ความเป็นกรดและด่างของอาหารธรรมชาติ


ธรรมชาติที่ทำให้เราต้องดูแลตนเองให้มีความสมดุล

บทความโดย ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ แพทย์ทางเลือก ธรรมชาติบำบัดฯ

ในร่างกายของเราจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันจากความสมดุลในร่างกาย

จากฮอร์โมน"อะดีนารีน"ก็คือสภาวะอารมณ์ที่ทำให้ร่างกายเราเป็น กรด

ส่วน"เมลาโทนิน" จะทำให้ร่างกายเราเป็น ด่าง

ดั้งนั้นเมื่อไหร่ที่สองตัวนี้เท่ากันก็จะเกิดการหลั่งของ"เอนโดฟิน" ก็ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเพราะฉะนั้นเวลาที่ร่างกายเรามีความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปก็จะเกิดสภาวะเจ็บป่วย 

กรดมาก หมายความว่า มีกลุ่ม กรดอะมิโน

(อาหารจากเนื้อสัตว์มาก ไม่กินผัก ผลไม้) ตกค้างอยู่

ด่างมาก ก็จะมีแอมโมเนียตกค้างอยู่ และจะเกิดอาการผื่นคันเหมือน

(กรณีผู้ที่กินแป้ง เนื้อสัตวืมากไม่กินผัก และผลไม้) 

 

ดังนั้นสภาพของร่างกายจึงจำเป็นต้อง"ปรับสมดุลให้เป็นกลาง"

นั่นคือต้องอยู่ใน"สภาวะที่เป็นกรดอ่อน"

ซึ่งเราต้องทานอาหารที่มีเป็นกรดอ่อนแฟงอยู่ ก็คือ" มีสีเขียว แต่มีรสมินต์"

เช่น โหระพา สาระแหน่

 

 

เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในยุโรปอยู่ในสภาพอากาศที่เย็นโิิอกาสที่ร่างกายเขาจะเป็นด่างสูง ไขมันก็จะเยอะจึงทำให้อ้วน โครงสร้างในการสร้างตัวเองจะใหญ่ เพราะมันเหลือไกลโคเจนเปลี่ยนรูปจากแป้ง เปลี่ยนรูปไปเป็นไขมัน และเปลี่ยนเป็นกล้ามเนื้อ

ในขณะที่ชาวเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเผชิญหน้ากับอาการร้อน ตลอดเวลาจึงทำให้ร่างกายมีลักษณะ ผิวพรรณคล้ำ ผมดำและทำให้ร่างกาย มีขนาดเล็กกว่าชาวยุโรป

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น

"ธรรมชาติที่ทำให้เราต้องดูแลตนเองให้มีความสมดุล"

เราจึงต้องได้รับ อาหารสีเขียวและมีความเป็นด่างอ่อนเพื่อลดความเป็นกรดของร่างกายในเชิงของการเผาผลาญที่มากกว่าคนโซนเย็น เพราะฉะนั้นจะพบว่า อาหารตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทยทุกภาคจะมีรายการอาหารสมดุลต่อการดำรงชีวิตอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น

ภาคกลาง มีขนมจีน + น้ำยา +ใบหระพา + ใบแมงลัก ผิดตรงที่เป็นขนมจีนมีสารกันบูด (Borax) ในน้ำยามีผลชูรส (Monosodium Glutamate) สารทั้งสองตัวนี้ จะทำให้เลือดข้น และไม่หมุนเวียน

 

 

สถานที่ในการรับประทานอาหารก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ตามข้างถนนที่มีควันพิษ หรือในห้องแอร์ก็จะมีสาร CFC ซึ่งสนับสนุนให้เกิดเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็วและรุนแรงทั้งที่ร่างกายของคนที่เกิด ณ ประเทศไทยจะมีสูตรอาหารดังกล่าวอยู่แล้ว 

โดยเราสามารถทำให้ร่างกายสดใสแข็งแรงได้ โดย 

1. อยู่ในอากาศสะอาด

2. อาหารมีผักผลไม้ 50%

3. ออกกำลังกายและขับถ่ายอุจจาระแต่เช้าตรู่

 

ดังนั้นการที่ร่างกายของเราอยู่ได้โดยไม่เกิดภูมิแพ้ ไม่เกิดความเจ็บป่วยในรูปของความเสื่อม เราจึงต้องปรับสมดุลที่ว่านี้

ซึ่งในความสมดุลที่ว่านี้ อารมณ์มีส่วนในเรื่องของสภาวะสมดุลในร่างกาย เพราะในความเป็นจริงไม่มีวันไหนที่เป็นกรดอย่างเดียว หรือ เป็นด่างอย่างเดียว อาจจะเป็นทั้งกรดและด่าง เช่น 

เสียใจก็จะเกิดสภาวะความเป็นด่าง .....ลิงโลดดีใจเต้นแร้งเต้นกาก็จะเกิดสภาพความเป็นกรดอ่อน.........ดีใจจนเกินเหตุก็จะเกิดเป็นกรดไปเลย......

ต้องทำงานทั้งวัน เสียใจจนถึงขนาดเก็บกด ก็จะทำให้ Actenalin หลั่งเต็มที่ เมลาโทนิน หลั่งเพิ่มขึ้น เพื่อขจดของเสียไปเลยก็จะหลับไปเลยเพราะเมลาโทนินหลั่งเต็มที่ จึงจำเป็นต้องถูกกระตุ้นด้วยอาหารที่เป็น กรดอ่อนและมีสีเหลืองและถ้าเกิดเราดีใจเกิีเหตุเราก็ต้องถูกกระตุ้นด้วยอาหารที่เป็นด่างและมีความเป็นมินท์( Mint)

 

 

    เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่เราอยู่ในสภาวะอารมณ์ไหนเราก็สามารถทานอาหารกำกับความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายได้ ช่วงไหนที่อารมณ์รุนแรง ก็ทานสะระแหน่เข้าไป ช่วงไหน ที่เราเหนื่อย และอารมณ์เนือยๆหมดแรง ก็ทานน้ำส้มคั้นเข้าไป กินชาอ่อนๆ กินกาแฟ นิดๆเข้าไปเพื่อกระตุ้น ให้ร่างกายของเราตื่นตัว 

 

อาหารธรรมชาติที่มีความเป็นด่าง เช่น

กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ใบแมงลัก ผักกวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักพื้นบ้านที่มีรสฝาด ผักพื้นบ้าน ผักกูด ยอดผัก ยอดฟักทอง ตำลึง มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือขื่น สะระแหน่  ใบหม่อน ฯลฯ

 

อาหารธรรมชาติที่มีความเป็นกรด เช่น

ส้มทุกประเภท กระถิน ชะเอม ลูกเหนียง คะน้า แตงกวา ทุเรียน มะม่วง ลำไย ใบมะยม ใบลูกหว้า ใบยอ ผักพื้นบ้านรสเปรี้ยว พริก มะแว้ง ฯลฯ

 

 

    ขอบคุณบทความจากหนังสือ

เล่าสู่กันฟังแพทย์ทางเลือกเล่ม 2 โดย เทวี มีบรรจง

บรรณาธิการ ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์

 

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 482566เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมารับความรู้เพิ่มเติมค่ะ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

เพิ่งทานแกงเลียงใบตำลึงกับยอดฟักทองไปค่ะ

อาหารพื้นบ้านสุดยอดค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆของการโภชนาการเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ

สวัสดีค่ะ  พี่ดา

มาส่งความคิดถึง  สบายดีนะคะ

ขอบคุณข้อมูลดี มีประโยชน์มากๆ มาอ่านบันทึกพี่ดาประจำค่ะ

อีกประมาณ  3 - 4 เดือน บ้านน้อยในสวนเล็กๆ คงจะเสร็จ แล้วจะเรียนเชิญพี่ดามาเยี่ยมสวนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท