ผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย


โซเชียลมีเดีย ผลกระทบ สังคม
ผลกระทบของโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย
 
ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น



1.ทำไมโซเซียลเน็ตเวิร์คถึงมีพลังมากในการสื่อสารในปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต

ทำไมโซเชียลเน็ตเวิร์คจึงมีพลังมากในการสื่อสารปัจจุบัน
     1.1 เพราะมีคนใช้เยอะ      โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9%
จากสถิติที่แสดงโดย http://www.lab.in.th/thaitrend/
พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน

   1.2กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%

    1.3 มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก

   1.4 ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและ
แบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน  อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต  เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด  ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัด
และขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่าน
โมบายแอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่ิงที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก

แนวโน้มอนาคตจะมีจำนวนคนใช้มากขึ้นและมีพลังมากขึ้น
1) ผลกระทบจากประชาคมอาเซียนที่ไทยจะต้องเข้าร่วมกับประเทศอื่นอย่างใกล้
ชิดมากขึ้นในปี 2558  และหลายประเทศในอาเซียนมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นจำนวนมาก
จากสถิติที่แสดงใน socialbakers.com ในวันที่
ประเทศ จำนวนคนที่ใช้  เปอร์เซนต์ที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้น อัตราส่วนของคนที่ใช้ต่อคนทั้งประเทศ
Indonesia 41,774,960 +4.06% 17.19% (อันดับ 2 ของโลก)
Philippines 27,033,680 +1.17% 27.06%  (อันดับ 8 ของโลก)
Thailand 13,276,200  +6.83% 19.99% (อันดับ 16 ของโลก)
Malaysia 12,060,200 +2.63% 46.10% (อันดับ 17 ของโลก)
Vietnam 3,607,220 +43.12% 4.03% (อันดับ 41 ของโลก)
Singapore 2,661,360 +2.77% 56.61% (อันดับ 52 ของโลก)
Laos 129,660 +41.70% 1.85%

2) กลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นนักเรียนนักศึกษาจะยังคงใช้เฟซบุ๊กเมื่เขาทำงาน

3) การใช้เฟซบุ๊กมีผลช่วยเขาในการได้งานทำและการทำงาน
จากผลการสำรวจและรายงานของบริษัท jobvite พบว่าคนอเมริกันกว่า 22 ล้านคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการช่วยหางานทำ 86% ของคนที่หางานทำมีบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์คของตนเอง และประมาณ 15% ได้งานจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค  ในขณะเดียวกันหลายบริษัทก็ใช้เฟซบุ๊กเพจในการหา
คนที่ีมีความสามารถเข้ามาทำงานให้บริษัท
http://www.readwriteweb.com/archives/study_more_than_15_of_workers_got_hired_through_social_networks.php

============================================================
2.กลุ่มไหนบ้างที่นำระบบโซเซียลเน็ทเวิร์คมาใช้มาก เช่น การค้า,การเมือง,สังคม,เศรษฐกิจฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะการใช้งานโซเซียลเน็ทเวิร์คอย่างไร และผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างไร


 - ในประเทศไทยตอนนี้ที่เห็นได้ชัดคือกลุ่มการเมืองและสังคม  กลุ่มการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย ต่างก็ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์



2.1 กลุ่มการเมือง
ในบรรดานักการเมือง จากสถิติที่แสดงที่  zocialrank.com เฟซบุ๊กเพจของคุณอภิสิทธิ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 870,000 คน
มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน

เฟซบุ๊กเพจของคุณยิ่งลักษณ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 540,000 คน
มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน

เฟซบุ๊กเพจของคุณกรณ์ จาติกวนิชมีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 230,000 คน

ทวิตเตอร์ของคุณทักษิณ และคุณอภิสิทธิ์มีคนตาม 250,000 คน

ในประเทศไทย ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มการเมืองยังไม่เห็นชัดเท่ากับในต่างประเทศ อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่คนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล  จากข้อมูลที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พบว่าผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กในไทยอยู่ในกรุงเทพหรือเมืองที่อยู่ในช่วง 50 ไมล์ห่างจากกรุงเทพจำนวน  9,767,660 คน  คิดเป็น 73.57 เปอร์เซนต์ของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 13,276,200 คน


แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาหรับซึ่งเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ซึ่งประชาชนสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการรวมตัวกันโค่นล้มผู้นำซึ่งอยู่ในอำนาจนาน 23 ปี   จากนั้นประชาชนในประเทศอาหรับประเทศอื่น เช่น อิยิปต์ แอลจีเรีย เยเมน บาห์เรน และจอนดอน ก็ลุกขึ้นมาประท้วงความไม่เป็นธรรมของผู้นำในการปกครองบริหารประเทศหลายปี ในประเทศเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้อาจมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลมานาน แต่ไม่มีช่องทางในการแสดงออกความรู้สึกไม่พอใจหรือในการรวมตัวกัน เห็นอกเห็นใจกัน และช่วยกันแสดงพลัง  โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การประท้วงต่อต้านผู้นำที่เป็นเผด็จการของประเทศเหล่านี้ได้สำเร็จ




2.2 กลุ่มสังคม

กลุ่มสังคมในไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังสังคมในเชิงบวกได้พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกลุ่มคนไทยให้มีจิตอาสามากขึ้นหรือในการรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมของคนที่ีมีจิตอาสา อาทิเช่น  

https://www.facebook.com/SiamArsa  กลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 110,000 คนและมีคนติดตาม 33,000 คนทางทวิตเตอร์  

https://www.facebook.com/PositiveNetwork  กลุ่มเครือข่ายพลังบวก  ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ  23,000 คนและมีคนติดตาม ผ่านทวิตเตอร์

หรือล่าสุดจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนอย่างมากในการทำให้พลังประชาชนมีส่วนในการเข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนอื่น นอกจากมีการรวมตัวอาสาสมัครผ่านกลุ่มสยามอาสา ก็มีการสร้างกลุ่ม thaiflood https://www.facebook.com/thaiflood  ทั้งบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่ให้ทั้งความรู้ สิ่งของ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย


2.3 การค้าและเศรษฐกิจ

บุคคลที่เป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการค้าและเศรษฐกิจได้ดีคือคุณตัน ภาสกรนท ซึ่งเป็นคนที่มีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนคลิก like มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าเฟซบุ๊กเพจของดารา ศิลปิน หรือนักการเมือง  คนตันมีเฟซบุ๊กเพจที่มีคนคลิก like 1,082,053 คน ซึ่งคุณตันใช้เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณตัน  

ในบรรดาธุรกิจต่างๆ พบว่าธุรกิจอาหารมีการสร้างเฟซบุ๊กเพจและมีคนเข้าไปคลิก like และติดตามข่าวเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น  Oishi New Station ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 500,000 คน รองลงมาคือ  LaysThailand, และ McDonald Thai ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน

ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย คือ ธุรกิจทางด้านไอทีและเทเลคอม  เช่น BlackBerry Thailand มีคนคลิก like ประมาณ 400,000 คน DTAC มีคนคลิก like ประมาณ 300,000 คน และ AIS มีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน

2.4 กลุ่มธรรมะ
เฟซบุ๊กเพจของท่าน ว. วชิรเมธี https://www.facebook.com/v.vajiramedhi มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 700,000 คน
ทวิตเตอร์ของท่าน ว. วชิรเมธี http://twitter.com/#!/vajiramedhi มีคนตาม 440,000 คน  นอกจากนี้ มี พระท่านอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ธรรมะ อาทิเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ https://www.facebook.com/buddhadasaarchives ซึ่งมีคนคลิ like ประมาณ 37,000 คน  พระไพศาลที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเผยแพร่ธรรมะ https://www.facebook.com/visalo มีคนคลิก like ประมาณ 30,000 คน
พระอาจารย์มิตซูโอะ https://www.facebook.com/aj.mitsuo.gavesako มีคนคลิก like ประมาณ 20,000 คน

2.5 กลุ่มสุขภาพ

มีกลุ่มนมแม่ http://www.facebook.com/thaibreastfeeding ซึ่งมีคนคลิก like 6,000 คน กลุ่ม rainbow room เพื่อสนับสนุนและให้ความรู้พ่อแม่ที่มีลูกที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ลูกที่เป็นออทิสติก https://www.facebook.com/specialrainbow ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 1,600 คน  กลุ่มเฟซบุ๊กเพจ สสส https://www.facebook.com/thaihealth ซึ่งมีคนคลิกประมาณ 9,000 คน


2.6 กลุ่มการศึกษานอกระบบ

มีทวิตเตอร์ของคุณ andrew biggs ซึ่งมีคนตาม 160,000 คน   มีเฟซบุ๊กเพจของ English Breakfast ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 15,000 คน

=======================================================





3. ข้อดี ข้อเสียของระบบโซเซียลเน็ตเวิร์คที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน ปัญหา และทางออก


ข้อดี
1. การสื่อสารข้อมูลไปสู่ผู้คนเป็นจำนวนมากทำได้รวดเร็ว สะดวก และง่าย
2. ช่องว่างการสื่อสารระหว่างนักการเมืองหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงกับ
คนธรรมดาทั่วไปน้อยลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง
3. ทำให้เกิดการรวมตัวกันในการทำกิจกรรมดีๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
4. เป็นช่องทางที่ดีในการหางานทำหรือได้คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วย
5. สามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ เพราะนักเรียนและนักศึกษามักจะออนไลน์บนเฟซบุ๊ก  สไลด์แนะนำการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอนที่ http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7320394


ข้อเสีย
1. ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่
2. หลายคนไม่ระวังการใช้โซเชียลมีเดียซึ่งทำให้หลายคนได้ข้อมูลที่ไม่เป็นสาระ หรือเป็นข้อมูลเชิงลบ เช่น การโพสต์ด่าว่าคนอื่น

ปัญหา
1.  หลายคนมักโพสต์ข้อความที่ไม่สุภาพ ไม่เป็นจริง หรือมีผลกระทบผู้อื่นในทางลบ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. หลายคนมักโพสต์ข้อมูลส่วนตัวซึ่งผู้อื่นอาจจะใช้ข้อมูลนั้นในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ ดารา ศิลปิน หรือบุคคลสาธารณะควรจะระมัดระวังให้มากในการโพสต์อะไรก็ตามที่
นักข่าวอาจจะเขียนเป็นข่าวได้

แนวทางแก้ปัญหา
- พยายามใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์  สไลด์การใช้เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถดูได้ที่ http://www.slideshare.net/krunapon/ss-7311643  เช่น ใช้รหัสผ่านที่เดายาก ใช้ https เพื่อไม่ให้ผู้อื่นลักลอบดูข้อมูลที่เราโพสต์  คิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์อะไร ถ้าอะไรที่คิดว่าโพสต์แล้วทำให้คนใดคนอื่นเสียใจหรือเดือดร้อน อย่าโพสต์

 

อ้างอิง

1. http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?newsID=9540000162591

2. http://www.psychologytoday.com/blog/the-moral-molecule/201103/why-social-media-is-driving-political-change-in-the-arab-world

3. http://www.readwriteweb.com/archives/study_more_than_15_of_workers_got_hired_through_social_networks.php

หมายเลขบันทึก: 471684เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2011 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท