จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

คนพิการกับคุณภาพชีวิต


คนพิการ กิจกรรมบำบัด ตุณภาพชีวิต

คนพิการกับคุณภาพชีวิต

คนพิการ คือ คนที่ถูกจำกัดความสามารถหรือเกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้ และมีความต้องการจําเป็นพิเศษ ด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป หรือในอีกนัยหนึ่งกล่าวคือ คนพิการคือ เป็นความเสียเปรียบของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่เกิดจากความชํารุดหรือความสามารถบกพร่อง เป็นผลทําให้บุคคลนั้น ไม่อาจแสดงบทบาท หรือกระทําอะไรให้เหมาะสมสอดคล้องตามวัย สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมได้(WHO)

 

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552 โดยข้อ 2 ได้กำหนดประเภทของคนพิการไว้ 9 ประเภท ดังนี้ 
1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น (คนตาบอดและคนมองเห็นเลือนลาง) 

2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (คนหูหนวกและคนหูตึง)

3.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

4.บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ  (โรคทางระบบประสาท,โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ,โรคไม่สมประกอบแต่กำเนิดและสภาพความพิการและความบกพร่องทางสุขภาพด้านอื่นๆ)

5.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 

6.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 

7.บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 

8.บุคคลออทิสติก 

9.บุคคลพิการซ้อน 

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำรงสมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์ การศาสนา การศึกษา สังคม อาชีพ หรือกระบวนการอื่นใด เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในที่นี้มีทั้งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลแลส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนพิการ รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนช่วยเหลือให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากที่สุดหรือใกล้เคียงกับปกติให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้พิการได้มีส่วนร่วมในสังคม ได้ทำกิจกรรมที่ตนสนใจและนำไปสู่การมีความเป็นอยู่ที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดี

             นอกจากการช่วยเหลือจากบุคลากรหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว การออกกฎหมายเพื่อให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐยังเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อคนพิการและเห็นถึงสิทธิทีคนพิการได้รับ ดังนี้

(1) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ 

(2) การศึกษาตามกฎหมายตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบโดย

(3) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการอื่นเพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

(4) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป 

(5) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการอันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี 

(6) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ 

(7) บริการล่ามภาษามือ

(8) สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่มเติมสำหรับสัตว์ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว

(9) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

(10) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

นอกจากนี้คนพิการยังได้รับสิทธิอีกหลายด้าน เช่น

  • คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ   
  • ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษาการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเองได้
  • คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด
  • ฯลฯ

 

          การที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นต้องเริ่มมาจากการมีสุขภาพร่างกายที่ดีก่อน ซึ่งสำหรับในผู้พิการแล้วนั้นไม่อาจมีสภาวะของร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงครบร้อยเปอร์เซ็นได้เนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกายในด้านใดด้านหนึ่ง  การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้พิการ บุคคลากรทางการแพทย์หลายด้านจึงมีบทบาทสำคัญดังนี้

 

นิยามรายการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์

  • กายภาพบำบัด  การกระทำต่อมนุษย์โดยวิธีทางกายภาพบำบัดเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการของร่างกาย อันเนื่องมาจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายในการดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
  • กิจกรรมบำบัด การใช้กิจกรรมที่ มีเป้าหมายกับบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดจากการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยทางกาย ความบกพร่องทางจิตสังคม ความบกพร่องทางด้านพัฒนาการหรือการเรียนรู้จากกระบวนการเสื่อมถอยตามวัย เพื่อให้มีอิสระพึ่งตนเองได้มากที่สุด บริการเฉพาะทางกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การสอนทักษะทางกิจวัตรประจำวันการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวและการรับรู้และทำหน้าที่ของกระบวนการผสมผสานความรู้สึก การพัฒนาทักษะการเล่นและความสามารถทางด้านการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ และความสามารถในกิจกรรมยามว่าง การออกแบบประดิษฐ์หรือเลือกใช้เครื่องดามพยุงข้อหรือุปกรณ์ดัดแปลง/เครื่องช่วยคนพิการ
  • การประเมินการแก้ไขการพูด
  • การประเมินการแก้ไขการมองเห็น
  • Early Intervention
  • Phenol block

                             เป็นต้น

 

 

ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการในหน่วยงานต่างๆ

“TK Park จับมือ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และ PWD ผลักดันกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะ และ ความรู้ให้ผู้พิการ

          เพื่อหวังพัฒนาคุณภาพและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างคนพิการและคนปรกติให้เข้าใจกันและกันมากขึ้น  

          ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล  รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) กล่าวในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างมูลนิธิสากรเพื่อคนพิการ TK Park  และ บริษัท พีดับบลิวดี มัลติมีเดีย จำกัด เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้สำหรับการพัฒนาศักยภาพผู้พิการว่า การลงนามร่วมกันทั้งสามฝ่ายนี้เป็นการส่งเสริมวิสัยทัศน์ โอกาส และช่องทางในการพัฒนาการประกอบอาชีพซึ่งถือเป็นศักยภาพอย่างหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการดีขึ้น  

 

 "กิจกรรมงานวันคนพิการสากลจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ ๑๑"

           องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคนพิการ จึงได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของคนพิการและองค์กรคนพิการในจังหวัดมาโดยตลอด อาทิเช่น การสนับสนุนโครงการกองทุนสวัสดิการคนพิการจังหวัดจันทบุรี เพื่อส่งเสริมให้คนพิการมีระบบสวัสดิการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการคนพิการใน ๗๘ พื้นที่ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษทุกประเภทจังหวัดจันทบุรี สนับสนุนการจัดงานวันคนพิการสากล จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น ด้วยมุ่งหวังว่าคนพิการ และครอบครัวคนพิการในจังหวัดจันทบุรีจะได้มีโอกาสมาพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถและศักยภาพเท่าเทียมกับคนทั่วไป

 

“มหกรรมตลาดอาชีพสำหรับคนพิการ” 

           สำนักนักงานเลขาธิการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) จับมือ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และสภาคนพิการทุกประเภท  จัดงาน “มหกรรมตลาดอาชีพสำหรับคนพิการ” ขึ้น  ในโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรา 33,34,35 และ 39 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ.2550  ตามนโยบายของรัฐบาลด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาส มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาเสริมพลังในการทำให้สิทธิของคนพิการด้าน การประกอบอาชีพและการมีงานทำ รวมถึงสิทธิอื่นๆ อันเป็นการสร้างสังคมไทยให้อยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข  ให้เป็นจริงต่อไป

 

 “คนพิการกับคุณภาพชีวิต” นำมาปรับใช้อย่างไรกับชีวิตของเรา?

           สำหรับดิฉันแล้วการได้เข้ามาเรียนในสาขากิจกรรมบำบัดก็เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือในผู้พิการก็ตาม เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด การที่เราได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของผู้พิการอย่างลึกซึ้ง  ทำให้เราสามารถเข้าใจและให้การรักษาผู้พิการอย่างตรงจุด และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในสาขานี้โดยตรง 

           โดยส่วนตัวแล้วดิฉันเห็นความสำคัญของผู้พิการอย่างมาก เนื่องจากในสังคมไทยยังมีผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก และในครอบครัวของดิฉันเองก็มีผู้ป่วยอยู่ด้วย ความรู้เกี่ยวกับผู้พิการจึงถือเป็นปัจจัยแรกในการนำมาประกอบการวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการ การมีความเป็นอยู่ที่ดี นำไปสู่การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้พิการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในสังคมเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในอีกทางหนึ่งด้วย

          นอกจากความรู้เหล่าจะเป็นประโยชน์สำหรับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดแล้ว  ยังเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้พิการในชุมชนของดิฉัน เพราะการที่ชุมชนจะเข้มแข็งและคนในชุมชนจะมีความสุขได้นั้นต้องเริ่มที่สุขภาพร่างกายแต่ในผู้พิการนั้นไม่อาจมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจึงมีหน้าที่ในการให้ความรู้และจัดกิจกรรมให้แก่คนพิการภายในชุมชนเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรม ให้ผู้พิการได้พบปะ มีส่วนร่วมได้ปฏิสัมพันธ์กัน ได้ทำในสิ่งที่ตนสนใจ เกิดความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

          กรุงเทพธุรกิจออนไลน์.การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (1).วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากกรุงเทพธุรกิจ: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/tax/20100106/94045/.html

 

          ข่าวสดออนไลน์.พม.เชิญร่วมงาน “มหกรรมตลาดอาชีพสำหรับคนพิการ” .วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากข่าวสด: http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1ETXlPVGN6TXc9PQ==&subcatid=

 

          พวงแก้ว กิจกรรม.ประเภทของคนพิการ.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากsichon.wu.ac.th:

http://sichon.wu.ac.th/file/pt-shh-20110120-171550-LGxcP.pdf


          วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.ความพิการ.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี:

http://th.wikipedia.org/wiki/


         วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล.เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล: http://www.rs.mahidol.ac.th/thai/ict/disable-mean.html นโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (Assistive Technology)

 

          สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.กิจกรรม(เพื่อคนพิการ).วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ: http://www.nep.go.th/home.php

 

          สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.บทบาทภาครัฐเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข: http://bps.ops.moph.go.th/.pdf

 

          อบจ.จันทบุรี. (โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ด้อยโอกาสในชุมชนจังหวัดจันทบุรี "กิจกรรมงานวันคนพิการสากลจังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ ๑๑" ในวันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์ปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี: http://www.chan-pao.go.th/activity-id122.html

 

          kamolchanok saichana.  ประเภทของคนพิการไว้ 9 ประเภท .วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จากครูบ้านนอก.คอม: http://www.kroobannok.com/29680

 

          TK Park.3 หน่วยงานรัฐ-เอกชน ผนึกพลังสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อผู้พิการ.วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555,จาก kapok.com: http://icare.kapook.com/disability.php?ac=detail&s_id=70&id=3132

 

 

โดย..จิ๊บ พัชรี

หมายเลขบันทึก: 480244เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท