present case study 2


hand injury

สวัสดีครับ ครั้งนี้จะมาเล่าถึงการนำเสนอครั้งสุดท้ายของรายวิชานี้ ครั้งนี้ผมเลือกผู้ป่วยที่มีอาการบากเจ็บที่มือ (Hand injury) ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่เส้นเอ็ดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1 Extensor Carpi Radialis Longus (ECRL)

    - extends and radially deviates wrist

2 Extensor Digitorum (ED)

     -extends the fingers

4 Extensor Carpi Ulnaris (ECU)

    -extends and ulnarly deviates wrist

8 Extensor Digiti Minimi

    -extends the little finger

9 Extensor Indicis

    -extends the index finger

ซึ่งกลุ่มกล้ามเนื้อทั้งหมดนี้ทำหน้าที่ในการกระดกข้อมือและเหยียดนิ้วมือ เมื่อได้รับการบาดเจ็บจึงทำให้ผู้ป่วยรายนี้ไม่สามารถที่จะกระดกข้อมือได้ ซึ่งขัดขวางต่อการทำงานของเขามาก เขาทำงานที่บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย ทำงานเกียวกับการดูแลรักษาเครื่องมือ การตรวจเครื่องมือ การเซ็นเอกสาร และอย่างสุดท้ายคือ การพิมพ์ข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเวลาพิมพ์จะเกิดปัญหามากเพราะไม่สามารถกระดกนิ้วมือขึ้นเมื่อพิมพ์ได้

 เป้าประสงค์การรักษาของผมคือ ให้เขาสามารถกลับไปทำงานได้ (พิมพ์คอมพิวเตอร์)

การรักษาแรกของผมคือ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือ เนื่องจากที่ผู้ป่วยไม่สามารถกระดกข้อมือได้เพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง กิจกรรมที่ผมใช้ ก็จะเป็น Therupeutic putty จะมีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน แต่จะมีความยืดหยุ่นกว่า และไม่ติดมือ ก็ให้ผู้ป่วยออกกำลังกายต้านกับแรงของ putty เพื่อเพิ่มแรงกล้ามเนื้อ ท่าที่ให้ทำจะเน้นเป็นท่าที่ต้องกระดกข้อมือ และเหยียดนิ้ว  นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่คล้ายๆกับการดีดลูกแล้ว เพื่อเพิ่มแรงของกล้ามเนื้อนิ้วเช่นกัน ก่อนทำ แรงในการกำมือของผู้ป่วย วัดโดยใช้ Hand dynomometer ได้ 58 ปอร์น ของข้างขวา เมือเทียบกับข้างปกติ(ข้างซ้าย)จะแตกต่างกันมาก ข้างซ้ายวัดได้ 105 ปอร์น แต่พอทำกิจกรรมไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ผมก็ทำการประเมิณซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ วัดได้ 80 ปอร์น (ข้างขวา) ซึ่งเป็นกำลังที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยดีใจมาก แต่การพิมพ์คอมพิวเตอร์ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าไร่ ผมจึงใช้หลักการทาง Biomechanic FoR. เข้ามาช่วยในการรักษาให้เขาทำ function ได้ ผมจึงให้ Dynamic dorsol cock-up splint เมื่อผู้ป่วยใส่แล้วก็ให้ลองพิมพ์คอมพิวพ์ พบว่าผู้ป่วยทำได้ดีขึ้น จึงทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้บำบัดมีกำลังใจที่จะฝึกต่อ แต่ว่าหลังจากนั้นผมต้องเปลี่ยนไปฝึกอีกที่หนึ่ง ผมจึงไม่ได้ติดตามต่อเมื่อผู้ป่วยใช้จริงตอนที่ทำงาน...............ขอบคุณที่อ่านครับ

คำสำคัญ (Tags): #hand injury
หมายเลขบันทึก: 477525เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท