NORA เทคโนโลยีที่ช่วยเตือนภัยก่อการร้าย


ประมาณช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยมีข่าวเกี่ยวกับการจับตัว "ผู้ต้องสงสัย" ที่จะเข้ามาก่อวินาศกรรมในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ประชาชนตื่นตระหนกพอสมควร ดังนั้นถ้ามีวิธีการหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้ทราบล่วงหน้าถึงความ เคลื่อนไหวต่างๆของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อความมั่นคงของประเทศก็นับว่าจะช่วย ลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก

วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ "เทคโนโลยี NORA (Non Obvious Relationship Awareness)" กันนะครับ ขอเรียกย่อๆว่า NORA (โนราไม่ใช้มโนราห์นะคับ) เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลจากหลายแหล่งมาหา ความสัมพันธ์เพื่อค้นหาข้อมูลตัวบุคคลที่เป็นความลับ ( hidden connection) ซึ่งจะช่วยในการค้นหาอาชญกร ผู้ก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ Data Warehouse และ Data Mining NORA ถูกคิดค้นนักวิทยาศาสตร์ที่ม IBM Entity Analytics ของบริษัท IBM ชื่อ เจฟ โจนาส (Jeff Jonas) (อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ http://www.research.ibm.com/theworldin2050/bios-Jonas.shtml)

NORA ทำงานอย่างไร ?
ระบบ จะประมวลผลข้อมูลต่างๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประกันสังคม หมายเลขบัตรเครดิตและที่อยู่ติดต่อกรณีฉุกเฉิน มาหาความเหมือนกันโดยเทียบกับข้อมูลบุคคลต้องสงสัยจากนั้นจะออกระบบการแจ้ง เตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ NORA สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของบุคคลที่เกิดบ่อยๆ เช่น นาย Francis George ที่อยู่เดิมคือเลขที่ 224 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Frank George มีบ้านเลขที่ใหม่ คือ 242 NORA สามารถวิเคราะห์ได้ว่าชื่อสองชื่อและที่อยู่ที่แตกต่างกัน คือคนๆเดียวกันถึงแม้จะเปลี่ยนชื่อที่ยากต่อการสอบสวนก็ตาม จาก การเกิดเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐอเมริกาพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายไม่ชัดเจน ค้นคืนได้ช้าและโปรแกรมหลายๆโปรแกรมไม่สนับสนุนการค้นคืนข้อมูล ดังนั้นก่ารเก็บข้อมูลแบบคลังข้อมูลหรือ Data Warehouse และใช้ NORA จะทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ภายใน 8 วินาที

NORA มีประโยชน์กับใครบ้าง ? (มองในฐานะผู้เขียน)
หน่วยงานรัฐบาล : ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาล เช่น กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ผู้ก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การติดตามจับนักโทษคดีร้ายแรงที่หลบหนี แกงค์ค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ เป็นต้น

บริษัทหรือองค์กร : บริษัทสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครได้อย่างกว้างไม่เฉพาะในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทราบถึงประวัติของผู้สมัครว่าเคยมีคดีติดตัวไดๆร้ายแรงตามที่ ต่างๆหรือไม่

ท่าอากาศยานและด่านตรวจคนเข้าเมือง : สามารถนำไปประยุกต์กับการตรวจผู้โดยสารโดยใช้ภาพจากกล้องเก็บบันทึกลงฐาน ข้อมูลประกอบกับหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดกรองผู้ที่จะเข้าหรือออกในประเทศ ในประเทศไทยก็เริ่มใช้ระบบต่างๆมาช่วย เช่น ระบบฐาน ข้อมูลอาชญกรรมที่พัฒนาโดย NECTEC ซึ่งคาดว่าเจ้าระบบนี้น่าจะมาเป็นพระเอกในช่วงที่มีกระแสข่าวการก่อร้ายใน ประเทศไทยหรือระบบตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ถ้าหากว่าระบบดังกล่าวสามารถทำการเชื่อมโยงได้กับฐานข้อมูลอาชญกรรมน่าจะทำ ให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อนๆพอรู้ไหมครับว่า เทคโนโลยีการตรวจสอบอาชญกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างๆ ก็มาร่วมแชร์กันได้นะครับ

ที่มา :

http://intranet.ibat.ie/moodle/course/is_management/mis10e/ch4/chpt4-1bullettext.htm http://www.pcworld.com/article/103692/tracking_terrorists_the_las_vegas_way.html

คำสำคัญ (Tags): #NORA#Non Obvious Relationshi
หมายเลขบันทึก: 474784เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท