การศึกษาไทยเริ่ม(แสดงตัวเลขให้เห็นว่า)ตกต่ำ เมื่อเริ่มใช้ พรบ.การศึกษาภาคบังคับถึง ม.๓


กรุณาอย่าเอาชีวิตของผู้คน มาผูกติดไว้กับ "การศึกษามหาห่....ย แบบเน้นการบังคับอ่านเขียนและจำจำ ความรู้เก่าๆในตำราที่มีคุณค่าแค่เอาไว้จิ้มข้อสอบ" เช่นนี้อีกเลย

ก่อนนั้น....

ลูกหลานของชนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่มักอาศัยอยู่ในชนบททั้งใกล้และไกลเมือง

เมื่อจบประถมศึกษา (ป.๖)

เขาจะรู้ตัวดีว่าเขาจะสามารถเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่

ดังนั้น....

คนเหล่านี้จึงมักจะเลือกที่จะไม่เรียนต่อ (ในระบบ)

จำต้องเข้าเรียนรู้และฝึกฝนการงานในไร่นา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษโดยอัตโนมัติ (คล้ายๆไม่มีทางเลือก)

แต่ทั้งนี้...ก็โดยความยินยอมพร้อมใจของผู้มีส่วนได้เสียในครอบครัว

เพราะได้ใช้ทั้งแรงงานและช่วยสร้างเสริมรายได้ให้ครอบครัว

(ส่วนหนึ่ง) เมื่อเติบใหญ่เข้าสู่วัยแรงงานเต็มตัว

ก็มักจะเลือกเดินเข้าสู่ตลาดแรงงานในสถานประกอบการที่ได้ค่าจ้างประจำและแน่นอนกว่า

ในขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็นการเรียนรู้-ฝึกฝนอาชีพ และเพิ่มพูนทักษะชีวิตไปในตัวด้วย

และเท่าที่ครูวุฒิเห็นตัวอย่างมาไม่น้อยเลย

ที่หลายคนได้ผันตัวเองมาเป็นเถ้าแก่ ได้เป็นเจ้าของกิจการเล็กบ้างใหญ่บ้างตามแต่ถนัด ทั้งอยู่ในถิ่นใหม่นั้นๆ และนำความสามารถและประสบการณ์กลับมาทำที่มาตุภูมิ

หรืออย่างน้อยก็มีการงานที่มั่นคงพอควร

ส่งผลถึงการมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นทั้งของตนเอง บุพการี ตลอดถึงญาติพี่น้องผองเพื่อนอย่างชัดเจน

และแม้จะตกงานเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ

คนเหล่านี้ก็กลับมาทำไร่ไถนาเลี้ยงครอบครัวได้ดังเดิม เพราะทักษะ องค์ความรู้ และจิตใจ ยังอยู่กับไร่นา

(ยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ปั ๓๕๔๐ ได้พิสูจน์มาแล้ว)

แม้ในส่วนของผู้ที่ยังทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ถิ่นเดิม

โดยมิได้อพยพโยกย้ายเข้าตลาดแรงงานเช่นคนอื่น

เหล่าชนผู้ทนสู้อยู่กับอาชีพกสิกรรมที่คนทั่วไปเห็นว่าต่ำต้อย

ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดำเนินไปได้ตามอัตภาพ แม้สภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายก็ตาม

............................

แต่.....

เมื่อเข้าสู่ยุคการศึกษาภาคบังคับถึง ม.๓

เด็กวัยรุ่นตอนต้นทั้งชาย-หญิง ที่มีผลการเรียนอ่อน ตามการประเมินและตัดสินความสามารถในการอ่าน-เขียนและจำ-จิ้มของการศึกษาไทย

ที่เคยมีเส้นทางเลือกที่จะก้าวเดินไปหาความสำเร็จในแบบที่รุ่นพี่เคยทำได้

กลับถูกบังคับขืนใจทั้งจาก พรบ.การศึกษาภาคบังคับ และค่านิยมของสังคม

ให้จำใจจำทนและกล้ำกลืนฝืนเรียนต่อ

โดยพกเอาความไม่มั่นใจในตัวเอง(อย่างฝังรากลึก)ไปด้วย

เพราะถูกตัดสินในใบ ปพ. ไปแล้วว่า "เรียนอ่อน" (คะแนนต่ำ)

และในปัจจุบันยี้ โรงเรียนและครูระดับมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบให้เด็ก"ศึกษาค้นคว้าหาความรู้กันเอง" (ตามการบังคับโดยระบบจากนักการศึกษาไทยที่จบการศึกษามาจากเมืองนอก)

ผ่านการใช้จ่ายมากมายทั้งจาก "ตำรา" "สัมภาษณ์บุคคล" และ "อินเตอร์เน็ต", "ศึกษานอกสถานที่" ฯลฯ

เสร็จแล้วก็เอามาผ่านกระบวนการสร้างความร่ำรวยให้พ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายสินค้าทางการศึกษา

ด้วยการให้ทำเป็น "รายงาน", "โครงงาน" และรูปแบบอื่นๆอีกจิปาถะ

(ลองอ่าน "ลูกหลานไทย(แท้ส่วนใหญ่)หมดทางสู้ เพราะความรู้(ในตำราและห้องเรียน)ราคาแพง (เกินจำเป็น)" ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/435631 ดูนะครับ

...................

ถึงตรงนี้

เด็กวัยแรงงานที่เคยช่วยเหลือการงาน เป็นกำลังเสริม และช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว

กลับกลายมาเป็นผู้ที่เรียกหาแต่ค่าใช้จ่ายทักวันทุกวี่

เป็นเหตุให้พ่อแม่ต้องทำงานหนักขึ้นทุกวันๆ เพื่อหารายได้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูก

ตลอดถึงค่าใช้จ่ายของครอบครัว ที่มากขึ้นๆตามยุคสมัยอันไฮเท็ค

ทั้งผ่อนมอเตอร์ไซค์ ค่าน้ำมัน โทรศัพท์ กาฟงกาแฟ (โฮ้ย... ๑๐๘-๑๐๐๙)

และเมื่อการหารายได้ในท้องถิ่นไม่เพียงพอ

ก็จำต้องทิ้งลูกๆและผืนนาป่าไร่อันมีค่า (ที่เคยเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างพอเพียง)

เข้าสูตลาดแรงงานและสถานประกอบการซะเอง

โดยวาดหวังอนาคตว่า....

จะหางานการทำพอได้ส่งลูกเรียน

เมื่อลูกๆเรียนจบชั้นสูงๆ ก็จะมีงานดีๆทำ

เมื่อนั้น.... ทุกคนก็จะสบาย....

....................

แต๋...... ในความเป็นจริง...

กลับเป็นการทอดทิ้งสิ่งที่มีค่าที่สุดของชีวิตไป อย่างน้อย ๒ สิ่งพร้อมๆกัน

นั่นคือ "ลูกๆ และ ไร่นา"

ซึ่งท้ายที่สุด....

ก็มักจะสูญเสียทั้งไร่นา เพราะหนี้สินพอกพูนอันเนื่องมาจากค่าครองชีพในเมืองใหญ่สูงเกินรายได้

ในส่วนของลูกๆก็มักจะเรียนไม่รอด (เพราะทั้งไม่ถนัดดังกล่าวแล้วเบื้องต้น และค่าใช้จ่ายไม่พอ เพราะพ่อแม่หาให้ไม่ทัน)

และเมื่อเรียนไม่จบก็มักจะกลายเป็นลูกอกตัญญูที่ทำให้พ่อแม่และญาติพี่น้องผิดหวัง

สัมพันธภาพระหว่างกันและบรรยากาศดีๆที่เคยมีในครอบครัวก็เปลี่ยนไป

ในขณะที่สังคมชุมชนชาวบ้านร้านถิ่นก็รังเกียจ ในฐานะ "เด็กไม่รักดี"

เหยียบย่างไปไหนใครก็ทำหน้าเหมือนขยะแขยง ไม่อยากคบ

จะคบได้ก็เฉพาะเพื่อนๆที่ตกอยู่ในสภาวะและสถานะเดียวกัน

อันเป็นที่มาของตลาดยาเสพติด ของมึนเมา รวมทั้งกลุ่มก๊วนวัยรุ่นคึกคะนองป่วนบ้านกวนเมือง ที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ถึงตอนนี้.... ทุกท่านคงพอเห็นภาพชัดแลัวว่า

ผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อนของการศึกษาภาคบังคับ ม.๓ นั้น

หนักหน่วงและรุนแรงต่อสังคมไทยแค่ไหน?

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

อ๊อ.... ครูวุฒิลืมลงในรายละเอียดไปว่า

มูลเหตุสำคัญที่เด็กเหล่านี้เรียนไม่จบ และส่งผลถึง "ความตกต่ำของคุณภาพการศึกษาไทย"

เป็นเพราะธรรมชาติของมนุษย์

เมื่อถูกบังคับให้ทำ(เรียน)ในสิ่งที่ไม่ถนัด ก็อาจจะจำใจทำไปในระยะหนึ่ง

แต่เมื่อความอดทนถึงที่สุด

เขาเหล่านี้ก็อาจจะกระแบบตรงข้าม

และเมื่อเขาทำแบบตรงข้าม ก็เป็นที่เอือมระอาของครู และกลายเป็นเด็กที่ครูก็อาจไม่ใส่ใจให้เดือดร้อน

หรือครูก็อาจใช้อำนาจของครูทั้งโดยตรงตามธรรมชาติ และตามระเบียบการวัดผลประเมินผลที่เอื้อให้ไว้แล้ว

ส่งผลให้เด็กติด ร. ติด ๐ และ ท้ายที่สุดก็มักจะเป็น มส. เพราะไม่มาเรียน

และเมื่อ ร มส และ ๐ หลายตัวเข้า ก็หมดกำลังใจที่จะแก้จะเรียนต่อ

นี้คือมูลเหตุสำคัญของ... "เด็กออกกลางครัน" ที่ทำเอา สพฐ. เต้นเป็นเจ้าเข้าทุกปี

................

ในส่วนของเด็กที่หัวอ่อนกลัวครู เกรงสังคม และไม่กล้าพอที่จะขัดใจพ่อแม่

ก็อาจจะพยายามเรียนเท่าที่เรียนได้ (ทั้งๆที่ไม่ถนัด)

เมื่อถึงเวลาสอบ O-Net หรือการทดสอบต่างๆ ก็อาจทำแบบส่งๆ หรือเอาให้เสร็จๆไปวันๆหรือครั้งๆไป

คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ที่เด็กส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า "กินไม่ได้") ก็เลยออกมาให้ร้อง...โห้... กันทั้งเมือง

.........................

ไม่ทราบว่าสิ่งที่ครูวุฒิ เจ๊าะ... แจ๊ะ... มาทั้งหมดในบันทึกนี้

จะเป็นเหตุเป็นผลอันควรแก่การนำมาบอกกล่าวล่าวขานในเวทีสาธารณะนี้ได้หรือไม่

เพราะประเด็นดังกล่าวนี้ อาจเคยมีผู้กล่าวถึงบ้าง

แต่อาจยังมิได้ลงในรายละเอียดที่เชื่อมโยงระหว่างปัจจัยอันเป็นมูลเหตุสำคัญๆที่เกี่ยวข้องทั้งมวล ในแบบที่ครูวุฒิเจ๊าะแจ๊ะ...

ซึ่งอาจจะเป็นจริงหรือไม่ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้

เพราะฉะนั้น

ถ้าเราจะลองยกเลิกการศึกษาภาคบังคับถึง ม.๓ เช่นปัจจุบัน

ลงมาเหลือแค่ ป.๖ หรืออาจขยายเป็น ป.๗ ก็น่าจะลองพิสูจน์ดูนะครับ

..................

และครูวุฒิขออนุญาตทิ้งท้ายในบันทึกนี้ว่า

กรุณาอย่าเอาชีวิตของผู้คน มาผูกติดไว้กับ "การศึกษามหาห่....ย แบบเน้นการบังคับอ่านเขียนและจดจำความรู้เก่าๆในตำราที่มีคุณค่าแค่เอาไว้จิ้มข้อสอบให้ถูก (เพื่อเอาชนะคนอื่นเท่านั้น)" เช่นนี้อีกเลย

เพราะเด็กเขาสูญเสียโอกาสดีๆไปมากมาย โดยที่ไร้คนรับผิดชอบมามากเกินพอแล้ว...ครับ...พี่น้อง.......!!!!!

**************************************

หมายเลขบันทึก: 483437เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณเป็นที่สุด สำหรับดอกไม้ช่องามครับ ท่าน ผศ.

โอกาสหน้าเชิญอีกนะครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับ ท่าน ผอ.ชยันต์

  • เป็นมุมมองทางการศึกษาที่น่าคิดนะคะ ท่าน
  • แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ คุณภาพการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณและการทุ่มเทให้กับงานของครูและผู้บริหารสถานศึกษานี่แหละค่ะ ดิฉันเองจึงต้องทำหน้าของตน คือบทบาทในการเป็นครูให้ดีที่สุด ดังที่เขียนไว้ในบันทึกล่าสุด "งานและงาน...คือมาลีแห่งชีวิต" ตาม Link นี้ค่ะ  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480734?refresh_cache=true
  • ดีใจค่ะ ที่ได้รู้จักผู้บริหารหัวใจเกษตร เลยฝากภาพผัก ผลไม้และดอกไม้ภาพล่าสุดจากฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ของดิฉันมาให้ชมค่ะ

                    

    

 

เป็นบทความที่เห่ยมาก

ไม่ทันสมัยเสียเลย๕๕๕๕๕๕๕

ไม่เข้าบรรยากาศอาเซียนด้วยซ้ำ

แต่ถ้าผมอยู่ใกล้ๆ ผอ.ผมจะกระโดดกอดเลยล่ะ

ชอบมาก คิดได้ไงเนี่ย ถูกต้อง ถูกใจ ไปเสียหมด

กำลังคิดอยู่ ถึงนโยบายเรียนฟรีบ้าๆบอๆ

ทุ่มเทอะไรกันมากมาย ได้ดีร่ำรวยแต่เฉพาะนายทุน

ใครไม่อยู่บ้านนอก ชายขอบอย่างเราไม่รู้หรอก

ว่าที่ผอ.พูดน่ะ มันมีอยู่จริง ปีละนับหมื่นคน

ที่ไปไม่เป็น พบมากในโรงเรียนขยายโอกาส

ยิ่งเรียนยิ่งหมดโอกาส ไม่สนใจอาชีพหลักของครอบครัว และเข้าซอยตัน

พร้อมๆกับทางบ้านหมดตัว และเด็กพวกนี้ ชักจูงง่าย คิดอะไรสั้นๆ

ยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้ประสา มือห่างตีนห่าง เพราะโรงเรียน

ไม่ได้สอนการงานอาชีพที่เขาถนัด ไม่รู้จักทักษะชีวิต

สรุป ผมชอบแนวคิด ผอ. มากครับ อยากได้เบอร์มือถือจัง

Ico48 ขอบพระคุณมากครับท่าน ผศ.วิไล

  • ถ่ายภาพสวยจังครับ
  • ที่ฟาร์มคงมวัตถุดิบและเรื่องราวให้ถ่ายมากมาย
  • "เมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ คุณภาพการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณและการทุ่มเทให้กับงานของครูและผู้บริหารสถานศึกษานี่แหละค่ะ" เห็นด้วยครับ แต่ก็ขอให้ได้ถ่ายทอดความเป็นจริงออกไปบ้าง ทำงานรอการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สร้างสรรค์มานานพอแล้ว เห็นแต่ความเสื่อมและห่างไกลความจริงออกไปทุกที ก็เลยจำต้องเสนอความจริงในมุมที่เราเห็นและประสบพบอยู่ประจำบ้างอ่ะครับ
  • หวังว่าคงได้มีโอกาสคุยกันอีกนะครับ
  • สวัสดีครับ

Ico48 ขอบคุณท่าน ผอ.ชยันต์มากที่ให้กำลังใจ

  • ก็เขียนไปตามที่เห็นและเป็นอยู่จริงๆในสังคมชุมชนและท้องถิ่น ที่เราๆท่านๆเห็นกันอยู่ทั่วไปนั่นแหละครับ
  • เบอร์ 0856825834 ครับ
  • ผมเคยไปเยี่ยมคุณยายสุธี ที่เมืองกาญจน์ ที่นี่ ไม่แน่ใจว่าท่าน ผอ.จะเคยเข้าไปเยี่ยมที่บล้อกของคุณยายหรือเปล่า อยากแนะนำให้รู้จักกันน่ะครับ
  • เพราะเป็นคุณยายที่ "หัวใจไม่ธรรมดา" จริงๆ
  • สวัสดีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท