องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

การส่งเสริมการเข้าถึงการปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มประชากรเข้าถึงยาก


โดย..วนาพร คณาญาติ,สกุลรัตน พันธเสน,รัชนี ปวุตตานนท์

       การส่งเสริมการเข้าถึงการปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มประชากรเข้าถึงยาก ปี 2554 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์       เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการปรึกษาเพื่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยความสมัครใจ (Voluntary Counseling and Testing : VCT) ในกลุ่มประชากรเข้าถึงยาก เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก เกิดการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง และหาแนวทางในการป้องกันร่วมกัน รวมถึง การดูแลรักษาต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น งานให้บริการปรึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

จึงคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในนครสวรรค์ จำนวน 8 ห้องเรียน เนื่องจาก ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในนักเรียนกลุ่มนี้ และทางโรงเรียนยังไม่มี ครูแกนนำให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยง กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดเป็นฐานให้ความรู้จำนวน 3 ฐาน คือ ฐานเพศศึกษาและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ฐานการคุมกำเนิด และฐาน    โรคเอดส์ ดำเนินกิจกรรม เมื่อวันที่ 2-5 สิงหาคม 2554

ผลการดำเนินงาน มีนักเรียนเข้ารับการอบรม จำนวน 413 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.5 เพศหญิง ร้อยละ 46.5 ส่วนใหญ่อายุ 14 ปี ร้อยละ 73.0 หลังการอบรม พบว่า

  • ผู้เข้ารับการอบรม   มีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นระดับดีมาก ร้อยละ 92.4 เรื่องการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นระดับดีมาก ร้อยละ 91 .2 และเรื่องโรคเอดส์เพิ่มขึ้นระดับดีมาก ร้อยละ 91.2
  • ความคิดเห็นต่อการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้จริงมากที่สุด ร้อยละ 87.5
  • ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจวิทยากรทั้ง 3 ฐาน มากที่สุดด้านการใช้สื่อการสอน รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพของวิทยากรเหมาะสม  และด้านความรู้ของวิทยากร ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านการถามตอบของวิทยากร

ข้อเสนอแนะ  ในการดำเนินงานโครงการ คือ ควรจัดกิจกรรมเชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมาย    ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล ควรมีการประสานเครือข่าย และบูรณาการงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

หมายเลขบันทึก: 476464เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท