ระบบการจัดการความรู้ของบริษัท Fuji Xerox ประเทศญี่ปุ่น


บริษัทให้ความสำคัญกับคนและสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์กันในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge

ระบบการจัดการความรู้ของบริษัท Fuji Xerox ประเทศญี่ปุ่น

                บริษัท Fuji Xerox ประเทศญี่ปุ่น  มีการจัดตั้งหน่วยที่เรียกว่า KnowledgeDynamics Initiative (KDI) ขึ้นมา โดยเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ ในเครือในการพัฒนาระบบ KM ขององค์กร รวมทั้งสามารถหารายได้จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรอื่นๆ ด้วย ซึ่งในการพัฒนาระบบ KM นั้น บริษัท Fuji Xerox ได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร (Human Oriented Management) ส่วนการพัฒนา IT เป็นเพียงปัจจัยสนับสนุน ไม่ใช่ปัจจัยนำของการพัฒนา ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของบริษัทพบว่า การใช้การพัฒนา IT เป็นปัจจัยนำ เพื่อพัฒนาระบบ KM ขององค์กร เป็นความผิดพลาดอย่างมาก และจะนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญกับคนและสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กันในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge 

             การจัดการความรู้ของ  Fuji Xerox นั้นเน้นความสัมพันธ์ของ 3 มิติ คือคน (Human Perspective) บรรยากาศแวดล้อม (Environment Perspective) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Perspective) โดยจากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่กำหนดว่า “สร้างบรรยากาศเพื่อสนับสนุนบุคลากรที่ใช้องค์ความรู้ (Provide environment to support knowledge worker)”จะเห็นได้ว่า บริษัท Fuji Xerox ให้ความสำคัญอย่างมากในการสร้างปัจจัยด้านบรรยากาศแวดล้อม ซึ่งที่เรียกว่า “Ba” ที่กระตุ้นและเอื้อให้คนในองค์กรเกิดความใฝ่เรียนรู้ และใช้องค์ความรู้เพื่อให้เกิดผลในทางธุรกิจ (Leverage individual ideas and passion into business results) รวมทั้งมีการสร้าง Community of Practice (CoP) เพื่อต้องการเชื่อมโยงคนในองค์กรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ โดยใช้กระบวนการที่ไม่เป็นทางการ(informal) และจุดเน้นที่สำคัญคือ “การเชื่อมโยงคน” ไม่ใช่ “การรวบรวมข้อมูล” (KM is not “Collecting Data” but “Connecting People”) นอกจากนี้ บริษัทมีค่านิยมพื้นฐาน คือเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความคิด (ideas) สามารถเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ได้เสมอ สำหรับ  Fuji Xerox ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรโดยใช้ความรู้

             นอกจากนี้ ผู้บริหารของบริษัทยังเล็งเห็นความสำคัญว่าจุดเน้นสำคัญของการพัฒนาระบบKM ไม่ใช่อยู่ที่ “กระบวนการ (Process)” เท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อ “แนวปฎิบัติ (Practice)” ดังนั้น จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบ KM ของบริษัทอย่างต่อเนื่อง จึงได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ (new business group) เรียกว่าKnowledge Dynamic Initiatives Group (KDI) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นกลุ่มที่ปรึกษาที่จะสนับสนุนการสร้างสรรค์ความรู้ของบริษัท และลูกค้า โดยมีจุดเน้นที่การกระตุ้นพนักงานแต่ละคน (Motivated Individuals) และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีพลวัตร(Dynamic “ba”) ความจริงจังมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนระบบ KM ของผู้บริหารบริษัท FujiXerox เห็นได้ชัดเจนจากการที่ผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรม KM ของบริษัทในทุกกิจกรรมและเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมทำงานในโครงการด้าน KM ต่างๆ เช่น Virtual Hollywoodซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน โดยอนุญาตให้พนักงานใช้เวลางานบางส่วนในการดำเนินโครงการได้ 

หมายเลขบันทึก: 479922เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นตัวอย่างการจัดการความรู้ที่ดี เป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน...

การจัดการความรู้ของของฟูจิ ทำให้เราเห็นว่ากว่าการที่องค์กรจะสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ ต้องอาศัยความอดทน การสั่งสมองค์ความรู้และรู้จักการถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคคลในองค์กร และบุคคลในองค์กรร่วมกันพัฒนาสินค้าของฟูจิออกมาให้ตรงความตรงการของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้านใหญ่ๆคือ คน บรรยากาศแวดล้อมและเทคโนโลยี ถ้าเราอยากจะก้าวไกลเหมือนฟูจิต้องอดทน ขยัน สร้างสภาวะแวดฃล้อมที่กระตุ้นคนในองค์กรให้เกิดการเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท