เมื่อแม่ป่วย


คุณยายถูกนำมาเข้าห้อง ICU ในคืนนั้น แม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทางแล้ว แม่ต้อยและน้องสามคนยังนั่งจับเจ่าที่หน้าห้องคนไข้นั่นเอง

ในชีวิตการทำงานของแม่ต้อยตั้งแต่เริ่มทำงานจนเกษียณอายุแล้ว และยังทำงานต่อไปเรื่อยๆแม่ต้อยจะเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลในแง่มุมต่างๆนานา บางช่วงบางตอนของชีวิต เช่นเมื่อเริ่มทำงานตั้งแต่สมัย ๒๕๑๕ โน่นก็ทำงานในโรงพยาบาลสักสองปีเห็นจะได้  แต่หลังจากนั้นชีวิตก็เปลี่ยนแปลง จากคนทำงานในโรงพยาบาลก็ผกผันมานั่งทำงานในกระทรวงสาธารณสุขในตำแหน่งต่างๆ เรื่อยมาจนปัจจุบันที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล( องค์การมหาชน) นี่แหละ

      ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน แม่ต้อยก็ยังเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลอยู่ดี โรงพยาบาลหลายๆแห่งโดยเฉพาะโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้น เรียกได้ว่าแม่ต้อยมีความคุ้นเคยเป็นพิเศษ เพราะในบางช่วงของการทำงานแม่ต้อยทำหน้าที่การวางแผน การก่อสร้าง การพัฒนาโรงพยาบาลในรูปแบบต่างๆ ถึงขนาดจำได้ว่าตึกผู้ป่วยตึกใดบ้างที่ได้วางแบบแปลนและตั้งงบประมาณมา บางโรงพยาบาลแม่ต้อยไปเยี่ยมมากกว่า ๒๐ หรือ ๓๐ ครั้งเลยทีเดียว

      บรรดาคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่ทำงานในโรงพยาบาลปัจจุบันนี้ต่างก็เกษียณอายุกันไปหมดแล้ว เหลือเพียงแม่ต้อยคนเดียวที่อยู่ยงคงกระพันขนาดนี้  อิอิ

      แต่ว่า แม้ว่าจะทำงานมานาน และอยู่ยงคงกระพันขนาดนี้แม่ต้อยเพิ่งจะมีโอกาสเป็น “ ญาติผู้ป่วย” เมื่อเร็วๆนี้เอง

      อันนี้ต้องไล่มาตั้งแต่มหาอุทกภัยนั่นแหละ ที่แม่ต้อยต้องหนีน้ำออกมาอยู่ข้างนอกเป็นเวลาเดือนกว่าๆ แม่ของแม่ต้อย ซึ่งมีอายุสิริรวม ๘๘ ปี (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า” คุณยาย”) ก็ร่วมในกระบวนการหนี้น้ำไปด้วย

      ที่จริงไม่มีปัญหาอะไรหรอก เพราะคุณยายสนุกกับการหนีน้ำมากๆ แม้ว่าเราจะเปลี่ยนจากโรงแรม ไปอยู่คอนโด และก็ต้องย้ายจากคอนโดที่๑ ไปคอนโดที่๒ ก็ตาม

“ เหมือนกับว่าเราไปเที่ยว “ ทันสมัยมากๆคะ  คุณยาย

      เรื่องราวเกิดเมื่อแม่ต้อยเองจะต้องไปประชุมที่อเมริกาในระหว่างนั้น  นับว่าเป็นการหนีน้ำที่โก้เก๋ซะไม่มี 

      “ หนูจะไม่อยู่ สักห้าวัน คุณยายอยู่ได้ไหม จะให้น้องมาอยู่ด้วย”

“ ได้ ได้ แต่ใครจะมาอยู่ละ” แม่ถามอย่างกังวล เพราะว่าลุกๆแต่ละคนเขาก็มีงานที่ต้องรับผิดชอบ

      คำถามนี้ง่ายๆแต่ตอบยากมากเลยทีเดียวอิอิ

สุดท้ายน้องสาวแม่ต้อยก็สรุปแนวทางใหม่โดยการบินมารับคุณยายไปอยู่ด้วยที่จังหวัดอุดรธานี อันคำนวรแล้วว่าน้ำไม่น่าจะท่วมไปถึงแน่ๆ ยังไงๆก็ต้อง”เอาอยู่” แฮ่ๆ

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คุณยายก็ไปใช้ชีวิตที่อุดรธานีเรื่อยมา

เมื่อวันปีใหม่นี้เอง น้องสาวก็โทรมาตั้งแต่เช้าตรู่ของวันที่๓๑ ธันวาคม อันเป็นวันสิ้นปีว่า

“ แม่ไม่ค่อยทานข้าว ซึมๆนะ อยากให้มาดูหน่อย”

อันที่จริงแม่ต้อยมีกำหนดการจะไปเยี่ยมคุณยายในวันที่๑๒ มกราคมแล้ว  เมื่อทราบข่าวจึงหาหนทางเดินทางไปจังหวัดอุดรธานีให้ได้ ซึ่งยุ่งยากมากเพราะเป็นวันเทศกาลปีใหม่ รถราติด ตั๋วเครื่องบินไม่มี

คุณยายดีใจเมื่อเห็นหน้าลูกหลาน กินข้าวได้มาก  คุยเสียงดัง เมื่อเห็นอาการอย่างนั้น แม่ต้อยจึงชวนน้องและยาย

 ไปเที่ยวอำเภอเชียงคาน ที่อยู่ใกล้ๆ เป็นการฉลองปีใหม่ไปในตัว อิอิ

      รุ่งเช้า ยายบอกว่า” แม่ไม่ไปดีกว่า ขอนอนพักที่บ้าน ให้ลูกๆไปกันเถอะ เชียงคานไปมาแล้วตั้งสองรอบ แก่งคุดคู้ก็ไปมาแล้ว  นั่งรถนานๆเมื่อยตัวเปล่าๆ..”

เมื่อกลับมา ก็มาคุยกับคุณยายต่อ ยายบ่นปวดเมื่อยตามตัว พวกเราก็ช่วยกันนวดเฟ้น น้องชายที่ทำงานเป็นคณบดีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต บอกว่า พรุ่งนี้ต้องกลับก่อนแล้ว เพราะจะมีประชุมในวันแรกของการทำงาน

แม่ต้อยมารู้สึกผิดสังเกตในตอนเช้า เพราะว่าคุณยายมีอาการหนาวมากขึ้น จับตามเนื้อตัวไม่มีอาการไข้ แม่ต้อยเริ่มกังวล ตอนนี้โทรศัพท์ไถ่ถามไปรอบตัว แต่ในใจคิดว่าต้องมีอาการติดเชื้อที่ใดสักแห่งแน่นอน

วันนั้นเป็นวันหยุด  บ้านน้องสาวอยู่อำเภอที่ไกลโรงพยาบาลศูนย์ประมาณ ร้อยกว่ากิโลเมตร

เมื่อลองวัดปรอท แม่ต้อยแทบสิ้นสติเมื่อไข้สูงมาก จึงตัดสินใจนำคุณยายไปที่รพ.อำเภอที่ใกล้บ้านก่อน

ที่โรงพยาบาลอำเภอ คุณยายได้ยาลดไข้ และน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ คุณหมอรับรองว่าจะดูอาการให้ได้ ไม่ต้องกังวล ความน่ารักของหมอหนุ่มน้อยทำให้แม่ต้อยรู้สึกอบอุ่นใจ แต่แม่ต้อยแอบเห็นความกังวลฉายอย่างปิดไม่มิด

สัญญาณชีพของคุณยายลดลงเรื่อยๆ จนอยู่ในระดับที่เรียกว่าSHOCK แม่ต้อยตัดสินใจขอย้ายเข้ารพ.ศูนย์ทันที

ในยามนั้นเวลาเริ่มโพล้เพล้แล้ว ความมืดเริ่มคืบคลานเข้ามา เมื่อรถพยาบาล นำคุณยายส่งรพที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่างรวดเร็ว

“ ผมไม่กล้าเคลื่อนย้ายในตอนแรกเพราะเกรงว่าจะมีเหตุการณ์ฉุกเฉินระหว่างทาง เพราะว่าระยะทางค่อนข้างไกล ครับแม่ต้อย”  คุณหมอหนุ่มผู้ใจดี แอบบอกแม่ต้อย

“ ตอนนี้ผมเห็นว่าอาการคุณยายอยู่ในระดับที่เคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัยได้”

แม่ต้อยต้องขอชมเชยคุณหมอและทีมงานที่ประเมินอาการและแน่ใจว่าไม่มีอุบัติการณ์ระหว่างการส่งต่อ และน้องพยาบาลที่ดูแลระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยที่มีศักยภาพในการดูแลคนไข้ที่มีภาวะช้อคได้ดี

แม้ว่าจะอยู่ในภาวะช้อค แต่คุณยายก็พอรู้ตัว คุณพยาบาลมาเล่าให้ฟังในตอนหลังว่า คุณยายพุดคุยตลอดทาง

คุณยายถูกนำมาเข้าห้อง ICU ในคืนนั้น แม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทางแล้ว แม่ต้อยและน้องสามคนยังนั่งจับเจ่าที่หน้าห้องคนไข้นั่นเอง

ความทุกข์ ความกังวลของญาติที่มีต่อคนไข้หนึ่งคน นั้นอาจจะต้องคูณด้วยจำนวนญาติ ที่มีอยู่ดังเช่นแม่ต้อยและน้องๆในขณะนี้เอง

น้องชายแม้ว่าจะทำงานเป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัยระดับคณบดี ไปประชุมต่างประเทศเป็นว่าเล่น แต่ในยามนี้ ก็ไม่ต่างไปจากชาวบ้านคนอื่นๆ ที่นั่งเจ่าจุก แม่ต้อยเห็นเขาเดินไปชะโงกตรงหน้าต่างห้อง ICU   แอบดูการทำงานของแพทย์พยาบาล เพียงเพื่อขอให้ได้เห็นว่าแม่อยู่ในสภาพหรืออาการ เช่นใด

“ เขากำลังให้เลือดนะ แม่จะเจ็บไหม?

“ไม่เจ็บหรอก ให้เลือดให้น้ำเกลือ เดี๋ยวแม่ก็ดี “ เราพุดคุยกันปลอบใจกันราวกับเด็กเล็กๆ

เมื่อแม่ต้อยได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมแม่ สิ่งที่แม่ต้อยได้เห็นทำให้แม่ต้อยน้ำตาปริ่มเบ้าตา

คุณยาย หน้าตาอิดโรย ที่แขนเสียบด้วยสายให้เลือด และจมูกมีสายให้ออกซิเจนอยู่  ในมือคุณยายถือมาสปิดจมูกไว้อันหนึ่ง  แม่ต้อยก็สงสัยว่าคุณยายเอามาถือไว้ทำไม ได้มาตอนไหน?

เมื่อเห็นแม่ต้อย คุณยายยื่นมาสปิดจมูกให้แม่ต้อย พร้อมกับทำท่าให้แม่ต้อยสวมคาดปิดจมูกไว้

“ ปิดจมูกไว้เสีย  เชื้อโรคมาก “ คุณยายสั่งการแม้ว่าในจมูกยังมีสายออกซิเจนอยู่

“ เอามาจากไหน แม่ต้อยก้มลงถามเบาๆ”  อดขำในใจไม่ได้

“ แม่เห็นหมอที่มาตรวจเขาใส่กันทุกคน เลยให้เด็กหยิบมาให้อันหนึ่ง “ คงจะเป็นที่ ER  แน่ๆ

ด้วยความเข้มแข็งของคุณยาย อาการค่อยๆดีขึ้นจากการติดเชื้อ แม่ต้อยขออนุญาต ลางานตลอดสัปดาห์ เพื่อเฝ้าดูแล รวมทั้งน้องๆทั้งหมด

แม่ต้อยได้มีโอกาส เปลี่ยนผ้าเปื้อนอุจาจาระ ปัสสาวะ อาบน้ำบนเตียง ป้อนข้าว  และพัฒนาไปจนถึงการพาคุณยายไปอาบน้ำจากฝักบัวให้ชื่นใจ

ทุกบ่าย เราจะเข็นรถให้คุณยายนั่งเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ  ชื่นชมกับต้นไม้ที่ปลุกไว้รอบๆโรงพยาบาล ผู้คนที่ผ่านไปมาก็แวะทักทาย

แม่ต้อยเคยสอนเรื่อง healing environment มาแล้วนับไม่ถ้วน เมื่อมาเจอกับตัวเองจึงอยากจะบอกว่านี่เป็นเรื่องสำคัญมากๆ

แผนการ รักษาโรค มีความสำคัญมาก และการเยียวยาก็มีความสำคัญมากพอๆกัน คนป่วยทุกๆคนควรมีโอกาสได้สัมผัสกับสรรพสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และสังคม เช่น สัมผัสความสวยงามของ ต้นไม้  ดอกไม้ ได้เห็นผู้คน และความเป็นไปต่างๆรอบตัว  

คุณยายมีเริ่มมีอาการหลงลืมในวันที่ ๘ ของการรักษา  บางครั้งจำไม่ได้ว่ากินข้าวแล้ว  บางครั้งพุดกับคนบางคนในอดีต บางครั้งสวดมนตร์ หรือคิดว่าตัวเองอยู่ที่บ้าน  เรียกหาคนโน้นคนนี้ให้ทั่ว

แม่ต้อยจะชวนคุณยายคุยเหมือนปกติ คุยในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน

“ ตอนนี้แม่ป่วย อยู่ที่รพ.นะคะ ไม่ใช่ที่บ้าน เดี๋ยวเราให้น้ำเกลือ เรากินยา แล้วจะหาย”

“ เขาจะปอกแอบเปิ้ล แม่จะบอกเขานะว่าไม่เอา” คุณยายพูดขึ้นมาลอยๆเมื่อเห็นคุณพยาบาลจะมาเปลี่ยนน้ำเกลือ

“ ไม่มีแอบเปิ้ลคะ เรากำลังจะให้น้ำเกลือ “ ได้ผลคะ คุณยายบอกว่า นี่แม่ละเมอไปเองหรือ...

แม่ต้อยโทรศัพท์ไปถามผู้รู้ทุกท่าน ทุกคนที่แม่ต้อยหารือจะพุดคล้ายๆกันว่าคนแก่ขนาดนี้มักจะเป็นแบบนี้ทุกคน

“ ไม่หายหรอก เป็นถาวรเลยละ ต้องหาคนดูแลดีดี..” ทำเอาแม่ต้อยจิตตก

แต่แม่ต้อยมีความหวังเสมอ คนอื่นจะหมดหวังก็ช่าง  พรุ่งนี้ต้องดี กว่าวันนี้แน่นอน  มันต้องเป็นเช่นนั้น

ทุกวันเราจึงทำให้คุณยายใช้ชีวิตอย่างคนธรรมดา อาบน้ำในห้องน้ำ กินอาหารที่ชอบ นั่งรถเข็นไปเที่ยวรอบๆ  เพื่อให้การรับรู้ของคุณยายเป็นไปอย่างปกติ

แม่ต้อยบินกลับไปทำงานเมื่ออยู่กับคุณยายได้ ๑๒ วัน ในตอนนั้นอาการทางร่างกายของคุณยายเริ่ม ดีเป็นปกติทุกอย่าง ยกเว้นอาการหลงลืมในบางครั้ง แม่ต้อยจัดหาคนเฝ้าจำนวนสองคน นอกเหนือจากน้องสาวที่มาดูแลแล้ว

น้องสาวแม่ต้อยรายงาน ด้วยระบบรูปภาพและเปิดโทรศัพท์ให้แม่ต้อยฟังเสียงคุณยายวันละหลายๆครั้ง จนถึงวันที่๑๐ ของการนอนโรงพยาบาล

 ทุกๆวันอาการเพ้อจะค่อยลดลง ๆ จนถึงวันนี้ วันที่คุณหมออนุญาตให้คุณยายกลับบ้านได้แล้ว

“ แม่ต้อยคะ ยายนอนหลับดี ทานข้าวได้มากคะ ไม่มีอาการเพ้อเลยคะ หายแล้ว “ เด็กที่เฝ้ารายงานเสียงแจ๋ว  ลองคุยกับยายนะคะ

คำแรกที่คุณยายถามแม่ต้อยทางโทรศัพท์คือ

“ กินข้าวหรือยังลูก? “

เป็นคำทักทายที่มีค่ามากสำหรับแม่ต้อยจริงๆคะ

และประสบการณ์ของการเป็นญาติที่ได้ดูแลแม่นั้นเป็นดั่ง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราได้มีโอกาสทำให้คนที่เรารัก  

 

แม่ต้อยขอขอบคุณทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลนากลาง  ทีมส่งต่อรพ.นากลาง

ทีมแพทย์ พยาบาล ER ICU และทีมแพทย์ พยาบาล  ตึกผู้ป่วยพิเศษ รวมน้ำใจโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

 คุณหมอ หมิว คุณดำรงเกียรติ   น้องกิตติยา คุณนิด   คุณหมอทวีรัชต์ น้องอังคณา คุณหมอ ปราโมทย์  และทุกท่านที่มาให้กำลังใจในยามวิกฤติ

ขอบคุณอาจารย์ อนุวัฒน์ และน้องๆจากสรพ. ทุกท่านที่ห่วงใยไถ่ถามด้วยความห่วงใย

เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดที่ได้รับจริงๆคะ

สวัสดีคะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แม่
หมายเลขบันทึก: 474641เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2012 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ให้กำลังแม่ต้อยนะคะ 

คุณแม่ของแม่ต้อยสบายใจได้ มีคนมีคุณภาพแบบแม่ต้อย ดูแลท่านอยู่

จะต้องหายโดยเร็วไวค่ะ

Ico48

สวัสดีคะน้องแก้ว

แม่ต้อยต้องมาเรียนรู้เรื่องการติดเชื้อให้มากขึ้นอีกคะ

สวัสดีปีใหม่นะคะ วันนี้คุณยายกลับบ้านแล้วคะ  ดีใจมากเลยคะ

สวัสดีวันครูค่ะแม่ต้อย

สวัสดีครับ แม่ต้อย

ขอให้คุณยาย และทุกคนในครอบครัว

โชคดี สุขกาย สบายใจ ตลอดปี นะครับ

และ

ขอบคุณที่แวะไปอ่าน

สวัสดีค่ะอาจารย์แม่ต้อย

เป็นกำลังใจในการดูแลคุณแม่ค่ะ

สวัสดีคะ Ico48เป็นกำลังใจในการดูแลคุณยาย ขอให้คุณยาย และทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงทั้ง กายและ ใจ นะคะ ...

สวัสดีค่ะแม่ต้อย..อ่านบันทึกแล้วคิดถึงแม่ที่สุด..ขอให้คุณยายสุขภาพแข็งแรงคุณยายคุยเก่งน่ารักมากๆค่ะ..^_^

  • หัวอกเดียวกันเทียวครับ
  • คนสูงอายุเกิน70ปี มักจะอ่อนแอ
  • ทำให้ป่วยบ่อยมากหน่อย
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ

สวัสดีคะ

ขอบคุณทุกๆท่านนะคะ

คุณยายได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดคะ  แต่ว่าด้วยพยาธิสภาพและอายุที่มากแล้ว คุณยายได้จากไปแล้วเมื่อวันที่๒๒ มิถุนายนที่ผ่านมาคะ

ขอบคุณทุกท่านคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท