Present II


สมนาอีกครั้ง และครั้งสุดท้ายในชีวิตของการเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ปีที่4

กลับมาอีกครั้งกับการสมนาครั้งที่ 2 ความตื่นเต้นยังไม่ได้ลดน้อยลงกว่าเดิมเลย แต่ครั้งนี้ฉันมีการเตรียมตัวที่ดีขึ้นจากครั้งที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงสอบก็ตาม ฉันเลือก case study จากรพ.ราชวิถี เป็นคุณป้า อายุ 65 ปี กระดูกข้อมือข้างขวาหักจากการล้ม หรือการวินิจฉัยโรคว่า Distal Radius Fracture หรือ Colles’ fracture ที่รู้จักกัน ปัญหาที่พบของคุณป้านอกจากจะเป็นปัญหาทั่วไปทางด้านร่างกายจากอาการบาดเจ็บแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการล้มอีกด้วย พบว่าในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา คุณป้ามีประวัติการล้มแล้ว 5 ครั้ง แต่ครั้งนี้ร้ายแรงที่สุด ฉันจึงได้ให้ความสนใจและค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการล้มในผู้สูงอายุมาใช้ประกอบด้วย

Evidence base แรก เป็นงานวิจัยที่ทดลองเอาผู้ป่วยจากโรคนี้มาทดลองให้การรักษา โดยแบ่งเป็น 2กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับPrescription for formal occupational therapy ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับ independent exercise ซึ่งผลงานวิจัยออกมาพบว่าในกลุ่มแรกผลการรักษาไม่มีการเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยของการเคลื่อนไหว ส่วยในกลุ่มที่ 2 พบการเปลี่ยนแปลงมากในส่วนของ wrist flexion and extension, ulnar pronation and supination, pinch strength และ grip strength โดยงานวิจัยได้แนะนำวิธีการคือ

Prescription for formal occupational therapy การออกกำลังกายภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัด เพื่อฟื้นคืนการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ ข้อมือ แขน และกำลังกล้ามเนื้อของมือ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับ independent exercise เช่น วิธีการทำให้ finger flexion, วิธีแยก forearm supination and pronation  ออกจาก shoulder motion ฯลฯ

Evidence base ที่สอง พูดถึงเรื่องการฟื้นฟูกระดูกหักหลังการล้ม วิธีการที่ได้รับแนะนำเกี่ยวกับการฟื้นฟู Distal Radius Fracture เช่น 

active range of motion exercises: bilateral paper ripping, circular dusting, Fingers  wall walking, simple blackboard writing, pinching และ drawing tasks

Early reduction of edema, motion range recovery, muscle strengthening, wound healing and scar adhesion, 

นอกจากนี้ยังมีการแนะนำวิธีในการป้องกันการล้มด้วย เช่น exercises to increase the functional Capabilities combined with co-ordination exercises, balance and strength training, planned to reduce a single intrinsic or extrinsic risk factor of falling ฯลฯ

ฉันคิดว่าเรื่องราวและความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าหาEvidence base support ในครั้งนี้ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางกิจกรรมบำบัดได้มากเลยทีเดียวในการออกไปทำงานในโลกกว้างของฉัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ในฐานะที่เราเป็นนักกิจกรรมบำบัด สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การคิดถึงความสามารถ และกิจกรรมที่ผู้รับบริการจะสามารถหรือต้องการนำไปใช้จริงๆในชีวิตประจำวัน เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 477526เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท