แก้ปัญหาวัชพืชในนาข้าวแบบไม่ใช้ยาหรือสารพิษ (2)


เมื่อจัดการฟางเสร็จเรียบร้อยให้ทำการปล่อยน้ำเข้านาประมาณ 3 เซ็นติเมตรพอขลุกขลิกเพื่อกระตุ้นให้เมล็ดวัชพืชและข้าวแดงข้าวดีดงอกออกมา

ปัญหาเรื่องหญ้าในนาข้าวนับเป็นปัญหาติดอันดับต้นๆของชาวนา อีกทั้งคงเป็นปัญหาระดับชาติของพี่น้องเกษตรกรในทุกสาขาอาชีพ ทั้งไร่มัน ไร่อ้อย สวนปาล์ม สวนยางพารา สวนผลหมากรากไม้ลางสาด ลองกองมังคุด โดยดูจากสถิติการนำเข้าสารเคมีกำจัดวัชพืชในปี2554 ที่มากถึง 25,442,671.71 กิโลกรัมมูลค่า  2,832,986,276.60 บาท เมื่อเทียบกับสารกำจัดแมลงที่นำเข้าเพียง 6,850,930 กิโลกรัม มูลค่า 1,129,294,102.43 และสารป้องกันกำจัดโรคพืชนำเข้า 2,585,876.46 มูลค่า 1,327,668,332.93 บาท... ฯลฯ(รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร http://m.doa.go.th/ard/stat/stat_340.pdfจะเห็นว่าการนำเข้ายาฆ่าหญ้าหรือวัชพืชนั้นมีจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ บ่งบอกว่าพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาก็ใช้ยาฆ่าหญ่าเป็นเสมือนยาสามัญประจำบ้านด้วยเหมือนกันเลยนะนี่

เทคนิคลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชหรือไม่จำเป็นต้องใช้เลยก็ได้ในการทำนาปลูกข้าวก็สามารถทำได้โดยใช้หลักการเตรียมแปลงแบบปราณีตหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อย ให้กระจายฟางหลังรถเกี่ยวเสร็จจนแบนราบทั่วทั้งแปลง ถ้ารถเกี่ยวมีเครื่องกระจายฟางก็ใช้รถเกี่ยว ถ้าไม่ไมีก็ใช้รถแทรกเตอร์ย่ำแห้งหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย ไม่ควรย่ำในขณะน้ำขังเพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวแดงข้าวดีดและเมล็ดวัชพืชถูกกดทับฝังลึกลงไปใต้ขี้เลน หรือจะใช้เป็ดไล่ทุ่งปล่อยลงไปให้หาอาหารคนเลี้ยงเป็ดชอบเจ้าของนาก็แฮปปี้แเผลอแป๊ปเดียวทั้งตอซังและฟางข้าวก็จะราบเป็นหน้ากองเสมอพื้นดินแถมยังได้ช่วยขจัดหอยและไข่ของแมลงศัตรูพืชไปพอสมควรหรือจะใช้แรงงานคนก็ได้ถ้าพื้นที่ไม่มากเพียงพอต่อแรงและกำลังที่สามารถทำได้ แต่หลักการคือต้องการให้ทั้งตอซังฟางข้าวราบเรียบทั่วทั้งแปลงนา

เมื่อจัดการฟางเสร็จเรียบร้อยให้ทำการปล่อยน้ำเข้านาประมาณ 3 เซ็นติเมตรพอขลุกขลิกเพื่อกระตุ้นให้เมล็ดวัชพืชและข้าวแดงข้าวดีดงอกออกมา บางคนอาจจะใช้ฮอร์โมนไข่ ไคโตซานและซิลิโคเทรซ (จุลธาตุ+ซิลิกา) ช่วยเร่งกระบวนการงอกให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ เมื่อความชุ่มชื้นแผ่กระจายซึมเซาะไปทั่วแปลงนา เมล็ดพันธุ์วัชพืชรวมทั้งข้าวแดงข้าวดีดที่พร้อมเสมอต่อการเจริญเติบโตแพร่ขยายพันธ์เพื่อให้ตนเองไม่สูญหายไปจากโลกก็จะเริ่มแทงหน่อผลิใบเขียวเรียงรายไปทั่ว คุณสมบัติของน้ำทำให้เปลือกเมล็ดของหญ้าที่แข็งกร้านค่อยๆอ่อนนิ่มแลกเปลี่ยนสารอาหารจากภายนอกได้ดีค่อยๆเจริญเติบโตออกมาจากคัพภะจนเริ่มเห็นสีเขียวประปรายประมาณ 3 วันมีทั้งที่เป็นตุ่มตาและเป็นใบสีเขียว จึงค่อยปล่อยน้ำเพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 7 เซ็นติเมตรให้ท่วมมิดใบหญ้าหรือข้าวแดงข้าวดีด ขั้นตอนนี้ควรปล่อยน้ำเข้ามาพร้อมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย วิธีการ ดังที่ได้เคยอธิบายแนะนำให้ทำกันไปแล้วในบทความหรือบันทึกก่อนๆ ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้าไปไร่ละ 5 ลิตรจะปล่อยหรือหยดหน้ำท่อระบายน้ำเข้านาหรือจะฉีดพ่นก็ตามสะดวก

ปล่อยให้เมล็ดหญ้าและข้าวแดงข้าวดีดที่งอกเป็นตุ่มตาและผลิใบท่วมน้ำหมักทิ้งไว้อีกประมาณ 4 วันจนครบหนึ่งสัปดาห์ ต้นหญ้าหรือวัชพืชจะเริ่มอ่อนแอจากภาวะน้ำท่วมขัง อ๊อกซิเจนน้อยใบเน่าเหลืองหักงอโอนเอน ให้ทำการย่ำหมักพร้อมด้วยหยดจุลิทรีย์หน่อกล้วยที่ใส่ขวดหรือถังห้อยติดท้ายรถแทรกเตอร์เพิ่มเข้าอีกไร่ละ 5 ลิตร ย่ำปั่นจนต้นหญ้า วัชพืช ข้าวแดงข้าวดีดถูกกดทับบดหั่นจะเละละเอียดได้ที่ให้ทำการหมักต่อไปอีกประมาณ 7 วัน เศษซากของตอซัลฟางข้าวจะถูกหมักย่อยจากจุลินทรีย์จนได้ที่แล้วจึงค่อยย่ำปั่นทำเทือกเตรียมแปลงหว่านเมล็ดพันธุ์ต่อไป วิธิีการนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องหญ้าไปได้มากกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งพิถีพิถันเตรียมพื้นแปลงนาแปลงนาให้ราบเรียบเสมอกันปัญหาเรื่องหญ้าก็ยิ่งน้อยเพิ่มขึ้นไปอีกสามารถบริหารจัดการด้วยแรงงานคนไม่ถึง 5 หรือ 10 เปอร์เซ็นต์

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 476894เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นประโยชฯกับเกษตรการมากเลยคับมจะนำความรู้ที่รับไปเผยแผ่ให้มากที่สุด

ใช้เป็ดทองแก้ปัญหาข้าวดีด ข้างเด้งได้ 60 - 80% ป้องกันเพี้ยหนอนหนู และใช้ปุ๋ยน้อย สนใจติดต่อ ร้านนิวอภิชาติ ลาดบัวหลวง โทร.035-379591,086-4865410

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท