เสนอแนะทางเลือกการประเมินเลื่อนวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยอาศัยภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น แทนการเขียนผลงานทางวิชาการ (ตอนที่ 2)


        ตอนผมเป็นประธานติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งติดตามต่อเนื่องมาทุกปี ส่วนใหญ่จะไปทางภาคเหนือและภาคอีสาน ไปเยี่ยมโรงเรียนใดก็ดีใจที่เห็นครูเราได้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นกันมากมาย  บางแห่งได้เลื่อนกันทั้งโรงเรียน ที่ยังไม่ได้คือเงินเดือนยังไม่ถึง  แต่พอดูผลการประเมินสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนทั้งรายโรงเรียน และทั้งเขตพื้นที่ ก็พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนยังต่ำอยู่  ผมเลยมีประเด็นเชิญชวนให้ทุกเขตพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมนำไปคิดหาคำตอบ 2 ข้อคือ
                 1. อยากให้ทำวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยฐานะที่สูงขึ้นของครูและบุคลากรทางการศึกษา(ทุกตำแหน่ง)กับการเพิ่มขึ้นของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
                2. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จะมีส่วนส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้อย่างไร
              ดีใจที่หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฉบับใหม่ล่าสุด ที่เรียกกันติดปากว่า ว.17 ออกในปี พ.ศ. 2552 ที่มีการปรับปรุงวิธีการประเมินใหม่ทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่ ด้านวินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ  ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน และด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่  โดยเฉพาะด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของผลการปฏิบัติงาน  ซึ่งจะประเมินจากผลการจัดการเรียนรู้  ผลการพัฒนาวิชาการ  และผลที่เกิดกับผู้เรียน อีกส่วนหนึ่งก็คือ ผลงานทางวิชาการที่จะต้องสอดคล้องกัน
             อย่างไรก็ตามการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะวิธีนี้ จุดชี้ขาดก็ยังอยู่ที่การเขียนผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของครูและบุคลากรทางการศึกษาหลายๆคน  บางคนทำงานเก่งแต่เขียนไม่เก่ง ก็พลาดโอกาสนี้ไป  บางคนทำงานเก่งด้วยและเขียนเก่งด้วยก็สมควรผ่านการประเมินอย่างยิ่ง  แต่ยังมีเสียงวิจารณ์กันหนาหูว่า  มีคนที่ผ่านการประเมินไม่น้อยที่ทำงานก็ไม่เก่งแต่เขียนเก่ง และบางคนทำงานก็ไม่เก่ง เขียนก็ไม่เก่ง แต่ทำไมผ่านการประเมินก็ไม่รู้?
         (ติดตามการให้สัมภาษณ์ของครูส่วนหนึ่งในตอนต่อไปครับ)

หมายเลขบันทึก: 477556เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท