Facilitator ในชีวิตประจำวัน


การนำบทบาทของ Facilitator ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     ผมลองนำบทบาทของ Facilitator  ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  นำไปใช้ทั้งที่บ้่าน   ที่ทำงาน   และ กลุ่มเพื่อน   ดังนี้ครับ


     1.  ใช้ในเรื่องของการฟัง  ฟังมากกว่าพูด   ฟังให้ครบถ้วนกระบวนความโดยไม่พูดแทรก และ ฟังให้เข้าใจโดยไม่รีบตัดสิน  


     2.  ใช้ในเื่รื่องของการสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย พื้นที่แห่งความไว้วางใจ  ตรงนี้ เวลาใครพูด   ผมจะไม่ตำหนิ ไม่โจมตี   ไม่พูดข่ม  ไม่ขวางความคิด  บางที  ถ้าผมไม่เห็นด้วย  ผมจะไม่ไปโจมตีความคิดเดิมว่าผิด  แต่ผมจะขอเสนอมุมมองใหม่อีกมุมมอง   โดยบอกว่าเป็นมุมมองส่วนตัวของผมเอง  เป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อาจจะผิดก็ได้


    3. เมื่อจะทำ KM ผมจะทำแบบไม่เป็นทางการ  โดยไม่ให้รู้ตัว  เช่น  เวลาประชุมในที่ทำงาน ก็จะจัดประชุมแบบไม่เป็ทางการ  ไม่เน้นรูปแบบ  ไม่เน้นกฏระเบียบ   แต่จะเน้นการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม  หรือ จะทำ KM ในกลุ่มงานที่ผมรับผิดชอบอยู่  ผมก็จะทำ KM ส้มตำ  คือ พาไปกินข้าวเหนียว  ไก่ย่าง ลาบ  ส้มตำ  ให้เขาได้กินแล้วก็คุยกัน  ผมก็ฟัง แล้วใช้คำถามเป็นระยะ  KM ในครอบครัว ก็อยู่ในวงข้าว  ตอนเช้า และ ตอนเย็น


    4. ผมพยายามจะทำใจให้ว่างเปล่า  ในการสนทนากับใครในชีวิตประจำวัน  และพยายามจับดูว่า ที่ใครเขาสนทนากับเรา  เขารู้สึกอย่างไร  และ ต้องการอะไร  ส่วนใหญ่ก็ต้องการให้เราฟังเขาให้เข้าใจ  เราเพียงแต่ฟังให้เข้าใจ  โดยไม่ต้องไปบอก  ไม่ต้องไปสอน  แค่นั้น เขาก็สบายใจแล้วครับ  นอกจากว่า  ถ้าเขาต้องการให้บอก ให้สอน  เขาจะบอกเองว่า  มาขอคำแนะนำ  หรือ มาขอคำปรึกษาหน่อย  ผมจึงค่อยให้คำแนะนำเขาไป  ถ้าเป็นคำแนะนำเรื่องกฏระเบียบ  เรื่องข้อมูล  ก็ให้ข้อมูลเขาไปว่า สิ่งที่ถูกต้องทำอย่างไร  แต่ถ้าเป็นเรื่องความคิดเห็นส่วนตัว  เรื่องความรู้สึก  ก็บอกว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อย่าเพิ่งเชื่อ  ให้ไปคิดตัดสินใจด้วยตัวเอง


    5 .ผมมีเทคนิคของผมเองในการเป็น Facilitator ในชีวิตประจำวัน คือ ก่อนที่จะฟังใคร  ให้ฟังเสียงในใจของตัวเองให้ได้ยินและยอมรับให้ได้เสียก่อน  และ ขณะฟังคนอื่น  ก็สลับกลับเข้ามาฟังเสียงในใจของตัวเองบ้าง ว่ารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร  บางทีก็ต้องแสดงตัวตนของตัวเองออกมาบ้างครับ  คงไม่ใช่จะฟังอย่างเดียว โดยไม่สะท้อนตัวตนของตัวเองออกมา  เพียงแต่ว่าจะสะท้อนอย่างไร  บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น


      ตอนนี้  ผมเอง  ยังไม่มีเวที Fa ที่เป็นเรื่องเป็นราว   ก็ขอฝึกตัวเอง  ด้วยการใช้ Fa ในชีวิตประจำวันไปพลางก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 477701เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 04:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ในชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เขาก็ทำกันแบบที่อาจารย์ทำ จะเรียกว่า KM ได้ไหมคะ

ทุกวง KM จะต้องมี Fa เสมอใช่ไหมคะ

ไม่ว่า KM อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

คุณแก้ว..อุบลครับ

    ตามความคิดเห็นของผมนะครับ  ทุกวง KM อาจจะมี Fa หรือ ไม่มี Fa ก็ได้นะครับ  เพราะบางที  ในวงสนทนาก็เกิด Fa เองตามธรรมชาติ  และ ทุกคนสามารถเป็น Fa ได้ โดยอัตโนมัติ จาการสนทนาพาไป

   KM ในองค์กรที่เป็นทางการนี่  ตามความคิดของผม ผมว่าเกิดยากอยู่เหมือนกันครับ  ผมเองก็ทำได้เพียง ทำแบบไม่เป็นทางการ  แบบไม่ให้รู้ตัว ครับ

   ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

...นอกจากว่า ถ้าเขาต้องการให้บอก ให้สอน เขาจะบอกเองว่า มาขอคำแนะนำ หรือ มาขอคำปรึกษาหน่อย

สิ่งนี้ต้องเอาไป เตือนตนเองบ่อยๆ

เป็นสิ่งที่ฝืน โดยเฉพาะ คนเป็นครูอาจารย์

มักฟังด้วยความอยากบอก อยากแนะมากกว่าฟัง ด้วยความอยากรู้จริงๆ

วันนี้ ก็เพิ่งรู้สึกไม่ดีกับตัวเองที่พูดมากเกินไป..สัมพัทธ์กับพื้นที่

ถ้าเขาไม่เปิดพื้นที่ให้พูด ครั้งหน้าคงจะไม่พูดเลยดีกว่าคะ

Ico48 อาจารย์ ป ครับ

     จากประสบการณ์ของผมนะครับ คุณครูจะชอบสอนกันมากครับ  ในเวทีครอบครัว ผมฝึกคุณครูให้เป็น Fa โดยบอกว่า ให้ฟังกลุ่มพ่อแม่ให้เข้าใจนะ โดย ไม่ต้องสอน  คุณครูบอกว่า  ถ้าไม่ให้สอน ก็ไม่รู้จะพูดอะไร เพราะเป็นครูก็ต้องสอน

     ในวง Fa  ผมเองหลายครั้งก็คันปากอยากสอน อยากบอกครับ เพราะมันเร็วดี  บางทีอดใจไม่ทัน  เผลอสอนไปก็มีครับ

     ตอนหลัง ต้องฝึกฝืนใจตัวเองครับ ตั้งใจฟังเขาให้ดี ว่าเขาต้องการให้เราสอนหรือเปล่า  หรือ ต้องการ "เล่าสู่กันฟัง" หรือ มาระบาย

    เรื่องนี้ รวมท้ง "ลูก" ด้วยครับ ลูก ไม่ต้องการให้สอนครับ  ต้องการให้พ่อแม่ฟังเขาให้เข้าใจก็พอ   แต่ภรรรยาผม  เธอชอบสอนลูกมากเลยครับ

                      ขอบคุณครับ

การฟังเสียงตนเองให้ได้ยินก่อน ใช่การปฏิบัติในแนวทางดูกายดูใจหรือเปล่าครับ... ผมไม่แน่ใจเรื่องการฟังเสียงจากภายใน การดูกายใจที่ผมพยายามเพียรอยู่ จะไม่ค่อยสนใจเนื้อเรื่องแต่จะคอยตามรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น หรือบางทีก็คอยตามรู้กระบวนการคิดของตนเอง

อ.ฤทธิไกร ครับ 

    ฟังเสียงตนเองให้ได้ยิน เหมือนดูกายดูใจหรือเปล่า   ผมมีมุมมองส่วนตัวของผมเองอย่างนี้ครับ

     การดูกายดูใจ  ดูเพื่อให้รู้ตัวว่า  ตอนนี้ เราเกิดอาการแล้ว  เราขุ่นมัวแล้ว  เรามีความโลภ โกรธ  หลง อยู่ในใจแล้ว ทำให้กายใจ เกิดอาการ

      ส่วนการฟังเสียงภายใน  เป็น Subset ของการดูกายดูใจ อีกทีครับ  คือ ที่กายใจเกิดอาการ ลองเข้าไปฟังเสียงภายในดูซิว่า  มาจากเสียงใหน  ตัวตนด้านใด  ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากตัวตนที่ไม่ได้รับความรัก  ไม่ได้รับการยอมรับแหละครับ  เขาส่งเสียงมา ด้วยความไม่พอใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท