ก้าวสู่ องค์กรเรียนรู้ กศน.


ผมว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะความคิดของผู้นำเหล่านั้นก้าวหน้าเสียจนชาว กศน.ตามไม่ทัน ผมว่านั่นแหละครับคือ KM ทั้ง 5 เยี่ยม และรีเอ็นจิเนียริ่งและยังมีสิ่งดีๆอื่นในอดีตอีกมากมาย
  • เมื่อ 29 ส.ค. 49 ผมกับครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ ลิ้งค์ ได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดKM ที่ กศน.จังหวัดตรัง ในหัวข้อการจัดองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่ง เป็นกิจกรรมต่อเนื่องของ กศน.จังหวัดตรังหลังจาก เข้ารับการอบเรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรจากสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธรมาแล้ว
  • ผมรู้สึกมีความสูขที่ได้นั่งอยู่ในท่ามกลางคน กศน.ด้วยกัน เห็นถึงความตั้งใจจริงของคนทั้งองค์กร ประกอบด้วย KM ทีม กศน.ตรัง ผู้บริหาร (คุณเอื้อ) ที่นำโดย รอง ผอ.เสียงทอง หลำศิริ และผู้ที่จะกลับไปทำกระบวนการ(ทีมคุณอำนวย) ของแต่ละสถานศึกษาในจังหวัด (กศน.อำเภอ) เห็นหลักสูตรการอบรม ความตั้งใจในการอบรม และแผนงานกิจกรรมที่จะทำต่อไป แล้วรู้สึกว่าเป็นย่างก้าวที่น่าศึกษามาก
  • ผมไม่มีหลักวิชาการ ทฤษฎีใดๆไปแลกเลย มีแต่ประสบการณ์ที่ผมทำแล้วผมสกัดออกมาไปแลกบ้างเล็กน้อย เท่านั้นเอง ผมเริ่มจากการทบทวนสิ่งดีๆที่ กศน.สั่งสมมาแต่ในอดีต เช่นหลักการคิดเป็น ซึ่งเป็นปรัชญาที่ กศน.ยึดมาโดยตลอดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การให้ครูอาสาการศึกษานอกโรงเรียน ครูประจำกลุ่มทางไกล (ชื่อเรียกสมัยนั้น) ครูประจำกลุ่มทางไกลทางวิทยุไปรษณีย์ (ครูประจำกลุ่ม วปณ.) ครูศูนย์การเรียนชุมชน ครูประจำกลุ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ (ครูประจำกลุ่ม ปอ.) ครูประจำกลุ่มหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ครูประจำกลุ่ม ปวช.กศน.) หรือบุคลากรที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ทำหน้าที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เรียกกันว่าวิทยากรกระบวนการ เนื้อหาจะมุ่งหาเอาจากผู้รู้ ผู้เรียน แหล่งเรียนรู้ สังคม ชุมชน ฯลฯ เป็นหลัก  การออกแบบกระบวนการเรียนรู้จะเป็นอย่างนี้ในทุกหลักสูตร ทุกกิจกรรม รายละเอียดผมให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาศึกษาจากบันทึกบล็อกของผมเรื่อง ปรับวิธีเรียนรู้ กศน.อย่างไรให้เข้ากับวิธีเรียนรู้ของคุณกิจ ซึ่งผมได้แจกแจงไว้แล้วว่าก่อนเรียนรู้ ระหว่างเรียนรู้ และหลังเรียนรู้ ว่าผู้เรียนจะต้องทำอะไรบ้าง การเข้าใจ KM สำหรับชาว กศน.ถ้าได้นำหลักการเรียนรู้นี้มาปรับจะเข้าใจได้ไม่ยากเลย ซึ่งผมได้แจกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้ศึกษาด้วยแล้ว
  • ผมทบทวนเหตุการณ์ในอดีตต่อว่า สิ่งดีๆบางครั้ง กลายเป็นสิ่งไม่ดีและถูกต่อต้านได้ถ้าเราไม่ศึกษาทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ครั้งหนึ่ง ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ อดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ประกาศนใช้โยบาย 5 เยี่ยม ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนอีกท่านหนึ่ง ประกาศนโยบายรีเอ็นจีเนียริ่งองค์กร นโยบายดังกล่าวถูกวิพากย์วิจารณ์ และไม่ค่อยจะเป็นที่ยอมรับกัน ผมว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะความคิดของผู้นำเหล่านั้นก้าวหน้าเสียจนชาว กศน.ตามท่านไม่ทัน ความคิดที่ก้าวหน้าดังกล่าวนี้หากมองเข้ากับ KM ผมว่านั่นแหละครับคือ KM  ทั้ง 5 เยี่ยม และรีเอ็นจิเนียริ่ง และยังมีสิ่งดีๆอื่นๆในอดีตอีกมากมาย หากจะลองค้นหาดูก็จะพบสินทรัพย์ความรู้ดีๆที่จะนำมาปรับใช้กับยุคจัดการความรู้ได้
  • จากนั้นผมก็เล่างาน Km ที่ผมทำ ว่าผมได้ใช้หลักการนี้ และขอให้ กศน.จังหวัดตรังลองนำวิธีการเรียนรู้ดังกล่าวมาใช้ดู เปลี่ยนผู้เรียนหลักสูตรต่างๆของ กศน.เป็นบุคลากรในองค์กรเสีย และเปลี่ยนเนื้อหาในหลักสูตรต่างๆเป็นภาระกิจ พันธกิจที่จะต้องทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ สุดท้ายจึงได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบคนในครอบครัวเดียวกันครับ
 รอง ผอ.เสียงทอง หล่ำศิริ ครูราญเมืองคอน และครูนง เมืองคอน
 
 ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาบางส่วน 
หมายเลขบันทึก: 47659เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
สวัสดีค่ะครูนง หนูเป็นสมาชิกใหม่ของG2Kตอนนี้สนใจอยากให้นักศึกษาในห้อง ได้รู้จักการจัดเก็บความรู้โดยเฉพาะจากกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำมาเราควรเริ่มต้นยังไงดีคะครู ขอบพระคุณค่ะ ถ้าครูจะช่วยแนะนำ อ.เฟิน ราภัฏอุตรดิตถ์
     อ่านบันทึกครูนงแล้วเบิกบานสมองจังเลยครับ เหมือนเรื่องเล่าที่ผ่านกระบวนการตริตรองแล้วด้วยคละเคล้ากันไป ขอบคุณมากนะครับ...ได้ Idea ดี ๆ เสมอ ๆ ครับ

เห็นด้วยกับคุณชายขอบมากเลยค่ะ อ่านแล้วอิ่มอกอิ่มใจจริงๆ 

"หลักวิชาการ ทฤษฎีใดๆ" หรือจะมาเทียบค่ากับ tacit knowledge ที่ครูนงนำมาแลกเปลี่ยน ของจริง เห็นผลชัดเจนออกอย่างนี้ ชื่นชมเหมือนเช่นเคยค่ะ

 

อ.เฟิน

  • ออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ค่อยสันทัดกับการจัดเก็บความรู้นะครับ อ.เฟิน
  • การจัดเก็บความรู้จากกิจกรรม ก็คงจะสังเกต ข้อมูล ข้อเท็จจริง ปรากฏการณ์ ฯลฯ ที่มีในกิจกรรมนั้นๆ บวกกับความคิดนึก ประสบการณ์หรือจินตนาการของเราหรือเปล่าละครับ
  • ถ้าความรู้นั้นอยู่ในคน ก็สกัดออมา อย่างนั้นหรือเปล่า
  • สกัดออกมาแล้ว จัดเก็บในรูปไหนได้บ้าง คงมีหลายรูปแบบ ไม่ทราบว่าพอจะช่วยตอบคำถาม อ.เฟิน ได้บ้างหรือเปล่า เรียนว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องพันนี้ครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนทักทาย

        

คุณชายขอบ และคุณ โอ๋-อโณ

           ขอบคุณท่านทั้งสองที่เข้ามาเสริมพลังบวก ครับ

  • ขอชื่นชมกับการขยายเครือข่ายครับ
  • กศน สู้ ๆ

สมาชิกไหม่เพิ่งเคยมา กำลังหลงทางอยู่ครับ

เปิดมาพบ web นี้เห็น หลายบรรยากาศดี เลยสมัครมา

ผมต้องทำอย่างไรบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท