แนวคิดของการประกันคุณภาพการศึกษา


Education Quality Assurance

แนวคิดของการประกันคุณภาพการศึกษา

                แนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษามีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งระบบต่าง ๆ ให้มีความพร้อมกับการขยายตัว มีการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้สถาบันการศึกษาของประเทศไทย จำเป็นจะต้องสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานภายในสถานศึกษา ในแต่ละส่วนดำเนินไปอย่างมีระบบ แบบแผน และสามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้องโปร่งใส  สาธารณชนสามารถรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษา  จึงได้มีแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการทางการศึกษาโดยตรงได้แก่ นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม ซึ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน

1.การพัฒนาคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ และพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน

2.การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ (Quality Audit  ) และติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

3.การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment  )เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่ และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลาง โดยการตรวจเยี่ยม และประเมินสถานศึกษาเป็นระยะ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การช่วยเหลือ และเตรียมพร้อมเพื่อรอรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก

ในการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพนั้น  จะต้องทำให้การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ การบริหารจัดการนี้เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ โดยต้องมีกระบวนการวางแผน (Plan) ปฏิบัติการตามแผน (Do) ตรวจสอบประเมินผล (Check)  และพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ (Act)  ซึ่งหลักการนี้เป็นการบริหารคุณภาพครบวงจร (PDCA)  ของเดมมิ่ง  วงจร  PDCA

                        เป็นวงจรการวางแผน  ลงมือทำ  ตรวจสอบ  และปฏิบัติ  เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุง  มีพัฒนาการจากการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ  โดยมีลักษณะเป็นวงจรต่อเนื่อง

                        ทั้งนี้อาจอธิบายถึงกระบวนการ  4  ขั้นตอนโดยสังเขปได้ดังนี้

1)      วางแผน (plan)  ต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญ  เช่น

  • การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายให้ชัดเจน
  • การกำหนดคุณลักษณะที่ใช้ในการควบคุม
  • การกำหนดวิธีการทำงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  เป็นต้น

2)      ลงมือทำ  (do)  ได้แก่

  • ศึกษาและฝึกอบรมให้เข้าใจวิธีการทำงานในแต่ครั้ง และลงมือปฏิบัติ
  •  เก็บข้อมูลคุณลักษณะทางด้านคุณภาพตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้  เป็นต้น

                  3)      ตรวจสอบ  (check)  ซึ่งเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของงานและการ

ประเมินผล สิ่งที่ได้ลงมือปฏิบัติไปแล้ว  เช่น

  • ตรวจสอบว่างานที่ทำได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
  • ตรวจตราคุณลักษณะทางด้นคุณภาพว่าตรงตามเป้าหมายหรือไม่  เป็นต้น

4)      ปฏิบัติและแก้ไขปรับปรุง  (act)  เมื่อตรวจสอบสิ่งที่ได้ทำตามแผนพบว่ามีความ

ผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง  ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุง  เช่น

  • แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา
  • ค้นหาสาเหตุ  แล้วทำการป้องกัน  เพื่อไมให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก
  • หาทางพัฒนาระบบหรือปรับปรุงการทำงานนั้นๆ โดยตรง  เป็นต้น

เมื่อมีการนำ  PDCA  มาใช้ในการปรับปรุงการบริหาร  โดยเฉพาะเน้นด้านการควบคุมคุณภาพ  จึงมีการขยายผลกระบวนการ  เพิ่มขั้นตอนเชิงปฏิบัติโดยละเอียดมากขึ้น  แต่ในแนวคิดหลักยังคงขั้นตอนสำคัญทั้ง  4  คือ  plan-do-check-action  อย่างครบถ้วน  นอกจากนี้อาจมีการขยายผลวงจร  PDCA  เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงรูปธรรมอย่างชัดเจน

 

มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้
                                1. การพัฒนาคุณภาพ
                                2. การตรวจติดตามคุณภาพ
                                3. การประเมินคุณภาพ

จากแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาข้างต้น  ทำให้ทราบถึงกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบชัดเจนมากขึ้น  เป็นผลทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน  สามารถที่จะนำกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาและวงจรคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน  และเป็นภาพรวมที่มีคุณภาพต่องานประกันคุณภาพขององค์กรหรือหน่วยงาน  แต่การที่งานในแต่ละด้านจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้  องค์กรหรือหน่วยงานจำเป็นที่จะต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ 

         

         

 

คำสำคัญ (Tags): #qa
หมายเลขบันทึก: 478929เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ระบบวงจรคุณภาพดีไหม ผมก็เห็นด้วยว่าดีครับ แต่ผมว่าการตรวจสอบแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสามารถปรับให้เข้ากับบริบทของเราได้อีก...

ใช่ครับอาจารย์ เพราะวงจรคุณภาพเป็นกรอบกำหนดให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน แต่การประเมินหรือการตรวจสอบคุณภาพผมคิดว่า ควรต้องมีการปรับให้เป็นระบบเดียวกันในส่วนของหลักฐานการดำเนินงาน และเกณฑ์ที่คิดว่าไม่เหมาะสมก็น่าจะสามารถปรับได้

แล้วเราจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไร

ทฤษฏีของการประกันคุณภาพ​คืออะไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท