๒๕๗.การพัฒนาศักยภาพของสวัสดิการชุมชนสู่ความมั่นคงของชีวิตคนพะเยา


 

     จากการที่ผู้เขียน ได้ไปร่วมรับแนวคิด "การจัดสวัสดิการชุมชน" จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ สำนักงานใหญ่ ถนนนวมินทร์ กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของครูมุกดา อินต๊ะสาร ระหว่างวันที่ ๔-๕ มกราคม ๒๕๕๓

     โดยมีการต่อยอด ไปศึกษาดูงานของพระอาจารย์สุบิน จังหวัดตราด และพระอาจารย์มนัส จังหวัดระยอง พร้อมกับร่วมกันจัดทำหลักสูตรเพื่อนำมาอบรมแกนนำในส่วนที่พะเยารับผิดชอบอีก ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน อีก ๙ คืน ๑๐ วัน จนเป็นที่มาของข้อเสนอ ดังนี้

 

๑.ระดับพื้นที่

  1. ให้สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญและสวัสดิการชุมชนเป็นเครื่องมือร้อยคนทุกประเด็นเพื่อเป็นพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง และมีการพัฒนาศักยภาพคนในกลไกและคุณภาพสวัสดิการอย่างต่อเนื่อง

  2. คัดเลือกแกนนำที่มีจิตสาธารณะมาเป็นที่ปรึกษากองทุน

  3. สร้างกระบวนการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน โดยมีงบดุลของกองทุนที่ชัดเจน เพื่อรองรับการสมทบงบประมาณ ๓ ส่วน ได้แก่ชุมชน-ท้องถิ่น-รัฐบาล หรือมีส่วนอื่นมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่

  4. ขยายฐานสมาชิกทุกระดับให้เต็มพื้นที่ให้ครบ ๑๐๐% ในปี ๒๕๕๙

  5. ขยายฐานสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกเรื่อง อย่างมีส่วนร่วมและสร้างความเป็นเจ้าของให้กับสมาชิกทุกคน

  6. สื่อสารสร้างความเข้าใจให้สมาชิกและคนในชุมชนถึงเจตนารมณ์ของกองทุนอย่างถ่องแท้

  7. พัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพของกองทุนทั้งระบบ คน ข้อมูล การจัดการการเงิน

  8. วิเคราะห์สมดุลการเงินของกองทุนทุกปี มีธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน

  9. ควรตั้งข้อบัญญัติท้องถิ่นทั้งระดับตำบลและจังหวัดสมทบกองทุนทุก ๆปี โดยสมทบจากงบกลาง และอุดหนุนโครงการพัฒนาศักยภาพของกองทุนตามที่กองทุนและสภาองค์กรชุมชนเห็นสมควร

  10. เชื่อมโยงกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่บำนาญประชาชนเพื่อสร้างมิติสัมพันธ์ของคนในชุมชนโดยมีการฝากและขอดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารของรัฐที่เก็บเงินฝากของกองทุน

 

๒.ระดับจังหวัด/ภาค

  1. สนับสนุนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพของกองทุนสวัสดิการ

  2. ให้ อบจ. สมทบหรือสนับสนุนเครื่องมือในการพัฒนาหรือหนุนเสริมการจัดสมัชชาเพื่อการพัฒนาคุณภาพหรือส่งเสริมและสนับสนันการสร้างคุณภาพสวัสดิการชุมชนในระดับตำบลโดยมีการสมทบลงในตำบลทุกปี

  3. ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตลอดจนให้รางวัลและเปิดโอกาสให้กับข้าราชการทุกหน่วยในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยให้ประชาชนเป็นแกนสำคัญเอาวิถีชีวิตประชาชนเป็นตัวตั้งตามบริบทของตำบล

  4. จัดเรื่องสวัสดิการชุมชนให้เป็นวาระของจังหวัด มีการสนับสนุนงบประมาณของจังหวัด(แผนพัฒนาจังหวัด) แก่กองทุนเพื่อการพัฒนากองทุนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

 

๓.ระดับนโยบาย

  1. ให้รับสนับสนุน/สมทบงบประมาณจากภาษีที่ดินและดอกเบี้ย จากธนาคารของภาครัฐ เช่น ธกส., ธ.ออมสิน

  2. สนับสนุน พรบ. "การออมเงินแห่งชาติ" เพื่อส่งเสริมการยกระดับและพัฒนาคุณภาพกองทุนสวัสดิการชุมชน

  3. สนับสนุนนโยบายการทำบำนาญภาคประชาชนโดยมีกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อสร้างมิติสัมพันธ์ทางสังคม

  4. จัดงบประมาณสมทบ ๑ ส่วนอย่างต่อเนื่องโดยผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยนำเงิน ๑% จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ๑๐๐%

  5. ให้ธนาคารของรัฐ เช่น ธกส. ฯลฯ ให้ดอกเบี้ยพิเศษ ๔-๕% ให้กับเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ฝากไว้, รับสมาชิกออมเพื่อบำนาญโดยใช้เงื่อนไขของกองทุนการออมแห่งชาติ(รับผ่านกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล), กระทรวงการคลังควรจัดเงินตอบแทนให้กับกองทุนสวัสดิการ ๒% ของงบกองทุนที่เก็บได้ให้กับกองทุน มาสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 481893เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท