้งผู้เขียนทำงานที่โรงพยาบาลลำปาง

ก่อนเรียน... ครูบาอาจารย์ท่านให้ตอบแบบสอบถามก่อนว่า ไปเรียนอะไรที่ไหนมาบ้าง

                                                         

  • ผู้เขียนตอบคร่าวๆ ว่า ไปเรียนมาหลายที่ ที่ไม่ได้ตอบคือ สอบได้ที่สุดท้าย(ที่โหล่)มาหลายที่ และสอบตกมาหลายครั้งทีเดียว

ตัวอย่างประวัติสอบได้ที่โหล่ เช่น สอบศิลปะสมัยประถมศึกษาได้ที่โหล่ 3 ครั้ง สอบภาษาฝรั่งเศสได้ที่โหล่ 1 ครั้ง ฯลฯ เร็วๆ นี้ก็เพิ่งสอบได้ที่โหล่ที่วัดท่ามะโอนี่เอง

                                                    

  • ส่วนประวัติสอบตกที่พบหลายครั้งได้แก่ เรียนต่อ มสธ.(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)นี่ตกหลายครั้ง สอบซ่อมหลายครั้ง เรียนไม่จบมาหลายคณะ

เรื่องสอบนี่... บางครั้งผู้เขียนปลอบใจตัวเอง โดยใช้คตินิยมของนักเรียนเกษตรหลายท่านที่ว่า สอบได้เป็นเรื่องตลก สอบตกเป็นเรื่องธรรมดา

                                                    

  • วิธีคิดแบบนี้ดูจะเป็นวิธีคิดแบบที่ฝรั่งเรียกว่า องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน (sour grape, sweet lime)” คือ มองความดีของคนอื่นเป็นของไม่ดี มองความด้อยของตัวเองเป็นของดี นับเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่

ท่านพระคันธสาราภิวงศ์(สมลักษณ์)ให้โอวาทว่า สมัยก่อนใครไปเรียนที่ตักสิลา (Taxilla) เป็นสำนักเรียนใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน อาจารย์ที่ตักสิลาจะถามก่อนว่า ใครไปเรียนที่ไหนมาก่อนหรือไม่

                                                  

  • ใครตอบว่า ไม่ได้เรียนที่ไหนมาก่อน อาจารย์จะเก็บค่าเล่าเรียนถูกหน่อย ใครตอบว่า ไปเรียนที่อื่นมาก่อน อาจารย์จะเก็บค่าเล่าเรียนแพงหน่อย

สมัยก่อนการเรียนใช้ความชำนาญ (skill) เป็นหลัก เช่น การยิงธนู ฯลฯ ใครไปเรียนมาหลายสำนักจะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพง เพราะต้องฝึกของใหม่ด้วย ฝึกเลิกนิสัย หรือท่าทางไม่ดีแบบเดิมด้วย

                                                  

  • ตัวอย่าง เช่น ต้องเลิกท่ายิงธนูที่ผิด และฝึกท่ายิงธนูที่ถูกเสียใหม่ ฯลฯ คนที่เรียนมาหลายสำนักจึงต้องเสียค่าเล่าเรียนแพง

ส่วนคนที่ไม่เคยไปเรียนที่อื่น... อาจารย์ตักสิลาจะคิดค่าเล่าเรียนถูกหน่อย เพราะฝึกชั้นเดียวคือ ฝึกของใหม่ ไม่ต้องไปแก้ไข หรือยกเลิกท่าทางยิงธนูแบบเก่า

                                                   

  • ท่านอาจารย์สมลักษณ์บอกว่า ผู้เขียนมีอะไรที่ต้อง “delete (ลบทิ้ง ละเลิกของเก่า) เยอะ นับเป็นนักเรียนประเภทค่าเล่าเรียนแพง

เรื่องตักสิลาทำให้ผู้เขียนคิดถึงมูซาชิได้ มูซาชิเป็นซามูไรที่มีชื่อเสียง กล่าวกันว่า ประดาบมาแล้วประมาณ 100 ครั้ง

                                        

  • การประดาบของซามูไรมักจะมีชีวิตเป็นเดิมพัน ถ้ามองในสายตาของคนญี่ปุ่น... มูซาชิคงจะเป็นซามูไรที่เก่งมาก เป็นวีรบุรุษ

ถ้ามองผ่านการพิจารณาเรื่องกรรมและผลของกรรม... มูซาชิน่าสงสารมาก เพราะทำบาปมามาก ไม่รู้จะถูกตัดหัว ตัดลำตัว ตัดแขน ตัดขาไปอีกกี่ชาติ

                                       

  • มูซาชิเขียนหนังสือเรื่อง คัมภีร์แห่งห่วงทั้งห้า (circles of the five rings)” ว่าด้วยการประดาบ มีเรื่องหนึ่งที่ให้มุมมองต่างออกไปจากอาจารย์ตักสิลา

มูซาชิบอกว่า ไม่ควรอยู่ในสำนักใดสำนักหนึ่งนานเกินไป ควรหาทางไปเรียนในสำนักอื่นบ้าง...

                                      

  • แนวคิดนี้น่าจะใช้ได้กับการศึกษา และการผลิตสมัยใหม่ ซึ่งใช้ความชำนาญ (skill) น้อยลง ทว่า... อาศัยความรู้ (knowledge) ข้อมูลข่าวสาร (data & information) มากขึ้น

การอยู่ในสำนักใดสำนักหนึ่งนานเกินไปอาจทำให้ความคิดอ่านวนเวียนอยู่ในรูปแบบเดิม สำนวนไทยท่านว่า พายเรือในอ่าง หรือ กบในกะลา อะไรทำนองนั้น

                                      

  • การไปเรียนต่างสำนักมีส่วนทำให้มุมมองเปลี่ยนไป วิสัยทัศน์เปลี่ยนไป (paradigm shift) เป็นโอกาสให้คิดค้นอะไรใหม่ๆ ได้

ถ้าเปรียบจะคล้ายการพายเรือออกนอกอ่าง กบออกนอกกะลาอะไรทำนองนี้

                                      

  • เรื่องตักสิลากับมูซาชินี้... ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะต้องมาตัดสินว่า ใครถูกใครผิด ทว่า... ขึ้นกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์บางอย่างควรใช้วิธีแบบตักสิลา สถานการณ์บางอย่างควรใช้วิธีแบบมูซาชิ

  • ท่านพระอาจารย์สมลักษณ์แนะนำว่า วิธีการที่ไม่ควรใช้เลยคือ การเรียนรู้อะไรครึ่งๆ กลางๆ จากสำนักโน้นสำนักนี้ นำมาผสมกัน

                                        <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">เพราะนั่นอาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ประเภทกบหลายกะลา พายเรือหลายอ่าง หรือจับปลาสองมือ ที่อาจจะไม่ได้ดีเลยสักอย่าง…</p><p>แหล่งข้อมูล:                            </p><ul>

  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระคันธสาราภิวงศ์(สมลักษณ์) วัดท่ามะโอ. ให้โอวาทนักเรียนวัดท่ามะโอ. ๒๓-๒๙ สิงหาคม ๔๙.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๕ กันยายน ๒๕๔๙
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้าได้ครับ... 
  • </ul><p>เชิญอ่าน & ดาวน์โหลดที่นี่:        </p><ul>

  • อ่านบ้านสุขภาพ >>> http://gotoknow.org/blog/health2you 
  • อ่านบ้านสาระ >>> http://gotoknow.org/blog/talk2u 
  •  Download แฟ้ม PDF >>> www.lampangcancer.com
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 48364เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)
    •  ทว่าง.. อาศัย ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ผิดไหมครับ
    • คงต้องเรียนให้รู้กระจ่างแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรให้เชี่ยวชาญด้วยครับ
    • ชอบการเรียนแบบบูรณาการครับ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
    • ขอบคุณมากครับผม

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • คำ "ทว่าง" พิมพ์ผิดครับ > แก้ไขแล้ว
    • ขอขอบพระคุณที่ทักท้วงไป
    • การเรียนที่ดีน่าจะเรียนให้ "ลึก+เชื่อมโยง" อย่างที่อาจารย์แนะนำครับ
    • อยากให้หาดใหญ่มีสำนักปฏิบัติธรรมอย่างนี้มั่งจังครับ
    • จะพาลูกไปทุกอาทิตย์
    • ของกินไม่ต้องก็ได้ครับ
    • แค่มีสถานที่ และ อาจารย์ ก็คงพอครับ
    • อาจารย์หมอวัลลภคงทำบุญมามากว่าผม จึงมีสถานที่ดีๆ อยู่ใกล้ๆ (กว่าผม)

    ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขออภัยที่ตอบช้ามาก...
    • เข้าใจว่า Go2know มีระบบ "ศูนย์รวมข้อมูล" ไว้ 5 ลำดับ ช่วงไหนผมไม่อยู่ เช่น เดือนกันยายน 49 ไปพม่า ฯลฯ หรือมีข้อคิดเห็นเกิน 5 ลำดับจะทำให้เกิดภาวะ "ตกสำรวจ"

    พม่า...

    • จากการไปพุกามปี 2548 พบว่า วัดและพระเจดีย์จะเตรียมผ้ารองนั่ง หรือลังไม้โปร่งๆ ไว้เรียบร้อย
    • ลังไม้โปร่งๆ มีไว้นั่งกราบกลางลานพระเจดีย์ ซึ่งอาจจะร้อนมากตอนกลางวัน
    • คนพม่านิยมไปนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ที่พระเจดีย์...
    • คนดูแลวัดจะไม่เข้าไปรบกวน เช่น เรี่ยไร ฯลฯ นอกจากนั้นบางแห่งยังมีหนังสือสวดมนต์แขวนผูกไว้สำหรับให้ยืมสวดได้ด้วย
    • อยากให้เมืองไทยมีวัด และพระเจดีย์เงียบๆ และปลอดการเรี่ยไรจัง
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท