คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล


การใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้อวัยวะส่วนนั้นๆ ไมให้ต้องประสบอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน

             วันนี้ขอนำเรื่องอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลมานำเสนอ  จากสถิติการประสบอันตรายส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ที่ได้รับอันตรายเองเป็นส่วนใหญ่   และจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานมาจากการไมใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนั่นเอง

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  หมายถึงอะไร

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัยวะสาวนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้อวัยวะส่วนนั้นๆ ไมให้ต้องประสบอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน

ยกตัวอย่างนะครับ  อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คือหมวกกันน๊อค นั่นเอง 

ประเภทของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับสำหรับงานประเภทต่างๆ ตามที่กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานกำหนด มีอะไรบ้าง

1. ป้องกันศีรษะ เช่นหมวกแข็ง

2. ป้องกันหู เช่นที่ครอบหูลดเสียง

3. ป้องกันใบหน้าและตา  เช่นกระบังลม

4. ป้องกันระบบหายใจ  เช่น  หน้ากากกันสารเคมีต่าง ๆ

5. ป้องกันลำตัว  เช่น เอี๊ยม  เสื้อชนิดพิเศษ

6. ป้องกันมือและแขน  เช่นถุงมือ

7. ป้องกันเท้า  เช่น  รองเท้าหัวเหล็ก

8. การป้องกัรการตกจากที่สูง  เช่น เข็มขัดนิรภัยและสายช่วยชีวิต

9. อุปกรณ์ป้องกันพิเศษเฉพาะงานเช่น เครื่องช่วยหายใจ  โลชั่นทาผิวหนัง

เมื่อมีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแล้ว เรามีวิธีการเลือกใช้อย่างไร

1. เหมาะสมกับสภาพของงาน

2. เหมาะสมกับร่างกายของผู้ใช้

3. ได้มาตรฐาน

4. ทำความสะอาดได้ง่าย ทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง

5.  นำหนักเบา  สวมใส่สบาย

6. ใช้ง่ายไมยุ่งยาก

7. ทนทาน

8. ไม่ควารเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเองเพราะอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายลดลง

ในส่วนของประเภทงานชนิดไหนต้องใช้อุปกรณ์ชนิดใด มาตรฐานของอุปกรณ์แต่ละชนิด  ตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานกำหนด  สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่  สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ

โดย  นายนรินทร์  แก้ววารี  เจ้าพนักงานแรงงาน

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 47641เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบราคาเครื่องป้องกันอันตรายจากการทำงาน (พร้อมรูปภาพปดระกอบ) ดังนี้

1. งานเชื่อมเหล็ก ( ทุกรายการ โดยเฉพาะแว่นที่สามารถป้องกันสะเก็ดไฟ,แสงและรังสีได้)

2. งานตัดเหล็ก

3. งานไม้ (ตัด,เลื่อย,ประกอบโครงสร้างไม้ ฯลฯ)โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถ ป้องกันฝุ่นละออง,ป้องกันอันตรายจากการระเหยของสารมีพิษ เช่น น้ำมันสน,ทินเนอร์ , ป้องกันสารตะกั่วจากการเชื่อมตะกั่วในแผงวงจรต่างๆ ฯลฯ

4. งานที่เสียงดัง (อุปกรณ์ป้องกันเสียง)

5. งานที่ต้องมีการยกของหนัก

. งานไม้ (ตัด,เลื่อย,ประกอบโครงสร้างไม้ ฯลฯ)โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถ ป้องกันฝุ่นละออง,ป้องกันอันตรายจากการระเหยของสารมีพิษ เช่น น้ำมันสน,ทินเนอร์ , ป้องกันสารตะกั่วจากการเชื่อมตะกั่วในแผงวงจรต่างๆ ฯลฯ

4. งานที่เสียงดัง (อุปกรณ์ป้องกันเสียง)

5. งานที่ต้องมีการยกของหนัก

อยากทราบที่มาว่ามาจากกฎหมายข้อไหน เรื่องอะไร กระทรวงอะไรเพื่อใช้เป็นเอกสารในการอ้างอิงต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท