กิจกรรมบำบัดชุมชน...ที่แท้จริงเป็นเช่นไร


ถอดบทเรียนจากงานประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เสริมพลังกำลังคนและพัฒนาเครือข่ายการฟื้นฟูสภาพผู้พิการในชุมชน โดย สปสช และภาควิชากายภาพบำบัด ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก 19-20 ม.ค. 55

ขอบคุณทีมเจ้าภาพจัดงานและยินดีอย่างมากที่ได้รับเชิญและรับฟังประสบการณ์ที่ดีจากพี่ใหม่ พี่น้อย น้องจุ๋ม และน้องๆ นักกิจกรรมบำบัดเขตภาคเหนือตอนล่าง ที่ "ใส่ใจ ใช้ใจ และให้ใจ" ในการคิดและทำโครงการกิจกรรมบำบัดในชุมชนอย่างน่าประทับใจ

ดร.ป๊อป ได้นำเสนอตัวอย่าง "โครงการหมออาสา...มาหานะเธอ" ในรูปแบบคลิปจากรายการยิ้มสู้ และพี่น้องนักกิจกรรมบำบัด (พี่น้อยและน้องจุ่ม) สร้างแรงบันดาลใจจากการนำเสนอตัวอย่าง "โครงการเครือข่ายชมรมนักกิจกรรมบำบัดเชิงรุกสู่ชุมชนต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่" รวมทั้งการถ่ายทอดบทเรียนจากการทำงานเชิงรุกของกิจกรรมบำบัดในเด็กพิเศษของ รพ.พุทธชินราช นำโดยพี่ใหม่ ด้วย

ดร.ป๊อป ดีใจและชื่นชมทีมวิทยากรข้างต้นและขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ นักกิจกรรมบำบัดที่เข้าอบรมจำนวน 12 ท่านสร้างงานกิจกรรมบำบัดชุมชนอย่างยั้งยืน แม้ว่าจะรู้สึกเหนื่อยลำบากในช่วงแรก แต่ขอให้มั่นใจในคุณค่าของตนเองในการริเริ่มโครงการเล็กสู่ใหญ่และรวมกลุ่มนักกิจกรรมบำบัดชุมชนภาคเหนือตอนล่าง โดยไม่ต้องมีงบประมาณจนถึงของบประมาณบริการวิชาการ/วิจัยจากรัฐหรือเอกชน แล้วสร้างข้อมูลเพื่อพัฒนาตนและสังคมให้เป็นที่ประจักษ์และต้นแบบแก่นักกิจกรรมบำบัดชุมชนไทยต่อไป

บทเรียนที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำมาสู่การแปลความรู้เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่

 1. ความต้องการในการทำความเข้าใจกับบทบาทนักกิจกรรมบำบัดในชุมชน หลังจากบรรยายแล้วก็เชิญระดมสมองสะท้อนความคิดดังนี้

กลุ่มที่ 1

  1. เป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
  2. สร้างแรงจูงใจและเจตคติที่ดี
  3. ประสานเชื่อมโยงทั้งในส่วนของผู้ป่วย และในส่วนของชุมชน
  4. ค้นหาความต้องการของผู้ป่วย/ชุมชน และสร้างเครือข่ายในการ Empowerment ให้ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้

กลุ่มที่ 2

  1. กระจายความรู้ให้เครือข่ายในชุมชน เช่น อสม. ครูพี่เลี้ยง สหสาขาวิชาชีพ ญาติ และผู้ดูแล
  2. สร้างวิธีการ และกระบวนการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ใน รพ. และในชุมชน
  3. ชี้แจงบทบาท หลักการ วิธีการ ที่ผู้ปฏิบัติในชุมชนเห็นประโยชน์ และเข้ามามีส่วนร่วม
  4. สร้างความต่อเนื่องโดยติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

 กลุ่มที่ 3

  1. การประสานงาน กระตุ้น และ Empowerment ทั้งบุคลากร และอสม. ญาติ เจ้าหน้าที่เพื่อบูรณาการการช่วยเหลือผู้พิการในชุมชน ส่งเสริมทักษะ และฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับ อสม. และญาติ
  2. ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ
  3. ดูแล ปรับสภาพแวดล้อม ออกแบบเครื่องช่วย และอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของชุมชน และภาวะเศรษฐกิจ
  4. สร้างแรงจูงใจ ให้ตระหนักถึงคุณค่าในการพึ่งพาตนเอง ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 4

  1. การประสานงาน กระตุ้น และ Empowerment ทั้งบุคลากร และอสม. ญาติ เจ้าหน้าที่เพื่อบูรณาการการช่วยเหลือผู้พิการในชุมชน ส่งเสริมทักษะ และฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับ อสม. และญาติ
  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ
  3. ดูแล ปรับสภาพแวดล้อม ออกแบบเครื่องช่วย และอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของชุมชน และภาวะเศรษฐกิจ
  4. สร้างแรงจูงใจ ให้ตระหนักถึงคุณค่าในการพึ่งพาตนเอง ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
  5. สำรวจชนิดของคนพิการ เขียนแผนงานและโครงการฯ ตามนโยบายของรพ. และสปสช.

 อยากให้ OT พี่เลี้ยงช่วยอย่างไรในชุมชน

  1. เขียนแผนและโครงการ
  2. การประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพในชุมชน
  3. การเปิดตัว และการสร้างความเชื่อมั่นให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
  4. เทคนิค  วิธีการสร้างเครือข่าย
  5. ขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินงาน เสริมพลัง กำลังคนและพัฒนาเครือข่ายการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน
  6. เทคนิคการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. กรอบวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติของกิจกรรมบำบัดในชุมชน

 สิ่งที่ต้องการให้สมาคมวิชาชีพช่วย

  1. สร้างความเข้มแข็งกับสมาคม เพื่อเชื่อมโยงกับวิชาชีพอื่นๆ
  2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้แก่นักกิจกรรมบำบัด
  3. นำเสนอผลงานทางกิจกรรมบำบัดให้เป็นที่รู้จัก

 2. Mindmapping พลังวิชาการสู่พลังวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัดชุมชน

3. แนวทางการเข้าถึงระบบเครือข่ายของชุมชน (โดยน้องจุ๋ม)

4. แนวทางการเขียนโครงการ (โดยพี่น้อย)

5. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการของบประมาณจาก สปสช (โดยพี่น้อย)

6. ตัวอย่างการวิจัยจากงานประจำในรูปแบบโครงการลงชุมชน (โดยพี่ใหม่)

หมายเลขบันทึก: 476054เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

...."ใส่ใจ ใช้ใจ และให้ใจ" สั้นๆ แต่ได้ใจความจริงๆค่ะ....

ขอบคุณมากครับน้องจุ๋มคนเก่งของกิจกรรมบำบัด

ยอดเยี่ยมมากคะ

ขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่าง การเขียนโครงการของแพทย์ประจำบ้าน ด้วยนะคะ

ยินดีอย่างยิ่งและขอบคุณมากครับคุณหมอ ป.

กราบนมัสการและขอบคุณครับท่านพระมหาฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท