การบ้านส่งคุณพนัส มมส. (ต่อ 2)


ดังที่ได้บันทึกไว้ในบล็อกนี้ว่า วิธีการที่การที่ดำเนินมาในปีที่แล้วกับบ้านห้วยชันนั้น "ไม่ใช่" เป็น "บุคลากรนำนิสิต" แนวทางที่ควรทำคือ "บุคลากรหนุนนิสิต" อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการทำงานแบบ PAR ทำให้ทุกส่วนได้ร่วมมือกันพอสมควร

บทบาทของนิสิต ส่วนใหญ่คือการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งที่บ้านดอนยมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกิจการนิสิตฯ และที่บ้านห้วยชันในโครงการหนึ่งคณะหนึ่งชุมชน ถึงแม้ว่านิสิตจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและขั้นตอนการประเมิน วิเคราะห์ และสรุปผล แต่การเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต นอกจากนิสิตจะได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ทักษะชีวิตจากชุมชนแล้ว ยังเป็นกรฝึกฝนตนเองให้เห็นความสำคัญของจิตสาธารณะและปลูกฝังจิตอาสา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสังคม

บทบาทของบุคลากร ไม่ใช่การสอน แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน คือ บุคลากรทำหน้าที่ "เอื้อ" และ "อำนวย" ให้เกิดกิจกรรม โอกาส และบรรยากาศ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ 

เอื้อ ในที่นี้หมายถึง การเขียนโครงการ นำเสนอโครงการ เพื่อของบสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และเอื้อให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการให้บริการชุมชน และทำให้เกิดบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านห้วยชัน

อำนวย หมายถึง การประสานงานให้การบริการวิชาการสู่ชุมชนดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยเน้น Learning-based  เช่น การเสวนาชาวบ้าน การระดมความคิดเห็น การศึกษาดูงาน การลงมือปฏิบัติร่วมกัน ฯลฯ ถึงแม้ว่าการบริการวิชาการจะต้องใช้ training-based เป็นกิจกรรมสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชาวบ้าน ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ เช่น อบรมวิธีการเพาะกล้านาโยน บัญชีครัวเรือน การเผาถ่านน้ำส้มควันไม้และถ่านอัดแท่ง ฯลฯ

สำหรับบทบาทของชาวบ้าน ผมมีความเห็นว่า วิธี PAR ของ สสส. สกว. สคส. วิธี Learning-based วิธี Learning by doing ใช้ได้ง่ายและดีกว่า เมื่อใช้กับ "ครู" (ตามประสบการณ์เมื่อเทียบกับการทำงาน ในโครงการ LLEN มหาสารคาม) ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ ครูถูกปลูกฝังและผ่านวิธีการ "อบรม" มานาน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า "การเปลี่ยนวิธีคิด" ยากกว่า "การเรียนรู้สิ่งใหม่" ผมจึงเห็นด้วยกับสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า "เรียนให้หมด แล้วลืมให้หมด และเรียนรู้สิ่งใหม่ในวิธีของตนเอง" และเห็นด้วยกับคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ครั้งหนึ่งในการบรรยายที่ มมส. ท่านกล่าวว่า การเป็นครูสมัยนี้ยากกว่า เพราะต้อง de-learn ก่อนที่จะ do-learn สิ่งใหม่ ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 472716เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชาวบ้านมีทุนภูมิปัญญา นักศึกษามีทุนวิชาการ ทุนสารสนเทศ

นำสองทุนมาหนุนนำให้ชุมชนมีการจัดการตนเอง สู่ความยั่งยืน

บุคลากรของ มมส. มีคุณภาพมากจริง ๆ ครับ

ขอชื่นชม ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท