4 จุดเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลบัตร(เครดิต เดบิท ATM) [EN]


อาจารย์เคลส เบลล์ แห่งเว็บไซต์ 'Bankrate.com' ตีพิมพ์เรื่อง '4 risky places to swipe your debit card' = "4 (สถาน)ที่สุดเสี่ยงสำหรับการรูดบัตรเดบิท (บัตร ATM แบบจ่ายเงินผ่านการรูดบัตรได้จากบัญชีออมทรัพย์)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ swipe ] > [ s/สะ - ไว้ - p/ผึ (เสียงสั้นเบา) ] > http://www.thefreedictionary.com/swipe > noun, verb = (การ)ตี ฟาดอย่างแรง รูดบัตร(เครดิต-ATM-เดบิท)
  • [ risk ] > [ หริส - sk/สึขึ (เสียงสั้นเบา) ] > http://www.thefreedictionary.com/risk > noun, verb = (ความ)เสี่ยง
  • [ risky ] > [ ริส - กี่ ] แบบอเมริกันหรือ [ ริส - ขี่ ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/risky > adjective = (ซึ่ง)เสี่ยง มีความเสี่ยง
ภาษาอังกฤษ - คลิกที่ลิ้งค์เพื่อฟังเสียงเจ้าของภาษา; แถบแต้มสี = ให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ซึ่งส่วนใหญ่คำนานเน้นพยางค์หน้า, กริยาเน้นพยางค์หลัง, พยัญชนะท้ายคำออกเสียงสระ "อึ" สั้นและเบา
.
บัตรเดบิท (debit card) เป็นบัตร ATM ที่ใช้รูดบัตรได้คล้ายบัตรเครดิต โดยการหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์โดยตรง ไม่ได้หักจากบัญชีบริษัทบัตรเครดิตก่อน แล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ถือบัตรแบบบัตรเครดิต ทำให้การโกง หรือขโมยข้อมูลบัตรเดบิททำได้ง่ายกว่า
.
จุดที่ทำให้บัตรเดบิทเสี่ยงมากกว่าบัตรเครดิต คือ ผู้รูดบัตรเดบิทไม่มีโอกาสตรวจสอบ หรือทักท้วงรายจ่ายประมาณ 7 วันก่อนวันชำระเงิน หรือหักบัญชีอัตโนมัติแบบบัตรเครดิต 
.
วิธีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิทอย่างหนึ่ง คือ เปิดบัญชีออมทรัพย์แยกไปต่างหาก ไม่ทิ้งเงินในบัญชีไว้มากเกิน เช่น อาจจำกัดไว้ที่ 5,000-50,000 บาท ฯลฯ เพื่อให้วงเงินการใช้จ่ายไม่สูงมากเท่าบัตรเครดิต
.
4 จุดอันตรายในการใช้บัตรเดบิท หรือ ATM แบบรูดบัตรหักเงินได้แก่
.
(1). การขโมยข้อมูล (skimming) จากตู้ ATM
.
ตู้ ATM ที่อยู่กลางแจ้ง (outdoor ATMs), ไกลหูไกลตาผู้คน หรือที่เปลี่ยว เสี่ยงอันตรายจากการติดเครื่องขโมยข้อมูล (skimming) ได้ง่ายกว่าตู้ ATM ในอาคาร เช่น บริเวณใกล้ธนาคาร ในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ
.
เครื่องขโมยข้อมูลจะดึงข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก ซึ่งโจรไซเบอร์ (ผู้ร้ายยุคดิจิตอล) อาจนำไปติดไว้ใกล้ๆ ช่องสอดบัตรที่ตู้ ATM, ขโมยข้อมูล นำไปทำบัตรใหม่ ทำให้เงินหายไปจากบัญชีอย่างรวดเร็ว
.
วิธีป้องกันอย่างหนึ่ง คือ สอดส่อง ตรวจตราช่องเสียบบัตรก่อนใช้ทุกครั้งว่า มีอะไรผิดปกติ เช่น มีอะไรประกบอยู่ทางด้านหน้าหรือไม่ ฯลฯ ก่อนใช้ทุกครั้ง, ถ้าไม่แน่ใจ... ให้แจ้งธนาคารที่ออกบัตรทันที บอกไปด้วยว่า สงสัยตู้ตรงไหน
.
(2). ขโมยรหัสผ่าน 4 หลัก (PINs) ที่ปั๊มพ์น้ำมัน
.
การขโมยข้อมูลที่ปั๊มพ์น้ำมันอาจทำในรูปการดักสัญญาณระหว่างทาง หรือร่วมมือกับเด็กปั๊มพ์ให้รูดผ่านเครื่องถอดสัญญาณ
.
การจำกัดจำนวนเงิน เช่น เลือกใช้บัตรที่มีเงินในบัญชีน้อย เลือกบัตรเครดิตที่มีวงเงินต่ำ ฯลฯ ช่วยลดความเสี่ยงได้, บริษัทบัตรเครดิตส่วนใหญ่มีบริการให้ลูกค้าขอลดวงเงิน หรือทำบัตรเสริมที่มีวงเงินต่ำสำหรับใช้ในจุดเสี่ยง เช่น อาจใช้บัตรเครดิตเสริมที่กำหนดวงเงินไม่กี่พันบาท ฯลฯ ได้
.
(3). เว็บ (ใช้เงินออนไลน์)
.
การใช้เงินออนไลน์มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะถ้าใช้คอมฯ ในที่สาธารณะ หรือใช้ระบบไร้สาย (wireless) จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น
.
(4). ภัตตาคาร-ร้านอาหาร
.
ภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือปั๊มพ์น้ำมันที่ขอบัตรไปรูดลับหลัง เพิ่มเสี่ยงต่อการลักลอบเก็บข้อมูล
.
การตามไปดูตอนรูดบัตร อาจทำได้ยาก(มาก), ทางเลือกที่ดี คือ แยกบัตรที่จะใช้ในจุดเสี่ยงทั้ง 4 จุดไว้เป็นบัตรที่มีวงเงินน้อย เช่น แยกบัญชีออมทรัพย์สำหรับบัตรเดบิทให้มีเงินเหลือไม่มาก, แยกบัตรเครดิตเป็นบัตรเสริม และติดต่อบริษัทที่ออกบัตรเครดิตให้ลดวงเงินสำหรับบัตรนั้นลง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 มค.54. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 474072เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2012 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท