สิทธิเด็ก


เราจะคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้อย่างไร

ชื่อผลงาน    เราจะคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้อย่างไร

                                                                                                                                               

โดยนางสาวสิริวรรณ   ตั้งแสงสุวรรณ  

ระธาน RTC แนะแนว โรงเรียนอู่ทอ ง สพท.สพ.เขต 2

ความเป็นมา   เรามักได้รับข่าวสารจากหน้าหนังสือพิมพ์หรือจาก TV ในแต่ละวัน  จะเห็นว่าเด็กมักถูกทำร้าย  ถูกระเมิด  ทางเพศ  ถูกทารุณกรรมในหลายๆรูปแบบ  จากพ่อแม่  จากญาติ   จากผู้ปกครอง  จากนายจ้าง  หรือบุคคลในชุมชน    ของตนอยู่เสมอๆ  เนื่องจากเด็กมักให้ความไว้วางใจ  ในบุคคลที่ตนรักและรู้จัก  จากความอ่อนเยาว์ของเด็ก   จึงถูก  ทำร้ายตามข่าวที่ได้รับ  เมื่อเราทราบหรือเราเห็น  เราจะทำอย่างไร  ? 

การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก *   เด็กที่พึ่งได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่   เด็กที่ถูกทารุณกรรม  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด   เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง *   หากท่านพบเห็นหรือประสบพฤติกรรมที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก      เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ได้รับแจ้งเหตุและเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในสถานที่ใด  สามารถเข้าตรวจค้น และมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยเร็วที่สุด  สำหรับผู้แจ้งหรือผู้พบเห็นกระทำโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง  ทางอาญาหรือทางปกครอง *   ถ้าเด็กที่ได้รับอันตราย  ต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษา  ทางร่างกายและจิตใจทันที       ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรต้องสืบเสาะ และ พินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว  เพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก  ก็อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อน  หรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู  เพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่  สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาล   เพื่อมีคำสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วไม่เกินสามสิบวัน *   กรณีที่ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็กจริง        ให้มีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด  ให้ศาลพิจารณาคดีและมีอำนาจกำหนดมาตราการคุมความประพฤติ  ห้ามเข้าเขตกำหนด  หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนด  เพื่อป้องกันมิให้กระทำการดังกล่าว  และสั่งให้ทำทัณฑ์บนตามกฎหมาย  หากยังไม่มีการยกฟ้องคดีอาญาหรือไม่ฟ้องคดีอาญาแต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการกระทำทารุณกรรมแก่  เด็กอีก  พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือพนักงานอัยการยื่นคำขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งมิให้กระทำการดังกล่าว หรือในกรณีที่เห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูกกระทำทารุณกรรมอีก  ให้พึ่งศาลออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้ที่เชื่อว่าจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กมากักขังไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกินสามสิบวัน *   เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก พบเห็นหรือได้รับแจ้งจากผู้พบเห็นเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด       ให้สอบถามเด็กและดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็ก  รวมทั้งสภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  ความเป็นอยู่  การเลี้ยงดู  อุปนิสัย  และความประพฤติของเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก  และถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก  ให้ส่งเด็กเข้าสถานคุ้มครองสวัสดิภาพหรือสถานพัฒนาและฟื้นฟู  ก็ให้เสนอประวัติพร้อมความเห็นไปยังปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด  แล้วแต่กรณี  เพื่อพิจารณาสั่งให้ใช้วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก   ถ้าเด็กจำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ก็ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์   แต่ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรส่งตัวเด็กไปยังสถานแรกรับ  สถานสงเคราะห์  สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ  หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟู  ก็ให้มอบตัวเด็กแก่ผู้ปกครองหรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแล  โดยอาจแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก หรือไม่ก็ได้  และเมื่อได้ปรึกษาหารือร่วมกับผู้ปกครองหรือบุคคลที่จะรับเด็กไปปกครองดูแล  อาจจะวางข้อกำหนดเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหายหรือเสี่ยงต่อการกระทำผิด   โดยให้ผู้ปกครองหรือบุคคลที่รับเด็กไปปกครองดูแลต้องปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่ง  หรือหลายข้อตามความเหมาะสม  ดังต่อไปนี้

   ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน  เว้นแต่มีประพฤติตนไม่สมควร     ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน  เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง      ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย     ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการอันใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย     จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ  สติปัญญา  และความสนใจของเด็ก     จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก     จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม 

สรุป  เด็กคือทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศชาติ  ฉะนั้นบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็กควรจะต้องรับผิดชอบและช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก  ควรหยุดทำร้าย  หยุดละเมิดสิทธิของเด็ก  พ่อแม่ - ผู้ปกครอง  ตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ  ควรตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของเด็กและช่วยกันเสริมสร้าง  พัฒนาให้เขาเป็นกำลังสำคัญที่เข้มแข็งของประเทศชาติ 

บรรณานุกรม     พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ..๒๕๔๖  เป็นกฎหมาย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๑๒๐  ตอนที่ ๙๕    วันที่    ตุลาคม  ๒๕๔๖  มีผลบังคับใช้วันที่ ๓๐  มีนาคม ๒๕๔๗

 

หมายเลขบันทึก: 47642เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นี่เลยของจริง แนะแนวมืออาชีพ
เจ้แมวเขียนอีกนะครับ ได้ความรู้เยอะเลย

ขอบคุณอาจารย์บัวค่ะที่ให้กำลังใจ....แล้วจะพยายามส่งมาอีกค่ะ

จากครูแมว

ถ้าเด็กไปอยู่กับย่าของเค้า แล้วถูกผู้เป็นลุงระเมิดทางเพศ (แต่ไม่ถึงขันได้เสียกัน) หลายครั้งแล้ว จะทำอย่าไรได้บ้างคะ

เด็กมาเล่าให้แม่ฟัง ตอนที่ได้กลับมาอยู่กับแม่ แม่ของเด็กจะทำอย่างไรได้บ้างคะ รบกวนด้วยนะคะ

ไม่ค่อยหน้าสนใจเท่าไร

เอาเรื่องอื่นลงดีกว่า

เเวะมาดูเวปเราด้วย

www.Do not tell.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท