มิติจิตใจในอเมริกา๓


การดูงานในช่วงเวลาสามวัน และเดินทางอีก๗๒ ชั่วโมงก็จบสิ้นลงด้วยประการฉะนี้คะ



Planetree
Conference 4

 

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการประชุม อันที่จริงการประชุมครั้งนี้
เป็นการประชุมที่ค่อนข้างสนุกและได้ความรู้ที่แตกต่างจากการประชุมอื่นๆ
ฝรั่งที่มาบรรยายใช้ Slide หรือ power point น้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้เรื่องเล่า และภาพประกอบ การบรรยายในแต่ละหัวข้อเหมาะสำหรับผู้แตกฉานภาษาอังกฤษสไตล์อเมริกันมากๆ บางครั้งมีลูกเล่นที่แม่ต้อยไม่เข้าใจ



แต่พอมาวันที่สาม การสื่อสารจะดีขึ้น เพราะเราคงเริ่มคุ้นเคย แล้วละคะ 
ในวันที่สองและที่สามนี้พวกบูทต่างๆที่มาออกนิทรรศการพากันหอบข้าวของกลับบ้านกันหมดแล้ว อาจจะเป็นเพราะplanetree เขาเก็บค่าใช้จ่ายแพงมากก็เป็นได้
อีกทั้งที่ Gaylord Opryland นี้เป็นสถานที่จัดประชุมโดยเฉพาะ
แม่ต้อยนับดูมีถึง ๔ การประชุมใหญ่ๆ ผู้คนห้อยป้ายสีต่างๆเดินกันให้วุ่นวาย

 

วันนี้เริ่มรายการตั้งแต่หกโมงครึ่ง คุณ Foco
มานำทีมออกกำลังกายตั้งแต่เช้า เรียกเสียงหัวเราะสนุกสนาน
เสียงกรี้ด พร้อมจังหวะการเต้นรำแบบง่ายๆ แม่ต้อยออกไปเต้น ท่ามกลางฝรั่งนับพันคน เพราะไม่ต้องอายใครทั้งนั้น ไม่ต้องรักนวลสงวนตัวใดใด ทั้งสิ้น อิอิ  สนุกมากคะ

 

หลังจากนั้น ก็ให้พัก หนึ่งชั่วโมงเพื่อที่จะกลับมาคุยกับคุณ Foco อีกครั้ง
ซึ่งเธอก็มาเน้นเรื่องพฤติกรรมการบริโภคเช่นเคย เธอบอกว่าลักษณะของสังคมที่เปลี่ยนไป จากวัตถุนิยมและการค้าทำให้สุขภาพของเราแย่ไปด้วยอันเนื่องมาจากการโฆษณาและการสื่อสาร ปัจจุบันอาหารพวกขยะ เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน เบอร์เกอร์ ใช้เงินสำหรับโฆษณา หลายร้อยล้านเหรียญต่อปี มีการขายอาหารแบบจูงใจ giant portion  หรือ hyper palatable คือแบบจานยักษ์ และคนมักจะเสียดายเพราะได้จ่ายเงินไปแล้วนั่นเอง นี่ทำให้พฤติกรรมการกินของคนอเมริกันเปลี่ยนไป

 

แม่ต้อยแอบชำเลืองคุณป้าที่มานั่งข้างๆแม่ต้อยสองคน
เธอพกขนมปังชิ้นใหญ่ๆ ปาดครีมหนานั่งฟังบรรยายแบบหน้าตาเฉย
และยังหัวเราะต่อกระซิกกับเพื่อนอย่างสนุก เห็นที่คุณ Foco
คงเหนื่อยอีกนาน อิอิ



ชั่วโมงถัดมานี่สิเรียกว่าสุดยอดทีเดียว เพราะว่าคนบรรยายคือ คุณ John Foley อดีตเคยเป็นหัวหน้านักบินของสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Blue Angle เป็นกองทัพบินของเหล่าราชนาวีสหรัฐ หรือ US;s navy Flight แต่ที่เรียกเสียงกริ๊ด
สนั่นห้องคือเขาเป็นนักแสดงในเรื่อง Top Gun เสียด้วย   หนังเรื่องนี้ดังมากเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา แสดงแสนยานุภาพของอเมริกา

 

วันนี้เขามาบรรยายเรื่อง Team Oneness ให้ฟัง การบรรยายของเขาเรียกร้องความสนใจมาก เพราะเปิดเรื่องด้วยส่วนหนึ่งของหนัง ที่เขาแสดงบินผาดโผนในน่านฟ้า
เมื่อปิดฉากนั้นคนดูปรบมือก้องจนเขาแทบจะเริ่มต้นบรรยายไม่ได้เลย

 

เขาสามารถนำประสบการณ์การบิน การทำงานเป็นทีมของเขาและเพื่อนมาเปรียบเทียบกับระบบสุขภาพได้  แม่ต้อยว่าคนที่มาบรรยายทุกคนที่เป็นอาชีพอื่นๆ
เขาเตรียมตัวมาบรรยายได้อย่างสอดคล้องกับงานของผู้จัด



การทำงานเป็นทีมจุดที่ท้าทายคือช่วงที่เราจะเริ่มทำงานหรือที่เรียกว่า
high
performance zone เป็นจุดระหว่าง current state กับ goal นั่นเอง
จุดนี้จะต้องออกรงมากในการขับเคลื่อนทีม คล้ายๆกับการ take off เครื่องบินรบของเขา แต่ทั้งนี้ต้องมีความมั่นใจ และฮึกเหิม

 

เขาบอกว่าในทีมนั้นทุกคนเป็นคนสำคัญ “
you  pilot ,me pilot” คุณค่านี้ทำให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น 

ทีนี้การทำงานเป็นทีมนั้นก็ต้องมีหลักการด้วย เขาเรียกว่า Diamond performance คือ อันดับแรก เราต้องมีความเชื่อ belief ก่อนมีความเชื่อในสิ่งที่ทำ หลักขั้นที่สองคือ เมื่อมีความเชื่อแล้วก็ต้องมาสื่อสารมาตกลงกันหรือ brief ว่าการทำงานเราจะทำอย่างไร ขั้นตอนที่สามคือ contracts คือเมื่อทำงานเราต้องมีความไว้ใจกัน trust มี commitment และมี execution ต้องทำให้สำเร็จ หรือลงมือทำ 
และสุดท้ายต้องมี debrief อีกครั้งหนึ่ง



ตลอดเวลาเขาจะสลับการบรรยายในแต่ละประเด็นจาก หนังเรื่อง
Top Gun ซึ่งก็จะมีกิจกรรมครบทั้งหมดนี้   โดยไม่ลืมที่จะสร้างแรง
บันดาลใจให้กับคนในแวดวงสุขภาพด้วย



It,s cool job to serve  people  like  you in Health care system, your jobs impacts for all people..and myself.



สิ่งที่นักบินของ Blue Angle ยึดถือปฏิบัติคือ การทำงานที่เป็นเลิศจนเป็นวัฒนธรรมการทำงาน การทำงานต้องเริ่มจากความฝันเสมอ
เขาบอกว่าตอนเด็กๆเขาใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบินมากที่สุด



“ If we have a dream it fill in my heart, not in my head.



เสียงปรบมือกึกก้องเมื่อเขาเอ่ยประโยคสุดท้ายก่อนลาจากเวทีด้วยประโยคทอง



“ I hope you,ll come back and make it difference, all people waiting for you.



ในการบรรยายอีกหัวข้อหนึ่ง “  Harnessing the Power of Great Relationship “ โดย Tim Sanders เขาผู้นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสัมพันธภาพ
เป็นวิทยากรที่ได้รับการเชิญให้ไปบรรยายมากที่สุด( คงรวยมากๆอิอิ) และยังเขียนหนังสือขายเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งลงใน newyork time Financial time Wallstreet Journal

 

แม่ต้อยชักสงสัยว่าวิทยากรของเขานี่เช้าขั้นรูปหล่อทุกคน
แต่หากมาเมียงมองใกล้ๆ ก็จะออกแนวหวานๆ ฮ่าๆ



คุณทอมนี่แกก็ขั้นเทพในการบรรยายเลยละคะ  เขามีพรสวรรค์หลายด้านเพราะเขาเก่งกาจด้านเทคโนโยลี่ เป็นถึง Chief solutions officer of Yahoo แต่ก็มีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างแรงบันดาลใจและเชื่อมระหว่างเทคโนโลยี  ธุรกิจ
งานเข้ากับสังคมและความรู้สึกประสบการณ์ของผู้คนได้



“ ผมดีใจที่ได้มาบรรยายในวันนี้ เพราะการบรรยายของผมแต่ละครั้งผมคิดว่ามันช่วยให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงได้..”
โอ้โห  ขั้นเทพจริงๆ



“การสร้างแรงบันดาลใจสำหรับตัวเองนั้นมันทำให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมเราได้ด้วย 
วันนี้เรามาพร้อมกันที่นี่ด้วยเหตุผลตามแนวคิดของการประชุมคือ patient
care centered แล้วอะไรละที่จะทำให้เราไปสู่ตรงนั้นได้
หากไม่ใช่จากพฤติกรรมของเราเอง... “



เราต้องหวังว่ามันจะต้องเกิดขึ้นได้
และเมื่อมันสำเร็จไม่ได้หมายความว่าเราไปถึงจุดหมายปลายทาง
แต่ทว่าความสำเร็จนั่นเป็นเพียงเครื่องชี้ทางเดินต่อไปเท่านั้น

“ Success is not the end ,but it,s only a direction.



ว้าววว.. สุดยอด แม่ต้อยแอบกริ้ดในใจคนเดียว..ขอกดlike
1000000 ครั้ง เอาหัวใจไปเลยเต็มๆๆ อิอิ

การสร้างสัมพันธ์ภาพเราต้องรู้จักชื่นชม
ยกย่องผู้คนที่อยู่ตรงหน้าเราให้มากที่สุด พุดคุย สายตา ท่าทาง ต่างๆ
คนในวงการสุขภาพยิ่งต้องการสิ่งนี้มาก และเมื่อนำไปบูรณาการกับวิชาชีพของเราแล้วจะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ในการดูแลผู้คน



การมีมุมมองในเชิงบวกโดยการสร้างแรงบันดาลใจจากภายในตัวเราเอง
จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน 
สิ่งนั้นคือจะกลายเป็นจิตสำนึกที่อยู่ในวิถีชีวิตของเรา
และออกมาจากการปฏิบัติ



Positive thinking is not description , it,s out come,
Out come of conscious life style.



การที่จะยื่นมือช่วยเหลือผู้อื่นนั้นมิใช่เพียงคนไข้
หรือผู้ป่วย แต่ควรเป็นการช่วยทุกๆคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร

 

หากจะเปรียบเทียบระหว่างคนสองคน
คนแรกมีอำนาจมาก สามารถให้เราได้รับในสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เงิน ตำแหน่ง ที่เป็น tangible value  กับอีกคนหนึ่งที่อาจจะไม่มีในสิ่งแรก  แต่สามารถชื่นชมเรา ให้เกียรติเรา ยอมรับฟังเรา สิ่งนี้เป็น intangible value ถามว่าเราจะรักใคร  เราอาจจะต้องปฎิบัติตามคนแรก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราจะมีแรงบันดาลใจ จากคนที่สอง



ชีวิตเรา แรงบันดาลใจของเราจะมาจากบุคคลประเภทที่สองเป็นส่วนใหญ่

 

ตอนนี้คุณ Tim sanders ได้ให้ทุกคนเปิดโทรศัพท์
เลือกรายชื่อเพื่อนสักคนหนึ่งแล้วส่งข้อความใดๆก้ได้ที่แสดงความชื่นชม คิดถึง
หรืออื่นๆ



แม่ต้อยว่าจะส่งมาให้ทุกคนแต่ก็เกรงใจค่าโทร
จึงขอยกยอดมาบอกทุกคนในที่นี้นะคะว่า

 

” ทุกคนในสรพ. ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณที่ดี เป็นตัวอย่างของรพ.ทั้งประเทศ รักทุกคนคะ (คล้ายๆนักการเมือง ) “



คุณ Tim บอกว่าทุกๆคนเป็นคนดี
( แม่ต้อยก็บรรยายแบบนี้มาสี่ห้าปีแล้วนะ 
ไม่เห็นมีใครมาเชิญไปนิวยอร์คมั่งเลย อิอิ )  เราต้องให้ความรู้เขา สร้างเครือข่ายให้เขา
และสร้างแรงบันดาลใจให้เขา ( อันนี้ SHA-Thailand ก็ทำเหมือนกันน่าแหละ
)



อยากให้ทุกคนสร้างสัมพันธ์กับผู้มารับบริการ เรียนรู้จากประสบการณ์ เช่น waiting experience , care experience , procedure experience, ICU experience ect..



การรู้บุญคุณ  การขอบคุณ เป็นการทำที่เล็ก แต่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้



สุดท้าย เขาบอกว่า ความรู้สึกคือความจริง Feeling
are facts   เช่น เวลาเรา ดีใจ เราเสียใจ เราโกรธ นั่นละ ความจริง ไม่มีอะไรมาปกปิดได้ และเราสามารเรียนรู้จากความจริงนี้ได้



แต่ความรู้สึก” รัก” ซึ่งเป็นความจริงอันยิ่งใหญ่
จะสามารถขยายความดีงามไปทั่วโลกได้ อีกเช่นเคย เสียงปรบมือยาวนาน
ผู้เข้าประชุมลุกขึ้นยืน จนคุณ Tim โบกมือลงจากเวทีไป



เฮ้อ  น่าอิจฉาคนพูดดีดี แบบนี้เสียจริง



 



Planetree Film awards  แทบไม่น่าเชื่อว่า รายการนี้มันเป็นสิ่งที่แม่ต้อยเตรียมจะจัดในปีหน้าในโครงการ SHA นี่แหละ แต่ของเขาจัดง่ายๆ
มีรพ.ที่อัดวิดิโอที่แสดงผลงาน planetree มา แห่งละ สามนาที
แม่ต้อยว่าของรพ.พระยืน ของรพ.แม่ทา ของรพ.รามาธิบดี ที่เราเคยทำมากินขาด 
ไม่เชื่อน้องๆคอยดูที่เราจะทำก็แล้วกันนะคะ  ตอนนี้ติดต่อ สหมงคลฟลิมส์ไว้แล้วด้วย



แต่แม่ต้อยชอบใจหนัง เรื่องหนึ่ง เขาจัดพิธีแต่งงานให้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในรพ.
คนไข้หรือแขกที่มาสวมผ้าคาดจมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แต่หลังจากนั้นหกเดือนคนไข้นั้นก็เสียชีวิตไป
เรื่องงนี้แม่ต้อยว่าที่บำราศนราดูรเรามีมาก น้องอ๋องทำไว้เยอะแยะ จากโครงการ SHA



กลางวันมี wisdom workshop แม่ต้อยเข้าไปนั่งฟังด้วย มีคนหันมามองอย่างแปลกๆ  ตอนหลังจึงรู้ว่าเฉพาะสมาชิกของเขา เป็นการมาแลกเปลี่ยนกันว่าใครทำอะไรบ้าง คล้ายๆสุนทรียสนทนาของเรานั่นเอง  สักพักแม่ต้อยเลยผลุบออกมา กำลังมาเมียงมองว่าจะไปที่ไหนต่อดี?



May I Help you? เสียงใสๆดังข้างตัว
แม่ต้อยหันไปมอง



Thank you I just looking for seminar room…

 

โอ้  myGod ตามหาเธอมาหลายวันแล้ว คุณ Karen นั่นเอง



เนื่องจากแม่ต้อยไม่เคยพบเธอมาก่อน และเธอก็ไม่เคยพบแม่ต้อยมาก่อนเช่นกัน



คุณ Karen ดีอกดีใจมาก บอกว่าคุณหมออนุวัฒน์เล่าให้ฟังว่าที่บ้านเราก็ทำแบบนี้มามากแล้ว ( ใช่นะสิ ฮ่าๆ )  เธอสรรเสริญอาจารย์ อนุวัฒน์มากมาย
และบอกว่า ชอบเมืองไทย



แม่ต้อยเห็นด้วย ล้านเปอร์เซ็นเมืองไทยขนาดน้ำท่วมยังน่าอยู่กว่าที่อเมริกาตอนนี้นะคะ เพราะคนตกงาน เศรษฐกิจไม่ดี  อากาศปรวนแปรทุกวัน



อาจารย์อนุวัฒน์บอกหรือยังว่าฉันลาออกจาก JCI
แล้วนะ  มันเครียด เธอพูดพร้อมหัวเราะสนุก แม่ต้อยพยักหน้า เธอจึงบอกต่อว่า “ ทำงานที่ Planetree นี่มีความสุขมาก

 

 ตอนนี้เรากำลังจะไปสร้าง Head
Quarter planetree  ของเอเชียที่สิงค์โปร์  ที่เมืองไทยเกรงว่าจะมี langue
barrier เธอบอก

 

“แหม คนไทยเก่งภาษาต่างด้าว มีมากมาย
ไม่ใช่เหมือนแม่ต้อยทุกคนเสียเมื่อไหร่ละ” แม่ต้อยแอบนินทาในใจ แต่ไม่ได้พูดออกมา



คุณ Karen มอบเอกสารไฟล์ให้แม่ต้อยเพิ่มอีกหลายอย่าง แล้วบอกว่าเราค่อยคุยกันทางเมลืนะ แลกข้อมูลกัน



เธอถามแม่ต้อยว่า “ปีหน้าคุณจะมาอีกไหม?



แม่ต้อยอึกอักพอประมาณ “ยังไม่ทราบเลยคะ
ปีนี้ที่มาก็แค่อยากมาทราบว่าทางนี้เขาทำอะไรกันเท่านี้เอง..”



เราล่ำลากันตรงกัน เพราะเธอต้องไปประชุม
แม่ต้อยจะไปฟังอีกห้องต่อ



ห้องนี้หัวชื่อเรื่องคือ “Cultural transformation ; a pivotal moment in the history of medicine “ แปลง่ายๆคือ “การเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรม 
จุดแปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบสุขภาพ “



ผู้บรรยายเป็นคุณหมอสวย( จริงๆ) หน้าตาเธออบอุ่นจริงใจ
และยิ้มง่ายๆ เธอเป็นผู้อำนวยการคนแรก  Inaugural
director VA Office of Patient centered care and Cultural transformation. คงเป็นองค์กรที่ดูแลพวกทหารผ่านศึกที่ต้องการการดูในลักษณะองค์รวมมากว่าคนไข้ทั่วๆไป  คุณหมอชื่อว่า  Tracy Gaudet.MD.



คุณหมอยังได้รับเกียรติจากนิตยสาร Shape ว่าเป็นสตรี ๑ ใน๑๑ คนที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลกได้

หน่วยงานนี้เพิ่งก่อตั้งในปีที่ผ่านมานี้เองและเธอได้พยายามเปลี่ยนจาก
patient
centered care เป็นลักษณะ personalized คือให้มีความเป็นองค์รวมเฉพาะมากขึ้น
คุณหมอมีประสบการณ์ด้าน integrative medicine มาก่อน

 

คำถามแรกคือ อะไรคือ patient
centered care?  คำๆนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำเฉพาะprocess
ใดprocess หนึ่งให้ดีหรือ  Better process  เท่านั้น แต่ต้องเป็น the whole

เช่นเวลาเราพุดคุยกับคนไข้เรามักจะคุยเรื่อง “
ความเจ็บปวด “  เราจะถามว่า what
is your problem? เรามี pain management เพื่อวัดความเจ็บปวด
หรืออาการของนำโรค Chief complaint  แต่เราอาจจะลืมถามว่าแท้ที่จริงแล้วคนไข้ต้องการอะไร?



What is the really really  really want? (
หากเป็นแม่ต้อยบรรยายก็จะบอกว่าเราต้องรู้ว่าเป้าหมายชีวิตของคนๆหนึ่งเขาต้องการอะไร
เพราะนั่นคือ Spiritual experience ของเขา แฮ่ๆ
นี่บรรยายแทรกโดย SHA-Thailand )



ดังนั้นแพทย์ พยาบาล ต้อง
ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ จากการเน้นที่ disease เป็นแบบ
the whole  ดังนั้นที่องค์กรของเธอจึงปรับมาเป็น
personalized care

 

เธอมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับคนไข้ของเธอที่มีความต้องการในชีวิตต่างกันออกไป การดูแลผู้ป่วยจึงมิใช่การตัดเสื้อโหล แต่เป็นรายตัว



เธอแสดงผลกรประเมินผู้ป่วยจากผลลัพธ์การดูแลรักษา
ตามมิติต่างๆดังนี้ การกินอาหาร  น้ำหนัก การลดบุหรี่ 
ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น การออกกำลังกาย  และความสุข และความมีพลังที่จะดำเนินชีวิตต่อไป



และนี่คืออีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา
ที่คำนึงถึงตัวผู้ป่วยมากขึ้น คำนึงถึงจิตวิญญาณมากขึ้น

 

Closing Poem



การปิดประชุมเขาทำแบบง่ายมาก คุณ Azure
Antoniette ขึ้นมาอ่านบทกลอน ที่แม่ต้อยแปลไม่ค่อยจะได้ใจความสักเท่าไหร่
แต่คงจะกินใจ เพราะบางวรรคบางตอนพอจะจับใจความได้ถึงความทุ่มเทของแพทย์ พยาบาล
เสียงเธอสั่นเครือเป็นช่วงๆ มีจังหวะทอดเสียงสูงต่ำ



จบการประชุมทุกคนปรบมือยาวอีกครั้ง สวมกอดล่ำลากัน แม่ต้อยไม่มีใครมาสวมกอด ก็รีบมุดออกมาจากห้องประชุมใหญ่นั้น ด้วยความรวดเร็ว



ความรู้สึกหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น
แม่ต้อยมีความดีใจในประการแรกที่เราได้เริ่มทำสิ่งเหล่านี้มาตามสิ่งที่เราสัมผัสได้
วิวัฒนาการของสรพ.ในด้านมิติจิตวิญญาณ เติบโตอย่างค่อยๆเป็นไป
เราเก็บเกี่ยวความรู้อย่างไม่รีบร้อน ไม่มีรูปแบบ ไม่มีทฤษฎี
ไม่หนทางใดใดทั้งสิ้นในระยะเริ่มต้น สิ่งที่เรามีอยู่ เพียงประการเดียวคือ” ใจ”
ที่เราอยากทำและผู้นำและทีมงานที่เข้าใจและสนับสนุน  แม้ว่าในตอนแรกๆ
อาจจะมีเสียงที่ไม่ค่อยเข้าใจบ้างนั่นก็ธรรมดา



 



ความรู้สึกประการที่สองคือความภูมิใจในสถาบันของเราเอง
ที่อย่างน้อยสามารถผลักดันให้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดมาได้อย่างสง่างาม
ไม่น้อยหน้าใครๆ

ความรู้สึกประการที่สามคือ
ตลอดเวลาที่นั่งฟังการบรรยาย หลายๆเรื่องราวเราทำแล้ว และอาจจะทำได้ดีกว่า
แต่บางเรื่องเขาก็ไปไกลกว่าเรามาก เพราะเขามีเครือข่าย มีคนมาช่วยจำนวนมาก
มีการจัดการที่ดี



ประการสุดท้ายคือภูมิใจมากที่เป็นคนต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้เข้าไปเรียนรู้กับอเมริกันชน  ทำให้รู้ความลับเขามาก เช่นค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเขาสูงที่สุดในโลก  การฟ้องร้องมากที่สุดในโลก โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงมากที่สุด และยอมรับว่าระบบเดิมที่เขาทำมานั้นหลงทาง” It,s a huge miss.



ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่เขาจะปรับประวัติศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขของเขาให้เป็นระบบใหม่ ที่เน้นตัวคนมากกว่าด้านวัตถุนิยม



การดูงานในช่วงเวลาสามวัน และเดินทางอีก๗๒  ชั่วโมงก็จบสิ้นลงด้วยประการฉะนี้คะ



สวัสดีคะ






แม่ต้อยผู้บ้าบิ่น บินเดี่ยวไปอเมริกา



Gaylord Opryland, Planetree Conference 2011.



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 



 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 473315เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2012 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

Ico64

เรียน แม่ต้อยที่รักเคารพ(ดวงสมร บุญผดุง)

 

 

 

- ple...ได้อ่านบทความแม่ต้อยแล้ว “ชอบมากคะ”  โดยเฉพาะ...ความรู้สึกของแม่ต้อย...ที่ว่า.....หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น “แม่ต้อยมีความดีใจ ...3 ประการ"


ประการแรก   ที่เรา....ได้เริ่มทำสิ่งเหล่านี้มาตามสิ่งที่เราสัมผัสได้….  วิวัฒนาการของสรพ. “ในด้านมิติจิตวิญญาณ เติบโตอย่างค่อยๆเป็นไป”….ได้.... “เก็บเกี่ยวความรู้” ....อย่างไม่รีบร้อน ..... ไม่มีรูปแบบ ..... ไม่มีทฤษฎี.....ไม่หนทางใดใด.... ทั้งสิ้นในระยะเริ่มต้น  “สิ่งที่เรามีอยู่เพียงประการเดียว....คือ  "ใจ”  ที่เรา   “ อยากทำ...และเป็นผู้นำ....และทีมงาน....ที่มีความเข้าใจ....และสนับสนุน” ……แม้ว่าในตอนแรกๆ  อาจจะมี.....เสียงที่ไม่ค่อยเข้าใจบ้าง....นั่นก็ธรรมดา  === > เป็นธรรมดาคะ ... พระพุทธเจ้า ... ยังมีมาร..มารมาวี....เลยคะ (ทำดีนั้น ย๊ากยาก.....ทำไม่ดี....นั้นน่าจะยากๆๆ กว่า  (ในความคิดของเปิ้นนะคะ)..... เพราะทำไม่ดี....ต้องวางแผน...ที่ลึกลับ...ซับซ้อน... (ต้อง + (บวก),  - (ลบ), ´ (คูณ), ¸(หาร) ± ....แฮๆๆ !!!! เริ่มยาวไป + นอกเรื่อง)


ประการที่สองคือ....ความภูมิใจใน สรพ. …ที่อย่างน้อยสามารถ .... ผลักดันให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดมาได้อย่างสง่างาม... (งดงาม...จริงคะ...เปิ้นไม่ได้ชม....มาจากหัวใจของหนูคะ) ไม่น้อยหน้าใครๆ


ประการที่สามคือ... ตลอดเวลาที่นั่งฟังการบรรยาย หลายๆ เรื่องราว......เราทำแล้ว และอาจจะทำได้ดีกว่า...(ข้อนี้เห็นด้วยเกิน 100% คะ....เราก็มี....วัฒธรรมที่ดีงามของเรา (Cultureที่ดี + งามม๊ากมาก.... ศ.ดร. เอนก  เหล่าธรรมทัศน์==> เคยสอน..เปิ้น...และท่านยังเขียนหนังสื่อเรื่อง ...  "ตะวันออก - ตะวันตก ... ใครสร้างโลก.....สมัยใหม่"  ….. แต่บางเรื่องเขาก็ไปไกลกว่าเรามาก (ข้อนี้เปิ้น..กีเห็นด้วยอีละคะ).... เพราะเขามี.... “เครือข่าย” .....  มี...คนมาช่วยจำนวนมาก.....มีการจัดการที่ดี (Management ... ตัวนี้สำคัญมาก)


- เป็น "บทความที่ดีม๊ากมาก" ....ดีที่สุดเลยคะ

 

          ขอบคุณคะ

         Ple รพ.บ้านลาด ..... เจ้าค่ะ

 

 

 

 

                  รักแม่ต้อย ==> "จังเลย"



 

สวัสดีคะ

น้องสมศรี

ดีใจมากๆคะ ที่ได้เห็นข้อความนี้คะ เห็นรุปด้วยจึงคิดว่าน้องมีความสุขมากๆ สุขจากการทำงานที่ศรัทธา และความรัก

พอดีแม่ต้อยต้องไปเฝ้าคุณยาย ที่ป่วยคะ จึงไม่ได้เข้ามาแวะคุยด้วย ขอให้น้องมีความสุขตลอดไปนะคะ

รัก

 

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการ SHA ที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ย 53

Salutogenesis & Self Transcendence Workshop

อยากบอกว่ารู้สึกสำนึกในบุญคุณ และอยากบอกขอบคุณแด่ แม่ต้อยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆท่านมากมาย

ที่ทำให้บุคลากรพยาบาลที่กำลังอ่อนล้าคนหนึ่ง....ได้ค้นพบจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์

และแรงบันดาลใจที่มีพลังของตนเอง แม้ว่าดิฉันจะไม่ได้ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่แต่วันนี้ดิฉันก็ได้ลงมือ..ทำ

เพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน.....อย่างที่ตัวเองได้ตั้งปณิธานไว้เมื่อตอนอบรมจบกลับมา.....

สุดท้ายนี้อยากให้โครงการดีๆเหล่านี้ยังคงอยู่และอยากให้คนอื่นๆที่กำลังอ่อนล้าไม่มีโอกาส

ได้รับความสุขนั้นเช่นดิฉันบ้าง รักและเคารพนะคะ จาก สาวก Saluto ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท