กิจกรรมบำบัด กับโรค AIDS


คนที่ติดเชื้อ HIV สามารถอยู่ร่วมกับสังคมและครอบครัวได้ สามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป เพราะเชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันโดยการสัมผัส การกอดจูบ การรับประทานอาหาร ไม่ต้องแยกห้องนอน ห้องน้ำ อุปกรณ์ของใช้ต่างๆหรือห้องทำงาน ซึ่งทั้งนี้ต้องระมัดระวังการติดเชื้อทางกระแสเลือดที่มาจากแผลของผู้ป่วยจากกิจกรรมดังกล่าวด้วย ดั้งนั้นความรู้ความเข้าใจในผู้ป่วยโรค AIDS กับบริบทแวดล้อมนั้นมีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างแน่นอน

AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome)

AIDS หรือชื่อเต็ม ว่า “Acquired Immune Deficiency Syndrome” ภาษาไทยเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดจากเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายและไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย อาการมักรุนแรง เรื้อรัง และเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุ

  1. การมีเพศสัมพันธ์
  2. การรับเลือดที่มีเชื้อ AIDS อยู่
  3.  การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน
  4. จากมารดาสู่ทารก  พันธุกรรม

อาการ

 WHO (องค์การอนามัยโลก) ได้แบ่งระยะของโรค AIDS  ได้ออกเป็น4 ระยะ

ระยะที่ 1 ระยะติดเชื้อ HIV ไม่แสดงอาการมาก มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต

ระยะที่ 2 เริ่มแสดงอาการ แต่มีอาการน้อย แสดงอาการดังนี้

  •    น้ำหนักลดลง 10%
  •     มีการติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำๆ
  •    งูสวัด  ปากนกกระจอก 
  •    แผลในปากเป็นซ้ำ
  •   ผื่นที่ผิวหนัง  เชื้อราที่เล็บ 

ระยะที่ 3 อาการบ่งชัดว่าเป็นโรค AIDS

  • น้ำหนักลดลงในอัตรามากกว่า 10%  ของน้ำหนักเดิม
  •  เป็นวัณโรคปอด
  • ท้องร่วง/ ไข้เรื้อรังนานกว่า 1 เดือน
  •  เชื้อรา  หรือมะเร็งในช่องปาก   ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง

ระยะที่ 4 มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง

  • ปอดบวมรุนแรงซ้ำ
  •  มะเร็งต่อมน้ำเหลือง / ปากมดลูก
  • การติดเชื้อราในหลอดอาหาร หลอดลม    หรือปอด

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

-          ทำการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย AIDS โดยใช้กรอบอ้างอิง PEOP ดังนี้

P(Person) : ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางด้านภูมิคุ้มกัน และอ่อนล้าทางจิตใจ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ประเมินค่าตนเองต่ำ

E(Environment) : สังคมเกิดการแบ่งแยก และรังเกียจ สิ่งแวดล้อมที่ควรมีส่วนช่วยเหลือมากที่สุดคือด้านครอบครัว ควรให้กำลังใจอยู่เสมอ ถ้าครอบครัวไม่ให้กำลังใจผู้ป่วยแล้ว ก็จะทำสิ่งแวดล้อมทางสังคม และบุคคลรอบข้างแย่ตามมา และส่งผลกระทำต่อปัจจัยในตัวผู้ป่วยด้านจิตใจ

O(Occupation) : การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคเอดส์จะลำบากกว่าคนปกติเนื่องจากว่าต้องระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อ โรคแทรกซ้อนเพิ่มเติม หรือไปแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะจะขาดโอกาสในการทำมีส่วนร่วมในสังคมเนื่องจากข้อจำกัดในสิ่งแวดล้อมของคนในสังคม

P(Performance) : ประสิทธิภาพความสามารถในชีวิตประจำวัน และบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วยลดลง ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากจิตใจ หลังติดเชื้อ HIV แล้ว  ทำให้ปัจจัยหลายๆอย่างทรุดเร็วขึ้น ซึ่งระยะเวลาของโรคนั้นขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ และการปฏิบัติตนหลังเกิดโรค มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์

-          ตั้งเป้าหมายการบำบัดฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์ โดย

เป้าหมายระยะสั้น :  ประมาณ 1 เดือน(3-5 สัปดาห์)

  1. เพิ่มความรู้ความเข้าใจในทักษะการจัดการความคิด  ให้ยอมรับความสามารถที่มีคุณค่าของตนเอง
  2. เพิ่มทักษะการใช้เวลาว่างในการดูแลตนเอง
    1. ควรเน้นการทำกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อทั้งทางร่างกายและจิตสังคม  เช่น  ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น  การมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยรณรงค์และช่วยเหลือผู้ยากจนที่เป็นเอดส์ 
    2. มีความพอใจและเป้าหมายที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและมีความหมายต่อตนเองต่อไป  รวมถึงมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย

เป้าหมายระยะยาว :  ประมาณ 2 เดือน

  1. จัดการตารางชีวิตแต่ละช่วงชีวิตอย่างมีความสุขและมีเป้าหมาย  โดยเฉพาะช่วงสุดท้ายของชีวิต
  2. เพิ่มคุณภาพชีวิตมากขึ้นจากการมีส่วนร่วมทำประโยชน์เพื่อสังคมและตนเอง
  3. รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  มีการดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด

-          ส่งเสริม รณรงค์ จนถึงการให้ความรู้ความเข้าใจกับสังคมแวดล้อมรอบข้างผู้ป่วยกับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย อย่างไม่รังเกียจ โดยเน้นการให้กำลังใจผู้ป่วยเป็นหลัก

-          แนะนำวิธีป้องกันต่อบุคคลรอบข้าง และตัวผู้ป่วยคือ

•  ตรวจเลือดหลังจากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (ควรตรวจหลังจาก 6 สัปดาห์ขึ้นไป )             ก่อนแต่งงาน  มีลูก  ควรตรวจเลือดทุกครั้ง
•  มีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม และป้องกันอย่างเคร่งครัด
•  ระมัดระวังเรื่องการใช้เข็มร่วมกัน  เช่น หลีกเลี่ยงการสัก เจาะร่างกาย การเสพยาเสพติด

หมายเลขบันทึก: 481965เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2012 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท