ทำไมเด็กไทยไอคิวต่ำ (๓.การสอนให้คิด)


พอคิดได้ว่าต้องคิด ก็ “คิดกันผิดๆ” ซะอีก เวรกรรมจริงๆ ประเทศไทย

ทำไมเด็กไทยไอคิวต่ำ๓ (พิษของการสอนแบบไม่คิด)

 

 

(อ่านตอน ๒ คลิกที่นี่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/479297)

 

ก่อนพศ. ๒๕๔๕ ที่จะมีการสอนแบบใบงาน (ซึ่งเป็นวิธีการ “โง่ๆ”  และมักง่าย ที่นักวิชาการไทยคิดกันขึ้นมาเพื่อรองรับหลักการสอนแบบ “ควายเซ็นเตอร์) นั้น เราก็มีการสอนแบบโบราณเรื่อยมา ที่เป็นการ “บอกความรู้”  ซึ่งผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยนักหรอกกับวิธีการเก่า..

 

 แต่ผมว่า “บอกความรู้แบบโบราณ”  นั้น ยังดีเสียกว่าการสอนแบบใบงาน 100 เท่า เพราะบอกไปบอกมาบ่อยๆ เข้า ครูก็อาจคิดออก หาวิธีบอกที่ดีขึ้นเรื่อยๆได้สักวันหรอก  แต่การสอนแบบใบงานนั้น ครูเองก็จะยิ่ง “โง่ขึ้น” ทุกวันทุกวัน เพราะแต่ละปีไม่ได้คิดอะไรใหม่เลย แค่มอบใบงานเดิมๆให้เด็กเอาไปทำกันเองตามยถากรรม ระบบเก่ายังดีที่ต้องพ่นนกแก้วหน้าชั้นเรียนให้เด็กฟังบ่อยๆ ยังอาจโพล่งคิดอะไรออกขณะสอนบ้าง

 

ผมเคยไปแนะนำเด็กมัธยมในต่างประเทศให้ลงเรียนวิชา Art Design กับ History ร่วมกันในหนึ่งเทอร์มการเรียน เด็กก็เชื่อ พอไปลงทะเบียนครูที่ปรึกษาเขาวีโต้ว่า ขอให้กลับมาคิดให้ดี เพราะคงเรียนสองวิชานี้พร้อมกันไม่ได้หรอก เนื่องจากมันมันต้องเสียเวลามากทั้งคู่  กล่าวคือต้องมีการ “วิเคราะห์และเขียนรายงานมาก” ทั้งคู่ 

 

...ไอ้เราเคยชินกับระบบบ้านเรา คิดว่า Art Design ก็วาดรูป เขียนรูป ประวัติศาสตร์ก็แค่ท่องจำเหตุการณ์ปีพศ. ก็สอบผ่านแล้ว ..แต่ของเขาศิลปะ ต้องวิเคราะห์เจาะลึกแล้วเขียนอธิบายว่ามันสวยอย่างไร ในแง่มุมไหน ส่วนประวัติศาสตร์ก็ต้องวิจารณ์ว่า เหตุการณ์ต่างๆนั้นมันมีทางเลือกอื่นไหม ถ้ามีหรือไม่มีเพราะอะไร

 

โห..มันเรียนต่างจากเรามากเลยนะ ตอนเราเรียนประวัติศาสตร์ก็แค่จำว่าพระนเรศวร รบกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่  ชนะหรือแพ้  แค่นี้ก็สอบผ่านแล้ว (วงๆเอา) แต่ของเขาเรียนว่า ทำไมต้องรบ จะมีวิธีเลี่ยงการรบได้ไหม เป็นต้น..แบบนี้ก็ไม่แปลกว่าทำไมเด็กฝรั่งมันก็ฉลาดกว่า และไอคิวสูงกว่าเด็กเรา เพราะมันสอนให้คิดวิเคราะห์กันแต่เด็กๆ นั่นเอง ส่วนของเรา “จำ” โดยไม่คิด

 

พอคิดได้ว่าต้องคิด ก็ “คิดกันผิดๆ” ซะอีก เวรกรรมจริงๆ ประเทศไทย

 

ส่วนวาดรูปนั้นเด็กไทยเราก็วาดให้สวย ตามที่ครูบอก ถ้าใครวาดได้เหมือนครู ก็ถูกใจครู ก็ได้คะแนนสูง  ส่วนของเขาให้วาดให้สวย “ให้ถูกใจเด็ก”  แล้วให้เด็กวิเคราะห์ว่ามันสวยอย่างไร ถ้าวิเคราะห์ได้ดีก็ได้คะแนนดี แม้อาจไม่สวยถูกใจครู เพราะความสวยนั้นว่าไปแล้วมันเป็น อัตวิสัย เสีย 100% แต่ในโลกที่ต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ก็เอาเป็นว่า อัตวิสัยเสีย 50 และ ภววิสัย  เสีย 50 ก็แล้วกัน ครูกะนักเรียนก็พบกันที่ครึ่งทาง

 

..เอาไอคิวเพิ่มไปอีก 10 แต้มนะ เด็กฝรั่งเอ๋ย

 

...คนถางทาง (๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)

 

 

หมายเลขบันทึก: 479398เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 02:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..วาดรูปนั้นเด็กไทยเราก็วาดให้สวย ตามที่ครูบอก ถ้าใครวาดได้เหมือนครู ก็ถูกใจครู ก็ได้คะแนนสูง...คงจะมีประเทศเดียวในโลกนะครับที่เป็นอย่างนี้

ขอบคุณที่ห่วงใยการศึกษาบ้านเราคะ

รู้สึกเหมือนกันว่าตอนสอนหน้าชั้น สอนๆ ไป บ่อยครั้ง นึกขึ้นได้เหมือนกันว่า

"อ้าว นี่เรายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ นี่นา" "เราพูดแบบนี้ เด็กครึ่งห้องงง"

...

จากที่พบเห็นมา

ปรัชญาการให้เรียนรู้ด้วยการมอบหมายให้งานไปทำ ทำเสร็จมานำเสนอ นั้นดี

แต่เมื่อนำมาปฎิบัติ

ปัญหาอยู่ที่ design ของใบงาน คือ ไม่ท้าทายพอ คือ ไม่ต้องการวิเคราะห์ อย่างที่คุณคนถางทางว่าคะ

และการประเมินผล ก็มีได้แค่คำตอบเดียว หรือ น่ากลัวกว่านั้นคือตามใจฉัน ไร้หลักเกณฑ์

มีทฤษฎี รูปแบบการสอน วิธีสอน หลากหลาย ที่เน้นการคิด ที่ครูสามารถเลือกนำมาใช้ได้ ให้เหมาะกับเนื้อหา และเด็กตัวเอง

เด็กก็สอบได้นะ ก็คงวงๆ เอา บางทีก็คงเดาบ้าง กรณีไม่รู้ศัพท์ แต่รู้แกรมมา ก็พอไปได้ แต่พอมาเจอ O-Net ที่ต้องคิด วิเคราะห์

จบเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท