ถอดบทเรียนน้ำท่วม ตอนสอง "คิด พูด ทำ จากใจ ที่หวังดี"


ปลื้มใจที่สุดก็คือได้รู้ว่า มีบุคลากรของรพ.เราที่เป็นบุคคลตัวอย่างที่หาได้ยาก ยากมากจริงๆ ท่ามกลางวิกฤตนี้ การนึกถึงคนไข้ ในความรับผิดชอบนั้นเกินความคาดหมาย เกินขอบข่ายหน้าที่ของเขา ..คือ..แพทย์ของเรา

สรุปเวทีถอดบทเรียนน้ำท่วมที่ รพ. ทำมีหลายเวทีมาก ที่เราได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูล

ข้อมูลและความชัดเจนมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ต้องรอเวลาทิ้งช่วงให้ รพ. นำเสนอก่อนจึงนำมาเขียนใน G2K ได้ เนื่องจากเจ้าของข้อมูลจริงๆ คือรพ.ของเรา

เราได้รู้ว่า มุมมองผู้ปฏิบัติมองก็อีกแบบ มุมมองผู้บริหารมองก็อีกแบบ หากสองทีมนี้ได้รับรู้ซึ่งกันและกันจะดีมาก

ปลื้มใจที่สุดก็คือได้รู้ว่า มีบุคลากรของรพ.เราที่เป็นบุคคลตัวอย่างที่หาได้ยาก ยากมากจริงๆ ท่ามกลางวิกฤตนี้ การนึกถึงคนไข้ ในความรับผิดชอบนั้นเกินความคาดหมาย เกินขอบข่ายหน้าที่ของเขา ..คือ..แพทย์ของเรา นี่เอง ที่ดีแสนดี และบุคลากรของเราอีกหลายท่านด้วย

ข้อมูลที่มีหลากหลายมาก จนเวทีสุดท้ายที่เราได้รับรู้คือเวที HA national Forum ครั้งที่ ๑๓ ปีนี้ การ ลปรร ประเด็น Disaster จากอาจารย์วิทยากร ที่นับว่ามีประโยชน์ต่อเรา และต่อสังคมมาก คือ จากบุคลากรของรพ.เราเอง ทั้ง Section ของผู้บริหารและ Section ของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานหน้างาน ทำให้เราภูมิใจ และรักองค์กรของเรามาก

เช่น

เวทีแลกเปลี่ยน:  หมอ............... คือ หมอที่ดูแลคนไข้ชนิดเกินความคาดหมาย ดูแลผู้ป่วยไตวายที่มีอยู่มากมาย เมื่อน้ำท่วมหมอคอยนึกถึงคนไข้พวกนี้ว่าเขาจะอยู่อย่างไร กุลีกุจอสอบถามรายตัวถึงบ้าน เพื่อหาที่รักษาให้ หาที่ล้างไต หาที่พักให้ หาเลี้ยง Supply ต่างๆ ให้

ส่วนเวที ผอ.และรอง ผอ. ของผู้เขียน ท่านพูดจากการปฏิบัติ มี Tacit Knowledge เกิดขึ้นมากมาย เล่าจากประสบการณ์ ที่หาได้ยาก ทักษะการทำงานไม่ใช่มีแค่วิชาชีพแพทย์ มีด้านการจัดการ ทักษะด้าน engineering ทักษะด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และอื่นๆ อีกมาก ในห้องจึงมีคนเข้าฟังค่อนข้างมาก มีบางท่านฟังแบบตั้งใจมากจนเราอยากเข้าไปถามว่ามาจากรพ.ไหนนะ (ทำไม่ถึงสนใจขนาดนั้น นึกว่าเป็นแต่เรา) เราฟังแล้วได้รู้ว่า ผู้บริหารนึกถึงพวกเราบุคลากรด้วย ห่วงใยทั้งหมดที่อยู่ในความดูแล ไม่ใช่เฉพาะในรพ.พระนครศรีอยุธยา แต่เป็นทั้งจังหวัด ทั้งประเทศ

สรุปจากหลากหลายเวที ทางเลือกหลักของ รพ.เรา ก็คือ

เราอยากคงประสิทธิภาพของเรา รพศ.ไว้บ้าง เราจะอยู่กับน้ำให้ได้ ถึงแม้จะไม่เต็มที่ แต่ขอแค่ ๔๐-๕๐% ของการบริการปกติ  

ทั้งหมดนี้มีเหตุผลใหญ่คือ เนื่องจาก

๑.       ความที่ไม่อยากเห็นการอพยพคนไข้หลายร้อยราย อพยพไปแล้วยังต้องหนีต่อ ต่อไปจนถึงเชียงราย หาดใหญ่ ผู้ป่วยที่ดีๆอยู่กลับแย่ลง

๒.       การไม่เชื่อในระบบป้องกันน้ำ และการไม่สามารถควบคุมน้ำได้ การไม่สามารถทำนายได้ว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม (จากสภาพทางภูมิประเทศ ของรพ. ที่มีแต่แม่น้ำล้อมรอบ การจะย้าย รพ. ทำไม่ได้ และศักยภาพการบริหารจัดการน้ำภาพรวมของประเทศ ณ ตอนนี้ ไม่สามารถประเมินคาดการณ์ได้อย่างมั่นใจ)

ดังนั้นคำตอบจึงออกมาดังข้างต้น สิ่งที่ต้องคิดต่อคือจะต้องเตรียมการอย่างไรให้อยู่กับน้ำได้สักพักหนึ่ง  จะต้องจัดการอย่างไรให้อยู่ท่ามกลางน้ำได้บางส่วน แต่ทั้งหมด ก็ไม่ใช่คำตอบเดียว

         ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕

หมายเลขบันทึก: 482214เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อ.ดร.จัน

น้องๆ ที่รพ.พระนครศรีอยุธยา ได้ไปเชียร์ เหล่าอาจารย์ G2K

และ ได้เก็บประเด็นมาเผยแพร่กันเมื่อวานนี้ ในเวทีประชุมประจำเดือนด้วยค่ะ ทีมเราขอบพระคุณอาจารย์ มากๆ

เรียน อ.ราชิต

ขอบคุณ และดีใจที่ได้รู้จักครับ ชอบรร.ของอาจารย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท