ระบบการบริหารและการเงินเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา


            วันนี้ได้ไปฟังการบรรยายเรื่องระบบบริหารและการเงินเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในงานอนาคตการศึกษาไทย ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดขึ้นที่อิมแพคเมืองทองธานี จึงได้สรุปสาระเป็น Mindmap ไว้ดังนี้

       ,,,

1 ปัญหาคุณภาพการศึกษา

1.1 ไม่ใช่เกิดจากการขาดงบประมาณ

1.2 ไม่ใช่เกิดจากการที่ครูมีเงินเดือนต่ำอีกต่อไป

2 กรอบแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบ

2.1 รัฐบาล

2.2 โรงเรียน

2.3 ครู

2.4 พ่อแม่

3 ความรับผิดชอบช่วยเพิ่มบสัมฤทธิผลทางการเรียน

4 หัวใจในการสร้างความรับผิดชอบ

4.1 ปฏิรูปข้อมูล

4.2 ปฏิรูปการบริหารจัดการ

4.2.1 กระจายการตัดสินใจไปยังโรงเรียน

4.2.2 ให้มีความเป็นอิสระมากขึ้นภายใต้กรอบความรับผิดชอบ

4.3 ปฏิรูปแรงจูงใจ

4.3.1 การเชื่อมโยงการจ้างงานหรือ ผลตอบแทนของครูเข้ากับสัมฤทธิผลทางกศ.ของนีกเรียน

5 ระบบความรับผิดชอบและสภาพปัญหาในประเทศไทย

5.1 การกระจายอำนาจจัดกศ.

5.1.1 ไปยังท้องถิ่นน้อย แต่ไปยังเขตกศ.และร.ร.พอสมควร

5.2 ปัญหาของการประเมืนคุณภาพสถานศึกษา

5.2.1 เน้นตรวจโรงเรียนมากกว่าดูสัมฤทธิผล

5.2.2 ต้นทุนสูง (1.8 พันล้านบาทต่อรอบ) และเสียเวลาครูมาก

ครูร้อยละ 83 ทำงานธุรการ ร่อยละ 20 ของเวลา

ครูร้อยละ 10 ทำงานธุรการ ร้อยละ 50 ของเวลา (Teacher Watch)

5.2.3 โรงเรียนส่วนใหญ่มีการประเมินผลดี แต่ผลการศึกษาของนักเรียนกลับแย่ลง

สัดส่วนโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ สมศ.ในรอบที่2 เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผลการประเมินคุณภาพมีสหสัมพันธ์ต่ำกับสัมฤทธิผลของนักเรียน (World Bank,2011)

5.3 การทดสอบมาตรฐานไม่ทำให้เกิดความรับผิดชอบใดๆต่อคุณภาพการศึกษา

5.4 การปรับเงินเดือนครูไม่ขึ้นกับสัมฤทธิผลทางการเรียน

6 ตัวอย่างการสร้างความรับผิดชอบคุณภาพกศ.ในต่างปท.

6.1 Report Card. ของรัฐปารานา บราซิล

6.2 No Child Left Behind Act ของสหรัฐ

6.2.1 ออกเป็นกฏหมายในปี2001สมัยประธานาธิบดีบุช

6.2.2 กำหนดให้โรงเรียนรัฐที่ต้องการอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง ต้องส่งนักเรียนเข้าสอบมาตรฐานซึ่งจัดโดยมลรัฐตามมาตรฐานที่มลรัฐกำหนด

6.2.3 โรงเรียนต้องรายงานผลการสอบรวมและแบ่งตามกลุ่มชาติพันธ์ุ

6.2.4 โรงเรียนต้องดำเนินการดังนี้หากผลการสอบนักเรียนไม่ดีติดต่อกัน

2 ปี _ต้องทำแผนปรับปรุงคุณภาพ และยอมให้นักเรียนย้ายออก

3 ปี_ จัดติวใฟ้นักเรียนเรียนฟรี

4 ปี_ เปลี่ยนบุคลากร หลักสูตรและเพิ่มเวลาสอน

5 ปี_ทำแผนปรับโครงสร้างโรงเรียน

6 ปี_ปรับเปลี่ยนเป็น charter school หรือปิดโรงเรียน

6.3 การให้รางวัลแก่ครู

6.3.1 อินเดีย(อันตระประเทศ)

รายบุคคล

คะแนนสอบที่เพิ่มขึ้นรายปีของห้องเรียน(ร้อยละ)

คะแนนส่วนที่เพิ่มต้องสูงกว่าร้อยละ5 ครูจึงได้รับรางวัล โดยมูลค่ารางวัลขึ้นกับคะแนนส่วนเพิ่ม

รายกลุ่ม

คะแนนสอบที่เพิ่มขึ้นรายปีของโรงเรียน(ร้อยละ)

คะแนนส่วนที่เพิ่มต้องสูงกว่าร้อยละ5 ครูจึงได้รับผลตอบแทนโดยมูลค่ารางวัลขึ้นอยู่กับคะแนนส่วนเพิ่ม (ครูแต่ละคนในกลุ่มได้รับเท่ากัน)

7 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

7.1 การสอบมาตรฐาน

7.1.1 จัดสอบมาตรฐานทุกชั้นเรียนหรืออย่างน้อยทุกระดับเป็นเกณฑ์ในการให้ขึ้นชั้น

ปรับปรถงข้อสอบมาตรฐานให้เ literacy-based test มากขึ้นและให้มีคุณภาพดีขึ้น

เปิดเผยผลการสอบมาตรฐานเป็นรายโรงเรียนและจัดทำ report card

เลิกการใช้ GPA เป็นเกณฑ์ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ลดการประเมินคุณภาพแบบเดิมซึ่งมีต้นทุนสูงแต่มีประโยชน์น้อย

7.2 การประเมินผล

7.2.1 ใช้การเพิ่มคะแนนสอบมาตรฐานในการประเมินผลโรงเรียนและครู และเชื่อมโยงกับการจัดสรรงบประมาณและผลตอบแทนครู-ผู้บริหาร

7.2.2 สร้างความสามารถให้แก่โรงเรียน(capacity building) ในการปรับตัวเช่น formative assessment เพื่อปรับปรุงการสอน

7.2.3 เพิ่มอิสระของโรงเรียนรัฐบาลในการบริหารครู

7.3 การเงินด้านอุปสงค์

7.3.1 ปรับน้ำหนักของเงินอุดหนุนด้านอุปสงค์มากขึ้น_ปรับเงินอุดหนุนรายหัวให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

7.3.2 ให้การอุดหนุนแก่โรงเรียนรัฐบาลและเอกชนอย่างเสมอภาค

 

หมายเลขบันทึก: 481290เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2012 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

"ความรับผิดชอบช่วยเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียน"
ขอบคุณครับ

 

ได้รับความรู้เพิ่มเติมค่ะครั้งต่อไปน่าจะร่วมประชุมกับสพฐ.นำประเด็นมาแลกเปลี่ยนถึงอนาคตการศึกษาของไทย

ขอบคุณครับ ผอ. ที่นำเอาความรู้มาแบ่งปัน

ขอบคุณ ผอ.ค่ะ หนูขอแบ่งปันความรู้ด้วยคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท