การปฏิรูปผลผลิตเกษตรเพื่อสู้กับภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น


เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่วังวนของการแข่งขัน หาวิธีการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น มองผลกำไรเป็นตัวชี้วัด..ซึ่งก็ไม่ผิด..ถ้าทำให้ถูกวิถีและรากฐานของตนเอง

     "เกษตรกรรม" เป็นวิถีชีวิต..เป็นรากฐานอันดีของสังคมมาช้านาน.. "ชาวสยาม"ในอดีตหรือ"ชาวไทย"ในปัจจุบัน ล้วนก่อกำเนิดจากเกษตรกรรมแทบทั้งสิ้น.. แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการแข่งขัน และกีดกันสินค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบกับ คนที่ทำเกษตรกรรม(เกษตรกร)

    เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่วังวนของการแข่งขัน หาวิธีการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น มองผลกำไรเป็นตัวชี้วัด..ซึ่งก็ไม่ผิด..ถ้าทำให้ถูกวิถีและรากฐานของตนเอง

   ปัจจุบันผลผลิตเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีตเพราะเข้าสู่วิถีการค้า เกษตรกรไทยผลิตสินค้าออกสู่ตลาดโลกส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ซึ่งต้องแข่งขันกับประเทศต่างๆมากมาย ภาวะการกีดกันการค้า เทคโนโลยีการผลิต ราคาน้ำมัน ล้วนมีผลกระทบต่อการส่งออกของสินค้าเกษตรไทย

    การปฏิรูปผลผลิตการเกษตรคือการหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตโดยจะต้องยึดแนวทางภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเทคโนโลยีชาวบ้านที่เข้าใจง่าย ทำง่าย นำมาปรับใช้ได้ให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นจากวิถีและภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านมากมาย โดยนักวิชาการจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้กับเกษตรกรไม่ใช่ชี้นำเกษตรกรเหมือนในอดีตที่ผ่านมา....

   วิถีและรากฐานของสังคมเกิดจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ถ้ารุ่นหนึ่งถ่ายทอดวิถีที่ผิดไม่เหมาะสมไป ก็เสมือนการแพร่กระจายของมะเร็งร้ายนั่นเอง...

หมายเลขบันทึก: 478935เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท