ผชช.ว.ตาก (๗๕): โครงการ PLE


ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพแก่ประชากรชายแดนโดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและเพิ่มความยั่งยืนการเข้าถึงฯ ทั้งการป้องกันและการรักษาโรคในระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

การสิ้นสุดโครงการชิลด์เมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ส่งผลกระทบมากพอควรกับการดำเนินงานสุขภาพชายแดน โดยเฉพาะบุคคลากรที่ได้จ้างไว้ทำงานในศูนย์สุขภาพชุมชนชายแดนหรือHealth post ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของโครงการเองทั้งส่วนที่ทำงานใน สสจ.ตากและในองค์กรไออาร์ซี แม่สอด ในขณะที่คุณหมอนาย ผอ.องค์กรไออาร์ซี แม่สอด ก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะหางบประมาณมาสนับสนุนต่อไป แต่ชิลด์ก็จบไปจริงๆ

ความฝันที่จะสานงานสุขภาพชายแดนต่อมีความหวังและเป็นจริงอีกครั้งเมื่อUSAID ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้ไออาร์ซีทำโครงการต่อแต่ในชื่อใหม่ นั่นคือโครงการPLE (PROJECT FOR LOCAL EMPOWERMENT) โดยเป็นทั้งการสานต่องานเดิมและต่อเติมต่อยอดความเข้มแข็งขึ้นไปอีก

มีเป้าประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพแก่ประชากรชายแดนโดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพทีเหมาะสมและเพิ่มความยั่งยืนการเข้าถึงฯ ทั้งการป้องกันและการรักษาโรคในระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่อย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดไว้ ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อสรรหาและจัดจ้าง พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน จำนวน ๑๘ คน และ พนักงานธุรการ การเงิน โครงการ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาการ ตามแนวชายแดนไทย พม่า ในพื้นที่เป้าหมาย

๒. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเครือข่าย อสม. และอสชช.  ให้เกิดความเข้มแข้งและเชื่อมโยงไปยังระดับชุมน ผู้นำชุมน และส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคในชุมชน

๓. เพื่อบูรณการและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยมีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันโรค ระหว่าง อสม. และอสชช.  และสู่ระดับชุมชน

กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการในพื้นที่เดิมเป็นส่วนใหญ่และเพิ่มพื้นที่ใหม่ตามแนวตะเข็บชายแดนในเขตอำเภอแม่สอด

  • ภายใต้โรงพยาบาลแม่สอด  ๓ ชุมชน และ ๓๐ โรงงาน
  • ภายใต้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด  ๘ ชุมชน
  • ภายใต้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาด ๓ ชุมชน
  • ภายใต้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ๓ ชุมชน
  • ภายใต้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพบพระ  ๙ ชุมชน
  • พื้นที่เป้หมายทั้งหมด คือ โรงงาน ๓๐ แห่ง และชุมชน ๒๖ แห่ง ตามตารางที่ ๔

ระยะเวลาดำเนินโครงการ จากโครงการชิลด์ ๖ ปีเหลือเป็นโครงการเปิ้ล ๓ ปี คือตั้งแต่ ๑ มกราคม๒๕๕๕ ถึง  ๓๑  กรกฎาคม ๒๕๕๘ แม้จะไม่ได้เป็นผู้จัดการโครงการต่อเพราะย้ายที่ทำงาน แต่ในช่วงวางรากฐานก็ได้มีส่วนร่วม และมั่นใจว่าทีมงาน สสจ.ตากและไออาร์ซี จะสามารถดำเนินโครงการนี้ไปได้อย่างดีเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 479243เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจมากค่ะที่ได้ร่วมงานกับคุณหมอพิเชฐ รู้สึกตัวเองเป็นคนโชคดีที่ได้มาเป็นคนทำงานภายใต้คุณหมอพิเชฐและคุณหมอนาย และตอนนี้ยังคงทำงานต่อใน PLE

คิดว่ารากฐานที่คุณหมอวางไว้ทำให้หลายคนได้โอกาสนั้น และน้อง ๆ ที่ได้รับโอกาสยังพูดถึงคุณหมออยู่เสมอแม้ว่าคุณหมอจะย้ายไปอยู่อีกจังหวัดหนึ่งก็ตาม

ขอบคุณโอกาสที่ให้ทำงานอยู่ภายใต้คุณหมอค่ะ

สุทธินี สีใจคำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท