มหัศจรรย์แห่งความรัก


อังคารที่20ธันวาคม 2554 มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับการทำงาน

ในโครงการการจัดการความรู้โดยเน้นผู้ป่วยเป็ฯสำคัญ

1.ในกิจกรรมจิตตปัญญสำหรับผู้ป่วยที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ให้ผู้ป่วยโดยเน้นผู้ป่วยเป็ฯสำคัญ ทำให้ได้เข้าถึงความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนาที่จะอยู่อย่างผู้มีสุขภาพที่ดีทั้งกาย ใจ ความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมคนปกติ และการได้รับการยอมรับ ที่เป็นความรู้สึกจากเพื่อนมนุษย์ ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

2.ชอบวิธีการเรียนรู้แบบผู้ป่วยมีส่วนร่วมมากกว่า วิธีการแบบครูสอนนักเรียนนั่งฟังและคอยตอบคำถามครูเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดและขัดแย้งในใจ ที่ต้องต่อสู้กับความรู้ คือต้องพยายามจำเพื่อตอบให้ได้เมื่อถูกถาม รูสึกกดดัน และอายเมื่อตอบผิด จึงชอบวิธีการความรู้ที่ทางทีมงานสังคมฯมากกว่าเพราะทำให้เข้าใจ และสามารถจดจำนำไปปฏิบัติได้

2.ผู้ป่วยสารภาพว่าเขาไม่ต้องการเป็นผู้มารับความรู้เพียงฝ่ายเดียว ไม่ต้องการมานั่งฟังเจ้าหน้าที่ด้านการใช้ยา สอนๆๆๆเรื่องการกินยา เพราะเท่าที่ผ่านมาด้วยเขารู้สึกถึงการให้ที่เต็มไปด้วยคำว่า"หน้าที่" มากกว่าการให้ที่เกิดจากความรัก ความเมตตา และกรุณา

3.ทีมงานได้จัดทำแบบประเมินก่อน และหลังการเข้าร่วมโครงการขึ้นมาใหม่ 1 ชุด เพื่อใช้ประเมินผลการจัดกิจกรรมทั้งหมด และแยกแบบประเมินตามสาระความรู้ และการฝึกปฏิบัติ  เป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ คือ1.กับชีวิตจริง 2.ครอบครัวและสังคม 3.ชีวิตเป็นของฉัน(บทบาทและหน้าที่ที่ผู้ป่วยต้องเป็นผู้จัดการสภาวะในร่างกายตัวเองอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ)

4.ในแต่ละครั้งก่อนการดำเนินกิจกรรมจะมีการพูดคุยภาษาดอกไม้กับอาสาสมัคร และทีมงาน และผู้ป่วยเอง(เราถือว่าผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการรักษา)เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการทำงานร่วมกัน กระเทาะเปลือกให้เห็นเป้าหมาย และเส้นทางการทำงานที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่ปิดบังมุมใดมุมหนึ่ง เปิดโอกาส และสนับสนุนผู้ป่วย ผู้ร่วมงานทุกคนให้ได้ใช้ศักยภาพในตัวเองให้เต็มที่ และพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยตามความสามารถที่จะดูแลตัวเองทั้ง 3 กลุ่ม และเจ้าหน้าที่สามารถจัดทำ R2R ในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้

5.เมื่อเสร็จกิจกรรมย่อยแต่ละกิจกรรม ทีมงาน และพี่เลี้ยงอาสาสมัครผู้ป่วยจะร่วมกันประเมิน สรุปการทำงาน และถอดบทเรียนร่วมกัน ในครั้งนี้ เราถอดบทเรียนออกมาหลังจัดกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยลงในเวลา 15.00น. และถอดบทเรียนเสร็จในเวลา 16.30 น.

6.การดำเนินกิจกรรมในภาพรวมเราประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีความคิดใหม่เกิดขึ้น เป็นการเสนอแนะ ชี้ทางแก้ปัญหาร่วมกัน เราถือว่านี่เป็นการต่อยอดองค์รู้ และการทำงานที่เกิดจากปัญหาที่ผ่านมาอย่างแท้จริง นี่คือสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยผ่านกระบวนการจิตตปัญญา ให้ผู้ป่วยได้ตระหนักคิดและจัดการตัวเองได้ทั้งกายและจิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน(ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเข้ารับการรักษาแล้วต่างคนต่างกลับวิมานตัวเอง การได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่อยู่กับโรคนั้นทำให้ผู้ป่วยได้แสดงความเห็นอกเห็นใจ ห่วงใยกันและที่สำคัญคือการเรียนรู้ความรู้ที่แตกต่างกัน) และร่วมกันกับทีมงาน ซึ่งที่แรกทีมผู้จัดเพียงคาดหวังเอาไว้ว่า "ขอเพียงให้เขาเปิดใจ และมีความสุขเพียงเล็กๆน้อยๆกับกิจกรรมเสริมที่เคยทำกันมาหลายปีแล้วนั้น แต่เอาเข้าจริงๆ กลับปรากฏผลออกมาเป็นเกินความคาดหมาย เกิดกุศลจิต และพลังใจให้ผู้ป่วยมีความมุ่งมั่น ที่จะรักษาสุขภาพตัวเอง และสามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะ ช่วยเหลือ เอาใจใส่เพื่อนผู้ป่วยด้วยกันได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชากาและมีความสุข ต่อไป

7.สิ่งที่ตบท้ายวงถอดบทเรียนคือ ผู้ป่วยทุกคนต้องการแพทย์สัก 1 คน ที่จะมาทำการรักษาพวกเขาหลังกิจกรรมสิ้นสุดลงในแต่ละครั้ง เพราะผู้ป่วยยังไม่พร้อมที่จะเปิดเผยตนเองนอกจากทีมงานที่เกี่ยวข้อง อีกอย่างผู้ป่วยเกิดความรู้สึกตระหนักในการป้องกันการแพร่เชื้อหาก และรับเชื้อในภาวะที่ผู้ป่วยอ่อนแอ และผู้ป่วยเคยคิดว่าจะขอให้ทาง.........เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับทางแพทย์ผู้รักษา ....แต่ในวันนี้ ผู้ป่วยคิดเองว่า เขาน่าจะได้พูดคุยทำความเข้าใจกับแพทย์เอง โดยไม่ต้องผ่าน.......ด้วยเหตุผลว่า ย้ายกองทัพทั้งกองยากกว่าผู้นำกองทัพเดินมา.....(ฮามากตรงนี้ ไม่รู้ไปเอาความคิดนี้มาจากไหน) ดังนั้นทีมงานจึงได้สร้างแบบประเมินความพึงพอใจเพื่อใช้สำหรับประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยทั้งในแง่การมีส่วนร่วมในการจัดการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีคำพูดสรุปที่เป็นภาษาพื้นเมืองของผู้ป่วยรายหนึ่งใช้กล่าวสรุปความรู้สึกและสัมผัสกิจกรรมจิตตปัญญาว่าเขารู้ว่าเขาเพิ่งเข้าใจ และอิ่มเอมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจนเกิดอาการ"ขนคิงลุก" เป็นภาษาถิ่นของคนไทยทางภาคเหนือ เมื่อสอบถามอาการที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติกิจกรรมจึงเข้าใจว่าเขาหมายถึงอาการของความสุขที่มนุษย์ผู้สมหวังจะสุขใจ และตื้นตันใจรวมทั้งเกิดปิติขนลุกขึ้นมานั่นเอง 

8.ผู้ป่วยอีกรายสามารถถอดบทเรียนและให้ข้อเสนอแนะการทำงานในครั้งต่อไปได้ถูกใจทีมงานอย่างไม่น่าเชื่อว่า"ศักยภาพที่ซ่อนเร้นของคนเราสามารถแสดงออกได้ทันทีในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม"  เหมือนการเพาะเมล็ดพันธุ์เลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกายสุขใจทุกทิวาราตรีค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 471906เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาชมความอัศจรรย์แห่งความรักนะครับ

ส่งกำลังใจค่ะพี่ต้อย

ขอให้ทุกวันเต็มไปด้วย มหัศจรรย์แห่งรัก นะคะ

ย้ายกองทัพทั้งกองยากกว่าผู้นำกองทัพเดินมา....จริงๆ ด้วยค่ะ ^_^

มาส่งความสุขด้วยปฏิทินชุด "รอยยิ้มของพ่อ" ค่ะ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/471969

สวัสดีครับพี่ต้อย เกษตรกร

บทเรียนที่ ผป ถอดออกมาทำให้รู้อะไรที่เรานึกไม่ถึง ว่าจะเป็น จะมี จะเกิดขึ้น

เคยพบเห็นในหลายเวที สำคัญคือการสร้างบรรยากาศในเวที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท