Retreat เครือข่ายเบาหวาน ๒๕๕๕ (๓)


เครือข่ายของเรามี position อยู่ตรงไหน สิ่งที่ทำมาส่งต่อได้ไหม

ดิฉันทิ้งระยะการเขียนบันทึกมานานหลายวัน เพื่อรอให้น้อง ๆ แกนนำเครือข่ายเขียนกันก่อนตามที่ได้ตกลงกันไว้ รอแล้วรอเล่ามีแต่อาจารย์ยุวนุชและน้องมดทำงาน เลยต้องลงมือเสียที ทิ้งไว้นานเกรงจะลืมบรรยากาศเสียก่อน ใครติดหนี้ไว้ค่อยติดตามกันต่อไป

ตอนที่ ๒

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ (ต่อ)

 

อ้อเล็ก มด อ้อใหญ่ ร่าเริงก่อนเข้าประชุม

หมอฝนขนอุปกรณ์สำหรับการประชุม เบาะรองนั่ง โต๊ะเตี้ยสำหรับรองเขียน มาไว้ล่วงหน้า หลักใหญ่ของการประชุมวันนี้คือทบทวนการทำงานที่ผ่านมาและคิดงานในอนาคต (ใกล้ ๆ)……..

 

ล้อมวงประชุมตามที่เราถนัด

ดิฉันเล่าให้ที่ประชุมฟังว่าเรื่องที่คิดจะทำในระยะใกล้ ๆ นี้คือ
- การแปลบทพากษ์ของ VDO ที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ แล้วใส่เป็น subtitle
- การทำคลังความรู้ออนไลน์ ที่เอาเรื่องเล่าการทำงาน PowerPoint, VDO หนังสือ....ใส่ไว้ได้ ตอนนี้ได้คุยกับผู้รู้ไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏความก้าวหน้าของงาน (คงต้องหาคนใหม่มารับงาน)
- การจัดประชุมมหกรรม KM ปลายปี คิดว่าจะเป็นเวทีการ ลปรร. ในเรื่อง primary prevention ก่อนจะจัดการประชุมได้วางแผนไว้ว่าจะจัดตลาดนัดความรู้ก่อนเพื่อค้นหาและรวบรวม best practices
- อยากจะหาคนมาทำวิจัยว่าการทำงานของเครือข่ายเกิดผลลัพธ์ ผลกระทบอะไรบ้าง
- การทำ proposal ขอทุนวิจัยจาก IDF BRIDGES ซึ่งมี deadline ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ไม่รู้ว่าจะทำได้ทันหรือเปล่า

คุณหมอจักรกริชบอกว่ายังขาดการสร้าง (ขยาย) เครือข่ายและการติดตาม ในอนาคตทีมนี้ (ทีมของเรา) ควรเป็น organizer ไปค้นหาแล้วจัดให้เกิดการ share…. สังเคราะห์ความรู้ ทำให้เป็น scientific มากขึ้น สิ่งที่ต้องทำให้ชัดคือ target group เป็นใคร health sector หรือกลุ่มอื่น ระดับนโยบายเปลี่ยนบ่อย ถ้าเราสร้าง network ระดับรากหญ้าได้และใช้เครือข่ายเป็นตัวขับเคลื่อน น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า... ควรมีการสร้างระบบ recognition

อาจารย์เทพบอกว่าเครือข่ายต้องเกิดก่อนแล้วขยายต่อไปเรื่อย ๆ เล่าเรื่องโครงการบางพลีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อีกหลายเรื่องที่เราคุยกัน เช่น เครือข่ายธรรมชาติ มาแล้วเป็นเพื่อนกัน ชวนกันทำงาน... เรื่องกลุ่มเสี่ยง นโยบายมีอยู่แล้ว แต่ความรู้ยังไม่ชัด...เราไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองแล้ว แหล่งทุนไม่ได้อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข (เช่น อยู่ที่ อปท.) ต้องคิดวิธีการทำงานใหม่ มีหลายปัจจัยเข้ามา... การเอาความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดผล ต้องมีคนเอาไปทำ

วิธีการวินิจฉัย prediabetes ต้องมีการ staging เบาหวาน เพื่อดูผลของการทำงาน เบาหวานไม่ใช่บอกว่าเป็น-ไม่เป็น แต่เป็น continuum… การทำงานในพื้นที่บางทีก็ต้องการระบบ support

มีคำถามร้อนแรงจากคุณหมอจักรกริชว่า ๗ ปีที่ผ่านมา เครือข่ายของเรามี position อยู่ตรงไหน สิ่งที่ทำมาส่งต่อได้ไหม (ควรมีการวาง position ของตัวเอง) ทำให้พวกเราคิดทันทีว่าจะต้องตอบคำถามอะไรต่อบ้าง
- เครือข่ายเราทำอะไร
- เครือข่ายเราเป็นอย่างไร
- มีผลลัพธ์อะไรที่เกิดขึ้น
- เราเชื่อมโยงกับ stakeholders, partners อื่นอย่างไร
- เครือข่ายที่ผ่านมามีอะไรเป็นข้อดี
- ฯลฯ
หมอฝนจึงชวนพวกเราถอดบทเรียน ช่วยกันพูดช่วยกันเขียน (น้อง ๆ สรุปกันต่อ กำลังรอบันทึกอยู่)

 

หมอฝนชวนพวกเราถอดบทเรียน

คุณเอนกพูดว่าในการจัดการความรู้ tacit knowledge เป็นหัวใจ... human KM เป็นเครื่องมือทำให้เกิดแรงบันดาลใจ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ เปลี่ยนวิธีการทำงานได้

อ้อใหญ่ (เปรมสุรีณ์) เล่าว่าเมื่อก่อนนั้นรู้สึกว่าทำงานโดดเดี่ยว ไม่รู้ว่าจะต่อยอดตรงไหน พอเข้ามาในเครือข่าย ได้แนวคิดใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนเยอะขึ้น ฟังเพื่อนเยอะขึ้น รู้จักหาตัวช่วย พยายามขยายแขนขาไปตรงอื่น แต่ยังมีข้อด้อยคือการติดต่อกันต่อเนื่องยังน้อย

อ้อเล็ก (รัชดา) ได้พลังจากเพื่อนทำให้อยากจะทำหรือพัฒนาต่อ เวลาคนโทรศัพท์มาถามอยากจะให้สิ่งที่เราทำ อยากถ่ายทอดให้... มีการส่งต่อให้ไปคุยกันเอง ข้อด้อยคือในการทำงานต้องใช้เวลาส่วนตัว

หมอฝน คนที่มา (ร่วม) มีเป้าหมายงานที่ชัดเจน ไม่มี issue เรื่องเงิน ตำแหน่ง จึงอิสระ คิดทำ (งาน) โดยไม่มีเงื่อนไข ทุกคนยืนอยู่บนบริบทของตัวเอง หมุนงานได้ ... มีคนให้ความเมตตา มีคนมาดูแลเยอะ มาเติมเต็ม explicit knowledge และทำให้เคลื่อนงานได้ คนที่เข้ามาเครือข่ายได้จะต้องเสียสละ... ข้อด้อยคือยังไม่ได้มองภาพ (งาน) ชัดเจน ถ้าชัดเจนขึ้นคนอื่นอาจเข้ามา (ในเครือข่าย) ได้ง่าย... แต่ยังชอบความไม่เป็นองค์กร

คุณเอนกเสริมว่าแต่ก่อนเวลาจะสอนแพทย์ไม่รู้จะทำอย่างไร พอมีเครือข่าย แค่พาหมอเข้ามาเขาก็ได้เรียนรู้... เครือข่ายมีอาจารย์วัลลาเป็นจุดศูนย์กลาง มีความไร้ระเบียบอยู่รอบ ๆ เวลาต้องการหาคนมาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเชิญอย่างเป็นทางการ

อาจารย์ยุวนุชแนะว่าต้องรู้จักใช้เครื่องมือเพื่อให้คนรู้ว่าเราทำอะไร

 

อาจารย์ยุวนุชเก็บเรื่องราวต่าง ๆ อย่างตั้งใจ

เภสัชกรมด (ปราณี) ได้เป็นเครือข่ายแล้วมีความสุข ทุกครั้งที่จะทำงานก็มีการวางแผนที่ดี ปรับได้ตลอด ไม่มีใครว่ากัน

คุณหมอจักรกริช (มีคำถามให้เราคิดเยอะ) เข้ามาในเครือข่ายใหม่สุด เห็นทั้งข้อดี ข้อด้อยขององค์กรที่มีอิสระในตัวเอง ต้องคิดถึงความยั่งยืน การเตรียมคน... level ของเครือข่ายเป็นอย่างไร เคยเจาะลึกหรือไม่ แรงจูงใจคือทำงานแล้วมีความสุข ได้เพื่อน เราจะทำได้แค่ไหน อีก ๑๐ ปีข้างหน้าให้มองว่ามีคู่แข่งด้วย ถ้าทำให้เสริมกันไปได้จะดีกว่าไหม... ถ้าเป็น structure มากจะอุ้ยอ้าย ...มองลงล่างเยอะ แต่ไม่ได้มองแนวระนาบและมองขึ้นไป สร้าง ownership ให้คนอื่นหรือเปล่า

ประเด็นเรื่อง sustainability ดิฉันคิดว่าไม่ใช่ยึดถือผู้นำถือธงนำ แต่ให้ทุกคนเป็นผู้นำ

คุณจิตราภา หิมะทองคำ (คุณจูด้) เล่าวิธีการทำงานของมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม... เมื่อมีปัญหาต้องจัดกิจกรรมให้คนที่เกี่ยวข้องกับโจทย์

หมอฝนพูดว่าเครือข่ายไม่ได้ทำงานสอน แต่ควรมีการเชื่อมต่อกับแหล่งสอน ให้มีมุมมองที่เห็นพลังของคนที่มีส่วนร่วม ควรหมุนความรู้เข้าสู่สถาบันการศึกษา (มีปัญหาการทำงานของคนที่จบออกมา)

แต่ละคนยังช่วยกันคิดช่วยกันพูดอีกหลายประเด็น อาทิ
- สร้างให้เห็นปัญหาใกล้ตัว สร้างแรงบันดาลใจ
- ทำให้ปัญหาของผู้ป่วยเป็นที่รู้
- ใช้ยุทธวิธีในการจัดการ
- ที่ผ่านมาเครือข่ายทำอะไร เอาคนที่ทำได้ดีเข้ามา ให้คนมาเรียนรู้ คนที่เข้ามาได้แรงบันดาลใจ เอา explicit knowledge มาใช้ได้จริง เกิดการแตกยอด
- สนใจกลุ่มเสี่ยง อยากให้มีเรื่องนี้ในเครือข่ายเยอะขึ้น (ยังไม่ได้ทำมาก)
- ฯลฯ

อาจารย์เทพบอกว่าการดูแลคนที่เป็นเบาหวานเหมือนกับคน prediabetes แต่ยากกว่า ในคน prediabetes สำคัญตรงการสร้างความตระหนัก คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการหมอ

ยังมีการเล่าถึงการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เราสามารถไปค้นหา best practices ได้ เช่น ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ โครงการคนไทยไร้พุง โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยฯ ... จะมีการเปิดตัวโครงการสุขภาพดี วิถีไทย ฯลฯ

ฟังความคิดเห็นของหลายท่านแล้ว ดิฉันได้ความคิดว่าควรจะให้อาจารย์ ดร.ยุวนุช วิเคราะห์เรื่องราวการทำงานของเครือข่าย เขียนเป็นหนังสือเพื่อตอบคำถามว่า เครือข่ายเราทำอะไร เครือข่ายเราเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อด้อยอะไร....และอื่น ๆ เนื่องจากเราอาจมองตัวเองไม่เห็น ตอบคำถามได้ไม่ชัด และยังรู้สึกว่าหลายเรื่องที่เราได้ทำแล้วยัง invisible 

กว่าจะเลิกประชุมไปกินอาหารเย็นกันก็ค่ำพอดี มื้อเย็นวันนี้เราไปกินอาหารที่ไวน์เนอร์รี่ (ความจริงอยากจะมาพักที่นี่ แต่วันที่หมอฝนมาสำรวจสถานที่เขาปิด) ได้กินชีสทอด เสต็กเนื้อ ปลาแซลมอน ไส้กรอกปลา ซี่โครงหมูบาร์บีคิว ฯลฯ ก่อนกลับทีมเด็ก ๆ (อายุไม่น้อย) ตาไว เห็นเสื้อยืด ปัก “วังน้ำเขียว” เลยพากันเลือกซื้อคนละตัว (รื้อดูทุกตัวที่อยู่ในลัง) เรานัดกันใส่เสื้อตัวนี้ในวันรุ่งขึ้น

กลับถึงที่พัก แวะเอาของที่บ้านชีวาณฤมิตร....น้อง ๆ เดินไปส่งที่บ้านคำหวาน ระหว่างทางพบว่าดอกไม้จีนบานขาวเชียว

 

ดอกไม้บานยามค่ำ

 

ชิงช้าที่ว่างเปล่า

อาบน้ำแล้วนอนคุยกับอาจารย์นุชไปเรื่อย กว่าจะหลับก็ดึกพอควร อากาศเย็นพอสบาย ไม่ต้องเปิดแอร์หรือพัดลม

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 480955เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท