ระบบการเรียนรู้ในสังคมยุคใหม่


ระบบการเรียนรู้ในสังคมยุคใหม่

โดย นางสาวชยาภัสร์  ศิริจรูญวงศ์,นางสาวศิรินุช ฝ่ายพรม,นางสาวศิริพร ศรีใหญ่

โลกยุคใหม่ถูกเชื่อมโยงด้วยระบบเทคโนโลยีสารสรเทศใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมและใยแก้วนำแสง  ทำให้การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น  เราสามารถค้นคว้าหาความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ  ด้วยระบบ  Internet  ได้แม้อยู่คนละซีกโลกก็ตาม  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเปลี่ยนรูปแบบของการเรียนรู้และแหล่งความรู้  ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต  ที่เรียกว่า  “สังคมแห่งการเรียนรู้” (Learning Society)  สังคมสารสนเทศเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  ความรู้และสารสนเทศคือพลังในการอยู่รอดในสังคมยุคใหม่  ผู้คนในสังคมยุคนี้  จึงต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้  เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง  และความก้าวหน้าทางวิชาการแห่งยุตอยู่เสมอ  เทคโนโลยีสารสรเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  ให้แก่ผู้คน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาจึงไม่จำกัดเพียงห้องเรียน  หากแต่ขยายขอบข่ายออกไปเหนือมิติของสถานที่  และเวลา  เป็นการศึกษาที่ไร้พรมแดน  E-Learning  จึงเป็นทางเลือกใหม่ของการเรียนรู้ของนักเรียน  และประชาชนทั่วไป  ซึ่ง  E-Learning  เป็นนวัตกรรมการเรียนที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้  ช่วยเสริมแรงในการเรียนรู้เนื้อหา  เข้าถึงข้อมูลทั่วโลกได้ง่าย  เข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน  เป็นการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์  ศึกษาจากเนื้อหาที่เป็นมัลติมีเดีย  เป็นการเรียนรู้ที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค

E-Learning  คืออะไร

          E-Learning  หรือ  Electronic  Learning  หมายถึง  ระบบการเรียนการสอนที่ที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ  นับตังแต่ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (Computer-assisted Instruction :CAI)  ที่อาจอยู่ในรูปของ  CD-Rom  ไปจนถึงการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย  Internet  ที่อยู่ในรูป  World Wide Web (www) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างไร้พรมแดน  ผู้สอน  หรือสถาบันหรือหน่วยงานทางการศึกษาจะพัฒนาบทเรียนไว้บนฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ของตนเอง  โดยบทเรียนอาจอยู่ในรูปของการนำเสนอด้วยตัวอักษร  (Text mode)  เป็นหลัก  หรือในรูปของสื่อประสมที่มีภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียงประกอบ  ที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ที่สูงขึ้น  ถือว่าเป็นการศึกษามวลชนสำหรับสังคมยุคใหม่  เป็นการเรียนรู้ที่ปราศจากห้องเรียนจนมักเรียกว่าห้องเรียนเสมือน  หรือ  Virtual  Classroom  หรืออีกคำหนึ่งมักใช้กัน  คือ  Web-based Instruction หรือ  WEI 

E-Learning  สามารถตอบสนองการศึกษาทั้งสามรูปแบบตาก พ.ร.บ. การศึกษา  พ.ศ.  2542  คือ  การศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย  อีกทั้งสามารถจัดได้ทุกระดับการศึกษา  มีทั้งการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า  และต้องเสียค่าลงทะเบียนในการเรียน  มีทั้งการศึกษาเพื่อประดับความรู้  และประสบการณ์  ไปจนถึงการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร  ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยต่างประเทศหลานสถาบัน  โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา  ที่จัดระบบการเรียนการสอนนี้ทั้งในระดับปริญญาตรี  และระดับบัณฑิตศึกษา  ผู้สนใจเรียนสามารถเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนถึงประเทศนั้น  นักวิชาชีพของไทยส่วนหนึ่งจะศึกษาผ่านระบบนี้  เพื่อพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพตนเองให้สูงขึ้น  ในขณะที่ยังปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเอยู่

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า   E-Learning  เป็นการศึกษาในยุคสมัยที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทในการศึกษา  โดยมีพัฒนาการไปตามความกว้าหน้าของเทคโนโลยี  ระบบอินเทอร์เน็ตครอบคลุมการเรียนในหลายรูปแบบ  ทั้งการเรียนทางไกล  และการเรียนผ่านเครือข่าย

ประโยชน์ของ  E-Learning

  1. มีความยืดหยุ่น  (Flexibility)  และสะดวก  (Convenience)  การเรียนการสอนผ่านระบบ  E-Learning  มีลักษณะยืดหยุ่น  เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้เรียนและผู้สอน  โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
  2. เข้าถึงได้ง่าย  (Accessibility)  ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึง  E-Learning  ได้ง่าย  โดยใช้โปรแกรม  web browsing  แบบใดก็ได้  จากคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้  ในปัจจุบันนี้  การเข้าถึงเครือข่ายสากล  (Internet)  ทำได้ง่ายขึ้นมาก  การที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึง E-Learning  ได้ง่าย  ทำให้ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดและรับส่งข้อมูลมีราคาต่ำ
  3. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย  (Ease of update)  เนื่องจากผู้สร้างข้อมูล  จะสามารถเข้าถึง  server  ได้จากทุกแห่งทั่วโลกการ  update  ข้อมูลจึงทำได้ทันเวลาโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา
  4. ประหยัดเวลา  และค่าเดินทาง  (Saving  time  and  expenses)  ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใกล้ที่สุด  โดยไม่ต้องไปโรงเรียน  ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก

ปฏิสัมพันธ์ใหม่เพื่อการเรียนรู้

          แม้ว่าการเรียนในระบบนี้  ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้พบผู้สอนโดยตรงเช่นระบบการเรียนในห้องเรียน  ผู้พัฒนาบทเรียนพยายามออกแบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ที่ไม่เพียงแต่การอ่านแต่เนื้อหา  หรือดูภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์  หากแต่มีการส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้จากสื่อเหล่านั้น  รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันผ่านทางระบบเครือข่าย  เช่น  กระดานสนทนา  (Web  Board)  ห้องสนทนา  (Chat  Room)  E-Learning  ไม่ได้จำกัดในแง่ของการศึกษารายบุคคล  หากมีศักยภาพในการสร้างกระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  (cooperative  learning)  หรือการเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม  (Partipatory  learning)  ระบบ  Internet  สามารถสร้างชุมชนของผู้เรียน  (community  of  learners)  ที่จะทำให้ผู้เรียนจากภูมิภาคต่าง ๆ  ทั้งภายในประเทศเองหรือที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ  ได้นำความรู้และประสบการณ์ของตนเองมาแลกเปลี่ยนได้อย่างมีความหมาย  นอกจากนี้  ผู้เรียนสามารถแสวงหาความเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้อื่นบน  World  Wide  Web  หรือฐานสารสนเทศอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงวารสารอิเล็คทรอนิคส์  (E-Journals)

แหล่งการเรียนรู้จาก  E-Learning    

          ในประเทศไทยยังมีความจำกัดในการเรียนรู้ผ่านระบบ  E-Learning  ทั้งในเรื่องของเครื่องมือและตัวบทเรียน  ที่ยังมีการพัฒนาค่อนข้างน้อย  แต่ก็มีความพยายามทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ  โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา  ที่ร่วมกันพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้บนระบบ  E-Learning  ทั้งระดับโรงเรียน  ระดับมหาวิทยาลัย  และการศึกษาทั่วไป  สำหรับประชาชนทั่วไป  อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากระบบ  World  Wide  Web  เป็นระบบที่ไร้พรมแดน  นักเรียนครู  อาจารย์  และประชาชนทั่วไปสามารถที่จะท่องไปบน  WWW  เพื่อหาแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง  แม้ว่าบางแหล่งที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม  แต่ก็มีแหล่งการเรียนรู้อื่นอีกมากมายบน  WWW  ที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

          ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ทั้งในโรงเรียน  และห้องสมุดประชาชน  ไม่ใช่ที่เก็บเอกสารและหนังสือเท่านั้น  หากแต่ต้องมี  การจัดหาเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารเทศ  อาทิ  คอมพิวเตอร์  ระบบเครือข่ายบน  Internet  เพื่อที่จะเป็นประตู  (Gateway)  ให้ผู้ใช้สืบค้นสาระความรู้ในยุคใหม่  ทั้งที่อยู่ทั่วไปบน  WWW  ไปจนถึงฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์    วารสารอิเล็กทรอนิกส์  (E-Journals)   ไปจนถึงหนังอิเล็คทรอนิคส์  (E-Book) 

          นอกเหนือจากสถาบันการศึกษาแล้ว  หน่วยงานวิชาชีพ  และสมาคมวิชาชีพของไทย  ควรที่จะมีบทบาทในการเผยแพร่วิชาการในสาขาของตนในรูปของ E-Learning  ให้แก่นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนมากขึ้น  เพราะหน่วยงานเหล่านี้  มีฐานความรู้ในสาขาของตนเองที่เข้มแข็งอยู่แล้ว

ทักษะใหม่สำหรับสังคมสารสนเทศ

          ในสังคมสารสนเทศ  ผู้คนต้องได้รับการพัฒนาทักษะใหม่  เพื่อการใช้ชีวิตอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  ทักษะเหล่านี้  ได้แก่  ทักษะทางคอมพิวเตอร์  (Computer  Literacy)  ซึ่งหมายถึง  การเรียนรู้ที่น่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการศึกษา  หน้าที่การงานและในชีวิตประจำวัน  และทักษะสารสนเทศ  (Information Literacy)  ซึ่งหมายถึง  การรู้คิดอย่างใคร่ครวญ  (Reflection)  จากข้อมูลข่าวสารที่มีมากมาย  โดยเฉพาะในระบบ  Internet  เพื่อจะได้กลั่นกรองในสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ตนเอง  รวมไปถึงการนำไปสู่การประยุกต์ใช้  ประการสำคัญ  คือ  การรู้จักแสวงรู้  (Inquiry)  เพราะห้องเรียน  หือสถาบันการศึกษา  ไม่สามารถที่จะให้การเรียนรู้ทุกอย่างได้หมด  เพราะความรู้ใหม่ได้รับการสร้างอยู่ตลอดเวลา

          ดังนั้นเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงผู้เรียนจะต้องเป็นคนที่มีทักษะในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  โดยเฉพาะ  ความรู้ผ่านระบบ  Internet  และ  World  Wide  Web  เพราะเป็นความรู้ที่ไร้พรมแดน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อความรู้  ภาษาอังกฤษ  หรือภาษาต่างประเทศอื่น  ยิ่งส่งเสริมให้มีโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  ที่หลากหลายขึ้น

สรุป

          กล่าวได้ว่า  E-Learning  จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สามารถสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  (Learning  Society)  ให้เกิดขึ้นได้ทุกที่  ทั้งที่บ้าน  ที่ทำงาน  การเรียนรู้เน้นการแสงหาและการรู้จักเลือกข้อมูลเพื่อการเสริมเติมแต่งความรู้  เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มที่เรียนรู้ร่วมกัน  และยังขยายความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อหรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน  สำหรับประเทศไทยยังขาดการเข้าถึงองค์ความรู้โดยผ่านระบบเครือข่าย  ควรส่งเสริมให้จริงจังในเรื่องการพัฒนาระบบเครือข่ายให้ใช้กันได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น  เพื่อวางรากฐานของสังคมไทยให้เป็น  “สังคมแห่งการเรียนรู้”  ให้มากกว่าเดิม  สิ่งที่น่าพิจารณา  คือ  เราเตรียมครูทุกคนให้มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์  และทักษะสารสนเทศขนาดไหน  ที่จะออกไปสอนการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และนำทักษะเหล่านี้ไปบรูณาการให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะย่อมหมายถึง  นักเรียนที่ผ่านระบบโรงเรียนจะมีทักษะด้านนี้ติดตัวไปด้วย  อันจะนำไปสู่การนำทักษะเหล่านี้ไปใช้  ประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตของเขาในฐานะผู้ใหญ่ของสังคมไทยในวันข้าหน้าด้วย  ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศได้แพร่หลายในสังคมไทยทั้งในเมือง  และลงสู่ชนบท  ที่รู้จักในรูปของ  Internet  ตำบล  ดังนั้นปัญหาที่น่าสนใจมีอยู่ว่า  จะทำอย่างไร  ที่จะนำให้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีนี้มีคุณค่าต่อการศึกษา  นอกโรงเรียนในยุคสังคมสารสนเทศ  มีเพียงของเล่นเพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง  ดังที่เห็นทั่วไปในบ้านเรา

หมายเลขบันทึก: 472666เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2011 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดิฉันเห็นด้วยกับเรื่อง

"สำหรับประเทศไทยยังขาดการเข้าถึงองค์ความรู้โดยผ่านระบบเครือข่าย  ควรส่งเสริมให้จริงจังในเรื่องการพัฒนาระบบเครือข่ายให้ใช้กันได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น"

ดิฉันมีความเห็นว่า การดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้และสารสนเทศ คนยุคใหม่จึงต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้  เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลกอยู่เสมอ เมื่อกลับมาย้อนดูสังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงองค์ความรู้โดยระบบเครือข่ายอยู่ ความเจริญของสังคมเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว โอกาสและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสังคมชนบท หนึ่งในแนวทางการแก้ไขปัญหานี้และเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนทำได้คือ การช่วยพัฒนาทักษะให้กับผู้เรียน ทักษะเหล่านี้คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านสารสนเทศ ทักษะด้านการคิด และการรู้จักแสวงรู้ เพื่อสร้างพื้นฐานให้กับผู้เรียนได้ใช้ทักษะเหล่านี้ในการแสวงหาความรู้ รู้จักรับและปรับใช้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสม และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

 

การจัดการศึกษาในยุคใหม่ต้องใช้เครือข่ายทางอินเตอร์เนตมาช่วยในการจัดการศึกษา การศึกษาเป้นการศึกษาไร้พรมแดนไม่ต้องอยู่ในวงจำกัดของโรงเรียนสามารถเรียนได้ทุกที การเรียนผ่านE-learning นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ครูคอยให้การชี้แนะ นักเรียนก็เรียนตามอัธยาศรัย ดังนั้นประเทศไทยควรให้การสนับสนุนในการสร้างเครือข่ายทางอินเตอร์เนต

หวังว่าคงเป็นประโยชน์กะใครหลายๆๆคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท